สัญญาอนุญาโตตุลาการ

ความคืบหน้า
0%
?
X

เลือกว่า ในขณะทำสัญญาฉบับนี้ ข้อพิพาท/ข้อขัดแย้งระหว่างคู่สัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว หรือไม่ โดย ข้อพิพาท/ข้อขัดแย้งระหว่างคู่สัญญา เช่น ✔ การปฏิบัติผิดสัญญา ✔ ไม่ยอมชำระหนี้ ✔ การผิดนัดชำระหนี้ ✔ การกระทำละเมิด ✔ กระทำการให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บ ✔ การกระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา



คุณต้องการความช่วยเหลือส่วนบุคคลใช่หรือไม่
ในตอนท้าย คุณสามารถเลือกตัวเลือกปรึกษาทนายความได้

ช่วยเหลือ
แก้ไขแบบฟอร์ม

สัญญาอนุญาโตตุลาการ

สัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "สัญญา" ทำขึ้นที่ ________ เมื่อวันที่ ________ ระหว่าง

________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "คู่สัญญาฝ่ายที่ 1" หรือ "________" ฝ่ายหนึ่งกับ

________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "คู่สัญญาฝ่ายที่ 2" หรือ "________" อีกฝ่ายหนึ่ง

โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้เกิดมีข้อพิพาทระหว่างกันขึ้น
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันเองได้
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องการจะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นดังกล่าวโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ และ
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงตกลงกันให้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นดังกล่าวโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงตกลงทำสัญญาฉบับนี้โดยมีข้อความ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อพิพาท

ตามที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้กระทำการ/ดำเนินการระหว่างกัน ดังต่อไปนี้ อันเป็นมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้

________

โดยมีมูลเหตุแห่งนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังต่อไปนี้

________

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "ข้อพิพาท"

ข้อ 2 วิธีอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างตามสัญญาฉบับนี้ ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยที่

(ก) คู่สัญญาตกลงกันจะเสนอข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าวนั้น
(ข) คู่สัญญาตกลงจะผูกพันตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้
(ค) ศาลที่มีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจบังคับตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้
(ง) ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ คู่สัญญาตกลงกันให้เป็นไปตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้
(จ) ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ ที่คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้งในสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาตกลงกันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "วิธีอนุญาโตตุลาการ"

ข้อ 3 อนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(ก) คู่สัญญาตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการจำนวนทั้งสิ้น 1 (หนึ่ง) คน

(ข) คู่สัญญาตกลงกันให้ ________ เป็นอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "อนุญาโตตุลาการ"

ข้อ 4 อำนาจของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ อนุญาโตตุลาการมีอำนาจตามสัญญาฉบับนี้ ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจกำหนดประเด็นพิพาทระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายอันเกิดจากข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทใดๆ ตามสัญญาฉบับนี้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้อพิพาท
(ค) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยขอบเขตประเด็นข้อพิพาท
(ง) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตน
(จ) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาฉบับนี้
(ฉ) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของการตั้งอนุญาโตตุลาการ
(ช) อำนาจอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

ข้อ 5 หน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ อนุญาโตตุลาการมีหน้าที่ตามสัญญาฉบับนี้ ดังต่อไปนี้

(ก) ไม่ว่าในกรณีใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งคนใด อนุญาโตตุลาการคนนั้นตกลงจะเปิดเผยข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ อนุญาโตตุลาการคนนั้นจะได้แจ้งให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายรู้ล่วงหน้าแล้ว
(ค) ไม่ว่าในกรณีใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องมีจำนวน ลักษณะ และ/หรือคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับนี้
(ง) อนุญาโตตุลาการจะต้องรับผิดทางแพ่งใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ โดยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งทำให้คู่สัญญาใดฝ่ายหนึ่งเสียหาย
(จ) อนุญาโตตุลาการจะต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ตามสัญญาฉบับนี้และ/หรือตามกฎหมาย
(ฉ) อนุญาโตตุลาการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ ให้เป็นไปตามสัญญาฉบับนี้ และ/หรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ แล้วแต่กรณี

ข้อ 6 การเริ่มดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการจะถือว่าได้เริ่มต้นขึ้นในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
(ข) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ตั้งอนุญาโตตุลาการหรือให้ความเห็นชอบในการตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทนั้น หรือ
(ค) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งข้อพิพาทที่ประสงค์จะระงับต่ออนุญาโตตุลาการ

ข้อ 7 การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(ก) วิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ

