สัญญาจ้างแรงงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาจ้างแรงงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 24/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด13 ถึง 20 หน้า
4.7 - 93 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 24/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 13 ถึง 20 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 93 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาจ้างแรงงาน คือสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย โดยมีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่านายจ้างเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นผู้จ่ายสินจ้าง/ค่าจ้างให้ แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้นายจ้างตามระยะเวลาที่ตกลงกัน และตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างตามที่นายจ้างกำหนด โดยในสัญญาจ้างแรงงานนี้โดยทั่วไป ตัวลูกจ้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจาก ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะ ความชำนาญ ฝีมือที่เหมาะสมกับงานที่มอบหมายของลูกจ้างย่อมทำงานออกมาได้ผลสำเร็จที่แตกต่างกันทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณซึ่งเป็นไปตามความต้องการของนายจ้าง นอกจากนี้ในสัญญาจ้างแรงงานคู่สัญญายังสามารถตกลงรายละเอียดงาน คำรับรองของลูกจ้าง ความรับผิดชอบ ตำแหน่งงาน ภาระหน้าที่ ค่าจ้าง เวลาและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ระยะเวลาการทดลองงาน ระยะเวลาการจ้างงาน วันเวลาและสถานที่ทำงาน เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งหรือสถานที่ทำงาน เงื่อนไขการเลิกจ้าง เงื่อนไขเกี่ยวกับหลักประกันการทำงาน การทำงานล่วงเวลา (Overtime Work) การประเมินผลการทำงาน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานที่ลูกจ้างทำ หน้าที่การเก็บรักษาความลับ ข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามทำงานและค้าแข่ง ให้ชัดเจนได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี เนื่องการจ้างแรงงานส่วนใหญ่ คู่สัญญาที่เป็นฝ่ายลูกจ้างมักอยู่ในสถานะที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่านายจ้าง กล่าวคือ ส่วนใหญ่มักถูกนายจ้างเอาเปรียบ ดังนี้ การจ้างแรงงานจึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับกำหนดและคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ในสัญญา กำหนดสิทธิของลูกจ้าง ภาระหน้าที่ของนายจ้างในกรณีต่างๆ ซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวได้ ดังนี้ในการจ้างแรงงานนายจ้างจึงควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานต่างๆ ให้ทราบถึงภาระหน้าที่ของนายจ้างเป็นอย่างดีก่อนการจ้างแรงงาน

 

การนำไปใช้

ตามที่กล่าวข้างตนว่าตัวลูกจ้างโดยทั่วไปถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ ในการทำสัญญาจ้างแรงงานควรระบุตัวตนของลูกจ้างให้ชัดเจน รวมถึงในกรณีที่มีการอ้างอิงถึงเอกสารประวัติการทำงาน (Resume) ข้อมูลที่กรอกในใบสมัครงาน (Application) ของลูกจ้าง ก็สามารถนำมาแนบอ้างอิงกับสัญญาจ้างแรงงานนี้ ก็ได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อมูลที่นายจ้างใช้ในการตัดสินใจจ้างลูกจ้างคนดังกล่าว หากในความเป็นจริงปรากฏภายหลังว่าไม่เป็นไปตามข้อมูลที่ลูกจ้างได้แจ้งไว้ นายจ้างย่อมสามารถเลิกสัญญาได้ทันที หากข้อมูลเท็จนั้นเป็นสาระสำคัญของการทำงานนั้น

ระยะเวลาการจ้าง คู่สัญญาอาจตกลงระยะเวลาการจ้างไว้ให้มีวันที่เริ่มต้น และวันสิ้นสุดที่แน่นอนก็ได้ หรือคู่สัญญาอาจตกลงให้สัญญาสิ้นสุดเมื่อมีการบอกเลิกโดยนายจ้าง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือข้อสัญญาทดลองงานที่ให้นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้หากผลการทดลองงานไม่ผ่าน ก็ได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่แน่นอน ซึ่งหากมีการบอกเลิกจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด หรือหากนายจ้างไม่บอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ในการเลิกจ้างนั้น

