หนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม

ความคืบหน้า
0%
?
X

เลือกว่า คู่สมรสผู้ให้ความยินยอมต้องการให้ความยินยอมแก่คู่สมรสของตนในการดำเนินการหรือเข้าทำนิติกรรมใด หากไม่มี การดำเนินการหรือนิติกรรมที่ต้องการในตัวเลือก ให้เลือก "อื่นๆ (ระบุ)" การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมบางประเภท กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมดังกล่าวนั้นจึงจะมีผลผูกพันโดยสมบูรณ์และสามารถบังคับใช้ได้ เช่น (1) การขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ซึ่งเป็นสินสมรส (2) การก่อตั้งหรือกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรส (3) การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินสมรสเกิน 3 ปี (4) การให้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นสินสมรส (5) การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หา เว้นแต่ การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) การประนีประนอมยอมความ (7) การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (8) การนำทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล (9) การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมใดเกี่ยวกับสินสมรสที่สัญญาก่อนสมรสกำหนดให้คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน (ในกรณีที่มีการจัดทำสัญญาก่อนสมรส) (10) การรับบุตรบุญธรรมมาอุปการะเลี้ยงดู (11) การที่คู่สมรสจะเป็นบุตรบุญธรรมและอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลอื่น ข้อควรพิจารณา ในการดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมบางประเภท โดยเฉพาะนิติกรรมที่เป็นการก่อหนี้ (เช่น การกู้ยืมเงิน การค้ำประกัน) แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้การดำเนินการหรือการเข้าทำนิติกรรมนั้น คู่สมรสต้องดำเนินการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน แต่ผู้เป็นเจ้าหนี้มักกำหนดให้คู่สมรสของลูกหนี้นั้นต้องจัดทำหนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมนั้นด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งยินยอมให้คู่สมรสของตนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำนิติกรรมใดนิติกรรมหนึ่งเป็นการเฉพาะ แม้ว่าหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมนั้นจะเป็นประโยชน์แก่คู่สมรสเพียงฝ่ายเดียวหรือเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นโดยคู่สมรสเพียงเดียว ย่อมถือว่าการยินยอมดังกล่าวนั้นเป็นการที่คู่สมรสให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวนั้นด้วย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หนี้ดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ที่สามีและภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน (เช่น ถูกบังคับชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย)



คุณต้องการความช่วยเหลือส่วนบุคคลใช่หรือไม่
ในตอนท้าย คุณสามารถเลือกตัวเลือกปรึกษาทนายความได้

ช่วยเหลือ
แก้ไขแบบฟอร์ม

หนังสือยินยอมให้คู่สมรสขายอสังหาริมทรัพย์

หนังสือยินยอมให้คู่สมรสขายอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "หนังสือ" ทำขึ้นที่ ________ เมื่อวันที่ ________ โดย

ข้าพเจ้า ________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งเป็นสามี ของ ________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ตามใบสำคัญการสมรส ทะเบียนเลขที่ ________ ลงวันที่ ________

โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอให้ความยินยอมให้ ________ ซึ่งเป็นภริยาของข้าพเจ้าดำเนินการขายอสังหาริมทรัพย์ อันมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

________

ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความและเงื่อนไขต่างๆ แห่งหนังสือฉบับนี้โดยละเอียดตลอดดีแล้ว 5885222582282222858858852228822 5885222582282222858858852228822552282882582885



ลงชื่อ_______________________สามีผู้ให้ความยินยอม
________

ดูเอกสารของคุณ
ที่อยู่ระหว่างการสร้าง

หนังสือยินยอมให้คู่สมรสขายอสังหาริมทรัพย์

หนังสือยินยอมให้คู่สมรสขายอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "หนังสือ" ทำขึ้นที่ ________ เมื่อวันที่ ________ โดย

ข้าพเจ้า ________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ซึ่งเป็นสามี ของ ________ ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ________ อยู่ที่ ________ ตามใบสำคัญการสมรส ทะเบียนเลขที่ ________ ลงวันที่ ________

โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอให้ความยินยอมให้ ________ ซึ่งเป็นภริยาของข้าพเจ้าดำเนินการขายอสังหาริมทรัพย์ อันมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

________

ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความและเงื่อนไขต่างๆ แห่งหนังสือฉบับนี้โดยละเอียดตลอดดีแล้ว 5885222582282222858858852228822 5885222582282222858858852228822552282882582885



ลงชื่อ_______________________สามีผู้ให้ความยินยอม
________