ในการพิจารณาข้อพิพาทใดๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ

(1) อนุญาโตตุลาการจะให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
(2) อนุญาโตตุลาการจะให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีโอกาสนำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทนั้น
(3) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควร อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง อำนาจวินิจฉัยในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงด้วย
(4) ภายในระยะเวลาที่อนุญาโตตุลาการกำหนด คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องจะต้องแสดงข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ประเด็นข้อพิพาท และคำขอบังคับของตน โดย คู่สัญญาอาจแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือบัญชีระบุพยานที่ระบุถึงเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นที่ประสงค์จะอ้างเป็นพยานมาด้วยก็ได้
(5) ภายในระยะเวลาที่อนุญาโตตุลาการกำหนด คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกเรียกร้องต้องแสดงในคำคัดค้านถึงข้อต่อสู้ของตน โดย คู่สัญญาอาจแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือบัญชีระบุพยานที่ระบุถึงเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นที่ประสงค์จะอ้างเป็นพยานมาด้วยก็ได้
(6) ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้อง เอกสาร หรือข้อมูลทั้งหมดที่คู่สัญญาฝ่ายใดเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องส่งให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ให้รวมถึงรายงานของผู้เชี่ยวชาญหรือเอกสารหลักฐานใดๆ ซึ่งอนุญาโตตุลาการจะต้องใช้ประกอบในการชี้ขาดด้วย
(7) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อเรียกร้องหรือคำคัดค้านในระหว่างพิจารณาก็ได้ เว้นแต่อนุญาโตตุลาการเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่สมควรเมื่อคำนึงถึงความล่าช้าที่จะเกิดขึ้น

(ข) สถานที่ดำเนินกระบวนพิจารณา

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้มีอำนาจกำหนดสถานที่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ โดย อนุญาโตตุลาการจะต้องคำนึงถึงสภาพแห่งข้อพิพาทและความสะดวกของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ

(ค) ภาษาในการดำเนินกระบวนพิจารณา

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ใช้ ภาษาไทย ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ของอนุญาโตตุลาการ ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้องที่ทำเป็นหนังสือของคู่สัญญา การสืบพยาน คำชี้ขาด คำวินิจฉัยหรือการสื่อสารใดๆ ที่ทำโดยหรือทำต่ออนุญาโตตุลาการด้วย

(ง) 5885

5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855828888888888888 58852225822

(________) 588522258228222285 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855828888888888888888888
(________) 588522258228222285885885222882255228288258288585282582525885582888888 5885222 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855
(________) 58852225822822228588588522288225522828825828858528258252588558288888888888 588522258228222 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855 5885222582282222858858852228822552282882
(________) 58852225822822 588522258228222285885885222882255228288258288585282582525885582888888 588522258228222285885885222882255228288258288585282 5885222582282222858858852228822552282882

(จ) ผู้เชี่ยวชาญ

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้ทำความเห็นเฉพาะในประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่จะต้องชี้ขาด
(2) เรียกให้คู่สัญญาให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้เชี่ยวชาญ หรือจัดทำหรือดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสาร หรือวัตถุใดๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้
(3) อาจเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้คู่สัญญามีโอกาสซักถาม ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควรและผู้เชี่ยวชาญได้ทำความเห็นเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา
(4) อาจเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้คู่สัญญามีโอกาสซักถาม ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและผู้เชี่ยวชาญได้ทำความเห็นเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจนำพยานผู้เชี่ยวชาญของตนมาสืบในประเด็นดังกล่าวด้วยก็ได้

ข้อ 8 คำชี้ขาด

ในการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการจะดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทไปตามกฎหมายที่คู่สัญญากำหนดให้นำมาใช้บังคับกับข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) อนุญาโตตุลาการจะทำคำชี้ขาดเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ
(ค) อนุญาโตตุลาการจะระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยทั้งปวงไว้ในคำชี้ขาดโดยชัดแจ้ง
(ง) อนุญาโตตุลาการจะไม่กำหนดหรือชี้ขาดการใดให้เกินขอบเขตแห่งสัญญาฉบับนี้หรือเกินคำขอของคู่สัญญา
(จ) อนุญาโตตุลาการจะระบุวันและสถานที่ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ไว้ในคำชี้ขาด และให้ถือว่าคำชี้ขาดดังกล่าวได้ทำขึ้น ณ สถานที่เช่นว่านั้น
(ฉ) เมื่ออนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเสร็จสิ้นแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการนำส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
(ช) อนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยไปตามข้อสัญญาแห่งข้อพิพาทนั้นทั้งสิ้น
(ซ) ในกรณีที่ข้อพิพาทที่จะชี้ขาดดังกล่าวนั้นเป็นข้อพิพาททางการค้า อนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าที่ใช้กับธุรกรรมนั้นด้วย

ข้อ 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้ขาด

เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดตามสัญญาฉบับนี้แล้ว ภายใน ________ (________) วันนับแต่วันที่ได้รับคำชี้ขาด คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้

(ก) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการแก้ไขข้อผิดพลาดในการคำนวณตัวเลข ข้อผิดพลาดหรือการพิมพ์ที่ผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำชี้ขาดให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ให้ส่งสำเนาคำร้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย
(ข) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการตีความ อธิบายข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ ให้ส่งสำเนาคำร้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย โดยคำตีความ อธิบายความดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำชี้ขาดด้วย
(ค) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเรียกร้องที่ยังมิได้มีการวินิจฉัยไว้ในคำชี้ขาด ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นได้แจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบแล้ว

ข้อ 10 การบังคับตามคำชี้ขาด

เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดตามสัญญาฉบับนี้แล้ว ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 3 (สาม) ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้