โดยทั่วไปในการกำหนดค่าจ้าง ค่าตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง เช่น เงินเดือน สิทธิประโยชน์ต่างๆ ย่อมขึ้นอยู่กับความตกลงและความพึงพอใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงอัตราค่าตอบแทน ค่าจ้างได้ตามที่คู่สัญญาจะตกลงกัน อย่างไรก็ดี อัตราค่าจ้างดังกล่าวจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในกรณีการจ้างงานทั่วไป หรือไม่ต่ำกว่า อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นแรงงานฝีมือตามที่คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

ในการจ้างแรงงานคู่สัญญาสามารถตกลง วันและเวลาทำงาน วันหยุด วันลา การทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้โดยที่ข้อตกลงดังกล่าวจะต้องเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างไม่น้อยไปกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

เนื่องจากในการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ลูกจ้างอาจได้เรียนรู้ฝีมือ ความรู้ ความชำนาญจากนายจ้างหรือกิจการของนายจ้าง ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจง ไม่มีผู้ค้ารายอื่นสามารถทำได้ ซึ่งหากลูกจ้างออกไปเปิดธุรกิจเช่นเดียวกันเพื่อแข่งขัน หรือออกไปเป็นลูกจ้างให้กับกิจการคู่แข่ง นายจ้างอาจได้รับความเสียหายได้ ในกรณีเช่นนี้ นายจ้างอาจมีข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามทำงานและการห้ามค้าแข่ง ได้อีกด้วย โดยที่กำหนดให้ ลูกจ้างห้ามเป็นลูกจ้างกับกิจการที่มีลักษณะเดียวกัน หรือห้ามออกไปเปิดกิจการหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการ (เช่น เป็นผู้ถือหุ้น กรรมการบริษัท) ที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง ภายในระยะเวลาหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ การจำกัดสิทธิดังกล่าวจะต้องเป็นการจำกัดตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเท่านั้น เพราะหากกำหนด จำกัดมากเกินไป เช่น ลูกจ้างเป็นหมอ และนายจ้างมีข้อตกลงห้ามลูกจ้างประกอบกิจการหรือให้บริการเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยตลอดชีวิตของลูกจ้าง เช่นนี้ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของลูกจ้างมากเกินไป ถือเป็นสัญญาไม่เป็นธรรมและอาจไม่สามารถใช้บังคับได้

การทำสัญญาจ้างแรงงาน แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้การจ้างแรงงานต้องมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เพื่อความชัดเจนในข้อตกลงต่างๆ ที่นายจ้างและลูกจ้างมีต่อกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายควรจะทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย

ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

 

ข้อควรพิจารณา

ในบางกรณี อาจต้องมีการพิจารณาว่าในการว่าจ้างทำงานนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างเป็นการจ้างทำงานในลักษณะการจ้างทำของ เช่น สัญญาให้บริการ สัญญาจ้างผลิต สัญญาจ้างออกแบบ สัญญาก่อสร้าง หรือเป็นการจ้างทำงานในลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งหากเป็นการจ้างแรงงานแล้ว สิทธิและหน้าที่ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ก็จะแตกต่างไปเนื่องจากอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ โดยมีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งได้แก่ผู้รับจ้าง โดยข้อสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างทำของกับสัญญาจ้างแรงงาน คือ

  • สัญญาจ้างทำของจะมุ่งเน้นความสำเร็จของงานมากกว่าวันและเวลาการทำงานของลูกจ้าง และ
  • ในสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาด กล่าวคือ จะสั่งให้ลูกจ้างทำงานอะไร ขอบเขตเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หากเป็นการจ้างแรงงานนายจ้างควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานต่างๆ ให้ทราบถึงภาระหน้าที่ของนายจ้างเป็นอย่างดีก่อนการจ้างแรงงาน และในทางกลับกันลูกจ้างก็ควรศึกษาสิทธิของตนในการจ้างแรงงานเพื่อไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เช่น