ข้อ 11 วิธีการคุ้มครองชั่วคราว

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้มีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนก่อนหรือในขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นก็ได้

ทั้งนี้ โดยดุลยพินิจของศาลและตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความของศาลนั้นๆ

ข้อ 12 การประนีประนอมยอมความ

ไม่ว่า ณ ระยะเวลาใดๆ ในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาอาจตกลงร่วมกันประนีประนอมยอมความกันได้ โดยผ่อนผันให้แก่กันไว้ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ

โดยที่ เมื่อเป็นไปตามกรณี ดังต่อไปนี้ ทั้งสิ้น

(ก) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการ และ
(ข) อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

ในกรณีเช่นนี้ ให้อนุญาโตตุลาการ

(ก) มีคำสั่งยุติกระบวนพิจารณา และ
(ข) มีคำชี้ขาดไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้น

ข้อ 13 ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการอันจำเป็นและสมควรตามสัญญาฉบับนี้ (ถ้ามี) อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่และการดำเนินการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กำหนดในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

ข้อ 14 การสิ้นสุดของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ความเป็นอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการตาย
(ข) อนุญาโตตุลาการไม่ยินยอมรับการแต่งตั้ง
(ค) อนุญาโตตุลาการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(ง) อนุญาโตตุลาการถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(จ) อนุญาโตตุลาการไม่ปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาอันสมควรด้วยเหตุอื่น
(ฉ) อนุญาโตตุลาการขอถอนตัว
(ช) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้การเป็นอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดลง
(ซ) ศาลที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งยอมรับซึ่งคำคัดค้านอนุญาโตตุลาการของคู่สัญญาตามสัญญาฉบับนี้

ข้อ 15 การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทน

ในกรณีที่ความเป็นอนุญาโตตุลาการของอนุญาโตตุลาการ ได้สิ้นสุดลงในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

________

ข้อ 16 การสิ้นสุดการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ

การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเสร็จเด็ดขาดในข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ
(ค) อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งให้ยุติกระบวนพิจารณา ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องขอถอนข้อเรียกร้อง โดยที่

(ก) ไม่ปรากฏคำคัดค้านการถอนข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(ข) ปรากฏคำคัดค้านการถอนข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แต่อนุญาโตตุลาการไม่เห็นถึงประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของคู่สัญญาฝ่ายที่คัดค้านในการที่จะได้รับการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนั้น

(2) คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องไม่ยื่นข้อเรียกร้องของตนตามวิธีและระยะเวลาที่กำหนด
(3) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันให้ยุติกระบวนพิจารณา
(4) อนุญาโตตุลาการเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป หรือไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

ข้อ 17 การคัดค้าน

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิที่จะคัดค้านต่ออนุญาโตตุลาการในกระบวนการพิจารณาข้อพิพาท ดังต่อไปนี้

(ก) การคัดค้านอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านอนุญาโตตุลาการได้ในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงการขาดคุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้
(3) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถ
(4) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นไม่สามารถทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการได้
(5) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้น อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง เป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ หรือถูกอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้น เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เคยได้เป็น หรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทน หรือทนายความของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว

ในกรณีที่คู่สัญญาประสงค์จะคัดค้านอนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญานี้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 30 (สามสิบ) วันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือรู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการคัดค้านอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้

(ข) การคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ โดยที่

(1) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาข้อพิพาทใดข้อพิพาทหนึ่ง โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยกคำคัดค้านนั้นขึ้นว่ากล่าวไม่ช้ากว่าวันยื่นคำคัดค้านต่อสู้ในประเด็นข้อพิพาทนั้น
(2) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านการกระทำเกินขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยกคำคัดค้านนั้นขึ้นว่ากล่าวในทันทีที่เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาเห็นว่าการที่ล่าช้านั้นมีเหตุสมควร อนุญาโตตุลาการอาจอนุญาตให้คู่สัญญายกขึ้นว่ากล่าวภายหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้

(ค) การคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ โดยการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คู่สัญญาตามสัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น
(2) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ หรือตามกฎหมายไทยในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว
(3) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการแจ้งให้ตนรู้ล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ หรือตนไม่สามารถเข้าต่อสู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการได้เพราะเหตุประการอื่น
(4) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้หรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้ ในกรณีเช่นนี้ หากคำชี้ขาดที่วินิจฉัยเกินขอบเขตนั้นสามารถแยกออกได้จากคำชี้ขาดส่วนที่วินิจฉัยในขอบเขตแล้ว ศาลอาจเพิกถอนเฉพาะส่วนที่วินิจฉัยเกินขอบเขตนั้นก็ได้
(5) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า องค์ประกอบของอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(6) คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย หรือ
(7) การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ข้อ 18 คำรับรองของคู่สัญญา

ในการเข้าทำสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ให้คำรับรองไว้แก่กัน ดังต่อไปนี้

(ก) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

(ข) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมสามารถบังคับได้ตามคำชี้ขาด เมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจนั้น

(ค) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าศาลที่คู่สัญญาร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น อาจปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย หรือ
(2) เมื่อการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(ง) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงจะไม่กระทำการ หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใด ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่อนุญาโตตุลาการเพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ

(จ) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ ถือเป็นการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นผลทำให้อายุความแห่งข้อพิพาทนั้นสะดุดหยุดลง

(ฉ) ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้เป็นคนต่างด้าว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงจะจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในส่วนของตนซึ่งใช้ประกอบคำขอและ/หรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อนุญาโตตุลาการนั้นสามารถดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในราชอาณาจักรได้และเพื่อให้อนุญาโตตุลาการนั้นสามารถทำงานในราชอาณาจักรตามตำแหน่งหน้าที่ของตน อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ข้อ 19 ความสัมพันธ์ของคู่สัญญา

โดยที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเข้าใจและทราบดีว่า การเข้าทำสัญญาฉบับนี้ เพียงลำพัง ไม่ทำให้คู่สัญญาและพนักงานของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย มีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน หรือเป็นหุ้นส่วนกันตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทแต่อย่างใด

ข้อ 20 การโอนสิทธิ

เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายตกลงจะไม่โอนสิทธิ หน้าที่ และ/หรือความรับผิดตามสัญญาฉบับนี้ให้แก่บุคคลใดโดยมิได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการล่วงหน้า และ

ไม่ว่าในกรณีใดๆ เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดใดๆ ที่มีอยู่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดในข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและทราบดีว่าสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดนั้นย่อมผูกพันผู้รับโอนด้วย

ข้อ 21 การสละสิทธิ

การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิล่าช้าในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือคราวหนึ่งคราวใดก็ดี มิให้ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นสละสิทธิในเรื่องดังกล่าวและการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิแต่เพียงบางส่วนหรือสละสิทธิในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือคราวหนึ่งคราวใด ก็มิให้ถือว่าเป็นการสละสิทธิในเรื่องอื่นหรือในคราวอื่นด้วย

ข้อ 22 ความเป็นที่สุดของสัญญา

สัญญาฉบับนี้ เป็นความตกลงอันเป็นที่สุดระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย การรับรอง ความเข้าใจ การพูดคุย หรือการเจรจาใดๆ ที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญาฉบับนี้ระหว่างคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาฉบับนี้ที่ขัดหรือแย้งกับข้อความในสัญญาฉบับนี้ ให้ใช้ข้อความในสัญญาฉบับนี้บังคับ

ข้อ 23 การแยกส่วนของสัญญา

หากมีข้อความหรือข้อตกลงใดในสัญญาฉบับนี้ที่ตกเป็นโมฆะ ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม คู่สัญญาตกลงให้ข้อความและข้อตกลงอื่นๆ ในสัญญาฉบับนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาอยู่เสมือนหนึ่งว่าไม่มีส่วนที่เป็นโมฆะ ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีผลบังคับใช้นั้นอยู่ในสัญญาฉบับนี้

ข้อ 24 การบอกกล่าว

คู่สัญญาตกลงกันว่าคำบอกกล่าวหรือหนังสือซึ่งต้องแจ้งให้แก่กันภายใต้สัญญาฉบับนี้ อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้อง เอกสาร หรือข้อมูลที่ต้องทำเป็นหนังสือ จะถือว่าได้มีการแจ้งแก่กันแล้ว หากว่าได้มีการส่งไปยังที่อยู่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายตามที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้ โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้

________

ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ คู่สัญญาฝ่ายนั้นตกลงจะแจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในเวลา 3 (สาม) วัน นับจากวันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ มิฉะนั้นให้ถือตามที่อยู่ในสัญญาฉบับนี้เป็นสำคัญ

ข้อ 25 การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาฉบับนี้ไม่อาจทำได้ เว้นแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้ด้วย

ข้อ 26 กฎหมายที่ใช้บังคับ

สัญญาฉบับนี้ให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศไทย

ข้อ 27 การระงับข้อพิพาท

ข้อโต้เถียง ข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสัญญาฉบับนี้ หากคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงจะนำข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นฟ้องต่อศาลในประเทศไทย



สัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความและเงื่อนไขต่างๆ แห่งสัญญาฉบับนี้โดยละเอียดตลอดดีแล้ว เห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐานจึงได้ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญไว้ (ถ้ามี) เป็นสำคัญ



ลงชื่อ_______________________คู่สัญญาฝ่ายที่ 1
________



ลงชื่อ_______________________คู่สัญญาฝ่ายที่ 2
________

ดูเอกสารของคุณ
ที่อยู่ระหว่างการสร้าง

สัญญาอนุญาโตตุลาการ

สัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "สัญญา" ทำขึ้นที่ ________ เมื่อวันที่ ________ ระหว่าง

________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "คู่สัญญาฝ่ายที่ 1" หรือ "________" ฝ่ายหนึ่งกับ

________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "คู่สัญญาฝ่ายที่ 2" หรือ "________" อีกฝ่ายหนึ่ง

โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้เกิดมีข้อพิพาทระหว่างกันขึ้น
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันเองได้
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องการจะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นดังกล่าวโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ และ
โดยที่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงตกลงกันให้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นดังกล่าวโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงตกลงทำสัญญาฉบับนี้โดยมีข้อความ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อพิพาท

ตามที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้กระทำการ/ดำเนินการระหว่างกัน ดังต่อไปนี้ อันเป็นมูลเหตุแห่งข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้

________

โดยมีมูลเหตุแห่งนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังต่อไปนี้

________

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "ข้อพิพาท"

ข้อ 2 วิธีอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างตามสัญญาฉบับนี้ ด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ โดยที่

(ก) คู่สัญญาตกลงกันจะเสนอข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้ให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าวนั้น
(ข) คู่สัญญาตกลงจะผูกพันตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้
(ค) ศาลที่มีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจบังคับตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้
(ง) ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ คู่สัญญาตกลงกันให้เป็นไปตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้
(จ) ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ ที่คู่สัญญามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นอย่างชัดแจ้งในสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาตกลงกันให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "วิธีอนุญาโตตุลาการ"

ข้อ 3 อนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(ก) คู่สัญญาตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการจำนวนทั้งสิ้น 1 (หนึ่ง) คน

(ข) คู่สัญญาตกลงกันให้ ________ เป็นอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้

ซึ่งต่อไปในสัญญาฉบับนี้จะเรียกว่า "อนุญาโตตุลาการ"

ข้อ 4 อำนาจของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ อนุญาโตตุลาการมีอำนาจตามสัญญาฉบับนี้ ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจกำหนดประเด็นพิพาทระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายอันเกิดจากข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทใดๆ ตามสัญญาฉบับนี้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้อพิพาท
(ค) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยขอบเขตประเด็นข้อพิพาท
(ง) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตน
(จ) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาฉบับนี้
(ฉ) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความสมบูรณ์ของการตั้งอนุญาโตตุลาการ
(ช) อำนาจอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

ข้อ 5 หน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ อนุญาโตตุลาการมีหน้าที่ตามสัญญาฉบับนี้ ดังต่อไปนี้

(ก) ไม่ว่าในกรณีใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องมีความเป็นกลางและเป็นอิสระ
(ข) ในกรณีที่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งคนใด อนุญาโตตุลาการคนนั้นตกลงจะเปิดเผยข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ อนุญาโตตุลาการคนนั้นจะได้แจ้งให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายรู้ล่วงหน้าแล้ว
(ค) ไม่ว่าในกรณีใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องมีจำนวน ลักษณะ และ/หรือคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับนี้
(ง) อนุญาโตตุลาการจะต้องรับผิดทางแพ่งใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ โดยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งทำให้คู่สัญญาใดฝ่ายหนึ่งเสียหาย
(จ) อนุญาโตตุลาการจะต้องไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ตามสัญญาฉบับนี้และ/หรือตามกฎหมาย
(ฉ) อนุญาโตตุลาการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใดๆ ให้เป็นไปตามสัญญาฉบับนี้ และ/หรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ แล้วแต่กรณี

ข้อ 6 การเริ่มดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการจะถือว่าได้เริ่มต้นขึ้นในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
(ข) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งให้ตั้งอนุญาโตตุลาการหรือให้ความเห็นชอบในการตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทนั้น หรือ
(ค) เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งข้อพิพาทที่ประสงค์จะระงับต่ออนุญาโตตุลาการ

ข้อ 7 การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการโดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(ก) วิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ

ในการพิจารณาข้อพิพาทใดๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ

(1) อนุญาโตตุลาการจะให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
(2) อนุญาโตตุลาการจะให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีโอกาสนำสืบพยานหลักฐานและเสนอข้ออ้างข้อต่อสู้ของตนได้ตามพฤติการณ์แห่งข้อพิพาทนั้น
(3) อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ได้ตามที่เห็นสมควร อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง อำนาจวินิจฉัยในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงด้วย
(4) ภายในระยะเวลาที่อนุญาโตตุลาการกำหนด คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องจะต้องแสดงข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ประเด็นข้อพิพาท และคำขอบังคับของตน โดย คู่สัญญาอาจแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือบัญชีระบุพยานที่ระบุถึงเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นที่ประสงค์จะอ้างเป็นพยานมาด้วยก็ได้
(5) ภายในระยะเวลาที่อนุญาโตตุลาการกำหนด คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกเรียกร้องต้องแสดงในคำคัดค้านถึงข้อต่อสู้ของตน โดย คู่สัญญาอาจแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือบัญชีระบุพยานที่ระบุถึงเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นที่ประสงค์จะอ้างเป็นพยานมาด้วยก็ได้
(6) ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้อง เอกสาร หรือข้อมูลทั้งหมดที่คู่สัญญาฝ่ายใดเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องส่งให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ให้รวมถึงรายงานของผู้เชี่ยวชาญหรือเอกสารหลักฐานใดๆ ซึ่งอนุญาโตตุลาการจะต้องใช้ประกอบในการชี้ขาดด้วย
(7) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อเรียกร้องหรือคำคัดค้านในระหว่างพิจารณาก็ได้ เว้นแต่อนุญาโตตุลาการเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่สมควรเมื่อคำนึงถึงความล่าช้าที่จะเกิดขึ้น

(ข) สถานที่ดำเนินกระบวนพิจารณา

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้มีอำนาจกำหนดสถานที่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ โดย อนุญาโตตุลาการจะต้องคำนึงถึงสภาพแห่งข้อพิพาทและความสะดวกของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ

(ค) ภาษาในการดำเนินกระบวนพิจารณา

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ใช้ ภาษาไทย ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ของอนุญาโตตุลาการ ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้องที่ทำเป็นหนังสือของคู่สัญญา การสืบพยาน คำชี้ขาด คำวินิจฉัยหรือการสื่อสารใดๆ ที่ทำโดยหรือทำต่ออนุญาโตตุลาการด้วย

(ง) 5885

5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855828888888888888 58852225822

(________) 588522258228222285 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855828888888888888888888
(________) 588522258228222285885885222882255228288258288585282582525885582888888 5885222 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855
(________) 58852225822822228588588522288225522828825828858528258252588558288888888888 588522258228222 5885222582282222858858852228822552282882582885852825825258855 5885222582282222858858852228822552282882
(________) 58852225822822 588522258228222285885885222882255228288258288585282582525885582888888 588522258228222285885885222882255228288258288585282 5885222582282222858858852228822552282882

(จ) ผู้เชี่ยวชาญ

ในการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้ทำความเห็นเฉพาะในประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่จะต้องชี้ขาด
(2) เรียกให้คู่สัญญาให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้เชี่ยวชาญ หรือจัดทำหรือดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสาร หรือวัตถุใดๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้
(3) อาจเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้คู่สัญญามีโอกาสซักถาม ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควรและผู้เชี่ยวชาญได้ทำความเห็นเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา
(4) อาจเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นมาให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้คู่สัญญามีโอกาสซักถาม ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและผู้เชี่ยวชาญได้ทำความเห็นเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจนำพยานผู้เชี่ยวชาญของตนมาสืบในประเด็นดังกล่าวด้วยก็ได้

ข้อ 8 คำชี้ขาด

ในการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการจะดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทไปตามกฎหมายที่คู่สัญญากำหนดให้นำมาใช้บังคับกับข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) อนุญาโตตุลาการจะทำคำชี้ขาดเป็นหนังสือลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการ
(ค) อนุญาโตตุลาการจะระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยทั้งปวงไว้ในคำชี้ขาดโดยชัดแจ้ง
(ง) อนุญาโตตุลาการจะไม่กำหนดหรือชี้ขาดการใดให้เกินขอบเขตแห่งสัญญาฉบับนี้หรือเกินคำขอของคู่สัญญา
(จ) อนุญาโตตุลาการจะระบุวันและสถานที่ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ไว้ในคำชี้ขาด และให้ถือว่าคำชี้ขาดดังกล่าวได้ทำขึ้น ณ สถานที่เช่นว่านั้น
(ฉ) เมื่ออนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเสร็จสิ้นแล้ว ให้อนุญาโตตุลาการนำส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นให้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
(ช) อนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยไปตามข้อสัญญาแห่งข้อพิพาทนั้นทั้งสิ้น
(ซ) ในกรณีที่ข้อพิพาทที่จะชี้ขาดดังกล่าวนั้นเป็นข้อพิพาททางการค้า อนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโดยคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าที่ใช้กับธุรกรรมนั้นด้วย

ข้อ 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้ขาด

เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดตามสัญญาฉบับนี้แล้ว ภายใน ________ (________) วันนับแต่วันที่ได้รับคำชี้ขาด คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้

(ก) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการแก้ไขข้อผิดพลาดในการคำนวณตัวเลข ข้อผิดพลาดหรือการพิมพ์ที่ผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำชี้ขาดให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ให้ส่งสำเนาคำร้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย
(ข) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการตีความ อธิบายข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ ให้ส่งสำเนาคำร้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย โดยคำตีความ อธิบายความดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำชี้ขาดด้วย
(ค) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเรียกร้องที่ยังมิได้มีการวินิจฉัยไว้ในคำชี้ขาด ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นได้แจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบแล้ว

ข้อ 10 การบังคับตามคำชี้ขาด

เมื่ออนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดตามสัญญาฉบับนี้แล้ว ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 3 (สาม) ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้

ข้อ 11 วิธีการคุ้มครองชั่วคราว

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้มีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนก่อนหรือในขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการนั้นก็ได้

ทั้งนี้ โดยดุลยพินิจของศาลและตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความของศาลนั้นๆ

ข้อ 12 การประนีประนอมยอมความ

ไม่ว่า ณ ระยะเวลาใดๆ ในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาอาจตกลงร่วมกันประนีประนอมยอมความกันได้ โดยผ่อนผันให้แก่กันไว้ต่อหน้าอนุญาโตตุลาการ

โดยที่ เมื่อเป็นไปตามกรณี ดังต่อไปนี้ ทั้งสิ้น

(ก) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายร้องขอต่ออนุญาโตตุลาการ และ
(ข) อนุญาโตตุลาการเห็นว่าข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

ในกรณีเช่นนี้ ให้อนุญาโตตุลาการ

(ก) มีคำสั่งยุติกระบวนพิจารณา และ
(ข) มีคำชี้ขาดไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้น

ข้อ 13 ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการอันจำเป็นและสมควรตามสัญญาฉบับนี้ (ถ้ามี) อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ค่าธรรมเนียมอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่และการดำเนินการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้กำหนดในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

ข้อ 14 การสิ้นสุดของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ความเป็นอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการตาย
(ข) อนุญาโตตุลาการไม่ยินยอมรับการแต่งตั้ง
(ค) อนุญาโตตุลาการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
(ง) อนุญาโตตุลาการถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(จ) อนุญาโตตุลาการไม่ปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาอันสมควรด้วยเหตุอื่น
(ฉ) อนุญาโตตุลาการขอถอนตัว
(ช) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้การเป็นอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดลง
(ซ) ศาลที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งยอมรับซึ่งคำคัดค้านอนุญาโตตุลาการของคู่สัญญาตามสัญญาฉบับนี้

ข้อ 15 การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทน

ในกรณีที่ความเป็นอนุญาโตตุลาการของอนุญาโตตุลาการ ได้สิ้นสุดลงในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

________

ข้อ 16 การสิ้นสุดการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ

การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

(ก) อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดเสร็จเด็ดขาดในข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้
(ข) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ
(ค) อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งให้ยุติกระบวนพิจารณา ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องขอถอนข้อเรียกร้อง โดยที่

(ก) ไม่ปรากฏคำคัดค้านการถอนข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(ข) ปรากฏคำคัดค้านการถอนข้อเรียกร้องของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แต่อนุญาโตตุลาการไม่เห็นถึงประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของคู่สัญญาฝ่ายที่คัดค้านในการที่จะได้รับการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนั้น

(2) คู่สัญญาฝ่ายที่เรียกร้องไม่ยื่นข้อเรียกร้องของตนตามวิธีและระยะเวลาที่กำหนด
(3) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันให้ยุติกระบวนพิจารณา
(4) อนุญาโตตุลาการเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป หรือไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้

ข้อ 17 การคัดค้าน

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมมีสิทธิที่จะคัดค้านต่ออนุญาโตตุลาการในกระบวนการพิจารณาข้อพิพาท ดังต่อไปนี้

(ก) การคัดค้านอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านอนุญาโตตุลาการได้ในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงการขาดคุณสมบัติของอนุญาโตตุลาการตามที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้
(3) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถ
(4) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นไม่สามารถทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการได้
(5) อนุญาโตตุลาการผู้นั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้น อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง เป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกอ้างเป็นพยานโดยที่ได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ หรือถูกอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เป็นพิเศษเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้น เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เคยได้เป็น หรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้แทน หรือทนายความของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว

ในกรณีที่คู่สัญญาประสงค์จะคัดค้านอนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญานี้ คู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยื่นหนังสือแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 30 (สามสิบ) วันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือรู้ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการคัดค้านอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้

(ข) การคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ โดยที่

(1) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาข้อพิพาทใดข้อพิพาทหนึ่ง โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยกคำคัดค้านนั้นขึ้นว่ากล่าวไม่ช้ากว่าวันยื่นคำคัดค้านต่อสู้ในประเด็นข้อพิพาทนั้น
(2) คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านการกระทำเกินขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการ โดยคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องยกคำคัดค้านนั้นขึ้นว่ากล่าวในทันทีที่เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาเห็นว่าการที่ล่าช้านั้นมีเหตุสมควร อนุญาโตตุลาการอาจอนุญาตให้คู่สัญญายกขึ้นว่ากล่าวภายหลังระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้

(ค) การคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจคัดค้านชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ โดยการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คู่สัญญาตามสัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น
(2) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ หรือตามกฎหมายไทยในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว
(3) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการแจ้งให้ตนรู้ล่วงหน้าโดยชอบถึงการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ หรือตนไม่สามารถเข้าต่อสู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการได้เพราะเหตุประการอื่น
(4) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า คำชี้ขาดวินิจฉัยข้อพิพาทไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้หรือคำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการฉบับนี้ ในกรณีเช่นนี้ หากคำชี้ขาดที่วินิจฉัยเกินขอบเขตนั้นสามารถแยกออกได้จากคำชี้ขาดส่วนที่วินิจฉัยในขอบเขตแล้ว ศาลอาจเพิกถอนเฉพาะส่วนที่วินิจฉัยเกินขอบเขตนั้นก็ได้
(5) คู่สัญญาฝ่ายที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดสามารถพิสูจน์ได้ว่า องค์ประกอบของอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ในสัญญาฉบับนี้ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(6) คำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย หรือ
(7) การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ข้อ 18 คำรับรองของคู่สัญญา

ในการเข้าทำสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ให้คำรับรองไว้แก่กัน ดังต่อไปนี้

(ก) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

(ข) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ย่อมสามารถบังคับได้ตามคำชี้ขาด เมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจนั้น

(ค) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าศาลที่คู่สัญญาร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น อาจปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย หรือ
(2) เมื่อการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

(ง) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงจะไม่กระทำการ หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใด ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่อนุญาโตตุลาการเพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำการใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ

(จ) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและรับทราบดีว่าการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้ ถือเป็นการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นผลทำให้อายุความแห่งข้อพิพาทนั้นสะดุดหยุดลง

(ฉ) ในกรณีที่อนุญาโตตุลาการตามสัญญาฉบับนี้เป็นคนต่างด้าว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงจะจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในส่วนของตนซึ่งใช้ประกอบคำขอและ/หรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อนุญาโตตุลาการนั้นสามารถดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในราชอาณาจักรได้และเพื่อให้อนุญาโตตุลาการนั้นสามารถทำงานในราชอาณาจักรตามตำแหน่งหน้าที่ของตน อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ข้อ 19 ความสัมพันธ์ของคู่สัญญา

โดยที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเข้าใจและทราบดีว่า การเข้าทำสัญญาฉบับนี้ เพียงลำพัง ไม่ทำให้คู่สัญญาและพนักงานของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย มีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน หรือเป็นหุ้นส่วนกันตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทแต่อย่างใด

ข้อ 20 การโอนสิทธิ

เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายตกลงจะไม่โอนสิทธิ หน้าที่ และ/หรือความรับผิดตามสัญญาฉบับนี้ให้แก่บุคคลใดโดยมิได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการล่วงหน้า และ

ไม่ว่าในกรณีใดๆ เมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดใดๆ ที่มีอยู่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดในข้อพิพาทตามสัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างตกลงและทราบดีว่าสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดนั้นย่อมผูกพันผู้รับโอนด้วย

ข้อ 21 การสละสิทธิ

การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิล่าช้าในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือคราวหนึ่งคราวใดก็ดี มิให้ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นสละสิทธิในเรื่องดังกล่าวและการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิแต่เพียงบางส่วนหรือสละสิทธิในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือคราวหนึ่งคราวใด ก็มิให้ถือว่าเป็นการสละสิทธิในเรื่องอื่นหรือในคราวอื่นด้วย

ข้อ 22 ความเป็นที่สุดของสัญญา

สัญญาฉบับนี้ เป็นความตกลงอันเป็นที่สุดระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย การรับรอง ความเข้าใจ การพูดคุย หรือการเจรจาใดๆ ที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ทำสัญญาฉบับนี้ระหว่างคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาฉบับนี้ที่ขัดหรือแย้งกับข้อความในสัญญาฉบับนี้ ให้ใช้ข้อความในสัญญาฉบับนี้บังคับ

ข้อ 23 การแยกส่วนของสัญญา

หากมีข้อความหรือข้อตกลงใดในสัญญาฉบับนี้ที่ตกเป็นโมฆะ ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม คู่สัญญาตกลงให้ข้อความและข้อตกลงอื่นๆ ในสัญญาฉบับนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาอยู่เสมือนหนึ่งว่าไม่มีส่วนที่เป็นโมฆะ ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีผลบังคับใช้นั้นอยู่ในสัญญาฉบับนี้

ข้อ 24 การบอกกล่าว

คู่สัญญาตกลงกันว่าคำบอกกล่าวหรือหนังสือซึ่งต้องแจ้งให้แก่กันภายใต้สัญญาฉบับนี้ อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ข้อเรียกร้อง คำคัดค้าน คำร้อง เอกสาร หรือข้อมูลที่ต้องทำเป็นหนังสือ จะถือว่าได้มีการแจ้งแก่กันแล้ว หากว่าได้มีการส่งไปยังที่อยู่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายตามที่ระบุไว้ในสัญญาฉบับนี้ โดยวิธีการ ดังต่อไปนี้

________

ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ คู่สัญญาฝ่ายนั้นตกลงจะแจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในเวลา 3 (สาม) วัน นับจากวันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ มิฉะนั้นให้ถือตามที่อยู่ในสัญญาฉบับนี้เป็นสำคัญ

ข้อ 25 การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาฉบับนี้ไม่อาจทำได้ เว้นแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้ด้วย

ข้อ 26 กฎหมายที่ใช้บังคับ

สัญญาฉบับนี้ให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศไทย

ข้อ 27 การระงับข้อพิพาท

ข้อโต้เถียง ข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสัญญาฉบับนี้ หากคู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงจะนำข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นฟ้องต่อศาลในประเทศไทย



สัญญาฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความและเงื่อนไขต่างๆ แห่งสัญญาฉบับนี้โดยละเอียดตลอดดีแล้ว เห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐานจึงได้ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญไว้ (ถ้ามี) เป็นสำคัญ



ลงชื่อ_______________________คู่สัญญาฝ่ายที่ 1
________



ลงชื่อ_______________________คู่สัญญาฝ่ายที่ 2
________