  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้แรงงานทั่วไปของนายจ้าง เช่น เวลาทำงาน สิทธิของลูกจ้างในเวลาพักระหว่างการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำปี วันลาในกรณีต่างๆ เช่นการลาป่วย ลาทำหมัน ลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้แรงงานลูกจ้างที่เป็นผู้หญิง
  • การห้ามใช้แรงงงานเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้แรงงานลูกจ้างที่เป็นเด็กอายุ 15 ปี ถึง 18 ปี
  • อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไข และค่าตอบแทนขั้นต่ำในการให้ลูกจ้างทำงานนอกเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานนอกเวลาในวันหยุด
  • หน้าที่ของนายจ้างในการจัดทำข้อบังคับการทำงาน และทะเบียนลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขการพักงานลูกจ้าง
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขการเรียกหลักประกันการทำงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง
  • หน้าที่และเงื่อนไข และข้อยกเว้น ของนายจ้างในการจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง
  • ข้อจำกัดและเงื่อนไขของนายจ้างในการหักเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทนของลูกจ้าง

ข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นบุคคลต่างด้าว (บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย) เช่น

  • ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวที่จะทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยนั้นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงแรงงาน เท่านั้น มิฉะนั้น ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะมีความผิดและโทษทางอาญา
  • ข้อจำกัดของงานและอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด หรือทำได้ภายใต้เงื่อนไข

ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น

  • หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
  • หน้าที่ของนายจ้างในการขึ้นทะเบียนนายจ้างและนำส่งเงินสมทบทั้งส่วนของนายจ้างและส่วนของลูกจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคม
  • สิทธิของลูกจ้างในการได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีต่างๆ เช่น ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย (ไม่ได้เกิดจากการทำงาน) ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ชราภาพ ว่างงาน ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เช่น

  • หน้าที่ของนายจ้างในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ในกรณีที่นายจ้างมีลูกจ้างมากกว่า 20 คน
  • สิทธิของนายจ้างและเงื่อนไขในการปิดงาน
  • สิทธิของลูกจ้างและเงื่อนไขในการนัดหยุดงาน

ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน เช่น

  • หน้าที่ของนายจ้างในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน
  • สิทธิของลูกจ้างในการได้รับเงินชดเชย (เช่น ค่าชดเชย ค่ารักษาพยาบาล ค่าพื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ค่าทำศพ) ในกรณีที่ลูกจ้าง ประสบอันตราย เจ็บป่วย เสียสมรรถภาพ หรือสูญหายไป อันเนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้างนั้น

ทรัพย์สินทางปัญญา

  • ในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานการทำจัดงานรายงาน บทวิเคราะห์ หรือระบบงานต่างๆ ซึ่งอาจถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ (Copyright) ได้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกำหนด สิทธิการเป็นเจ้าของ สิทธิการใช้ เผยแพร่ ว่าจะให้คู่สัญญาฝ่ายได้มีสิทธิต่างๆ เท่าไหร่ และเพียงใดก็ใด ในกรณีที่ไม่ได้มีตกลงไว้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กำหนดให้งานที่มีลิขสิทธิ์ที่ลูกจ้างทำขึ้นนั้นเป็นของลูกจ้างโดยนายจ้างมีสิทธินำงานนั้นซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจ้างนั้นออกเผยแพร่ได้
  • ในระหว่างที่ลูกจ้างทำงาน ลูกจ้างอาจได้เข้าถึง ได้รับทราบถึง ข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลส่วนต่างๆ ของนายจ้างซึ่งหากมีการนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือมีการเปิดเผยต่อคู่แข่งทางธุรกิจ อันอาจทำให้นายจ้างเสียหายหรือเสียเปรียบทางธุรกิจได้ ในกรณีนี้ นายจ้างอาจกำหนดให้ ลูกจ้างมีหน้าที่เก็บรักษาความลับ ตามเงื่อนไขที่นายจ้างเห็นสมควรได้ โดยคู่สัญญาอาจเลือกทำสัญญาเก็บรักษาความลับ เป็นสัญญาอีกฉบับแยกต่างหากจากสัญญาจ้างแรงงานก็ได้ เพื่อความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาสัญญา

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่าการจ้างแรงงานจึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับกำหนดและคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อตกลงต่างๆ ในสัญญา กำหนดสิทธิของลูกจ้าง ภาระหน้าที่ของนายจ้างในกรณีต่างๆ ซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวได้ โดยในการจ้างแรงงานอาจมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกำหนดและควบคุมความสัมพันธ์ สิทธิ และหน้าที่ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ดังต่อไปนี้

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม