สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 14 หน้า
5 - 5 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 14 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 5 - 5 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือสัญญาให้ใช้สิทธิ เป็นสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้อนุญาต คือคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นเจ้าของสิทธิดังกล่าว โดยได้ให้สิทธิในการใช้สิทธิดังกล่าวแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ได้รับอนุญาต โดยสิทธิที่ให้ใช้ดังกล่าวนั้นอาจเป็นสิทธิใดๆ ในการใช้งานหรือข้อมูลใดๆ ก็ตาม อันมีมูลค่าหรือไม่มีมูลค่าทางการค้าก็ได้ เช่น สิทธิการใช้เครื่องหมายการค้า สิทธิการใช้ข้อมูลทางการค้า สูตรและกระบวนการผลิต สิทธิบัตร งานอันมีลิขสิทธิ์ หรือความลับทางการค้า โดยคู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขและข้อจำกัดการใช้สิทธิต่างๆ เช่น ลักษณะการให้สิทธิ เขตพื้นที่การใช้สิทธิ ระยะเวลาการให้ใช้สิทธิ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การถ่ายทอดองค์ความรู้ (Technology Transfer) ค่าตอบแทน ไม่ว่าค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Licensing Fee) และค่าสิทธิ (Royalty Fee) การสงวนสิทธิ์ของผู้อนุญาต รวมถึง การเก็บรักษาความลับ และการห้ามค้าแข่งได้อีกด้วย

การนำไปใช้

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับอนุญาตในการใช้สิทธิตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญา ดังนั้น คู่สัญญาต้องระบุให้ชัดเจนว่าขอบเขตของสิทธิที่ให้ใช้นั้น มีอะไรบ้าง รวมและไม่รวมถึงอะไร เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตได้ทราบว่าตนจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง และสามารถใช้ได้เพียงใด

โดยที่คู่สัญญาควรตกลงกันถึงการใช้สิทธิด้วยว่าสามารถดำเนินการกับสิทธินั้นอย่างไรได้บ้าง เช่น ผู้รับอนุญาตสามารถ จำหน่าย ทำซ้ำ เผยแพร่ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งเท่านั้น หรือจะใช้อย่างไรก็ได้

นอกจากขอบเขตของสิทธิที่จะให้ใช้แล้ว คู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนด้วยว่าลักษณะของการให้สิทธิเป็นการให้ในลักษณะแบบใด เพื่อคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ทราบถึงข้อจำกัดในการใช้สิทธิดังกล่าว อันได้แก่

  • การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ไม่มีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวภายในอาณาเขตที่กำหนด
  • อนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว แต่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิให้ผู้อื่น หรือตนเองใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตได้อีกด้วย หรือ
  • การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) กล่าวคือ ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวได้ในอาณาเขต แต่ไม่สามารถให้สิทธิแก่บุคคลอื่นอีกได้

ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คู่สัญญายังควรตกลงขอบเขตของการใช้สิทธิต่างๆ เช่น

  • อาณาเขตการใช้สิทธิ โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวเพียงเฉพาะเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ เช่น เฉพาะบางจังหวัด ประเทศ ทวีปใดทวีปหนึ่งก็ได้ หรือจะให้สิทธิผู้รับอนุญาตใช้โดยไม่จำอาณาเขตก็ได้
  • ระยะเวลาการให้ใช้สิทธิ โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว เพียงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง ที่กำหนดตกลงกันไว้ก็ได้ หรือกำหนดเงื่อนไขหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เป็นเหตุสิ้นสุดการให้ใช้สิทธิก็ได้ หรือจะให้ผู้รับอนุญาตใช้สิทธิโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ได้
  • การอนุญาตช่วงสิทธิให้บุคคลอื่น โดยคู่สัญญาสามารถตกลงให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับอนุญาตมีสิทธินำสิทธิดังกล่าวไปให้สิทธิช่วงต่อ แก่บุคคลอื่นอีกทอดได้หรือไม่ อย่างไร เช่น ห้ามโดยเด็ดขาด อาจทำได้โดยต้องได้รับความยินยอมของผู้อนุญาตล่วงหน้าก่อน หรือสามารถทำได้เองเลย

การให้ใช้สิทธิดังกล่าว อาจมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้ ในกรณีที่มีค่าตอบแทน โดยทั่วไปในสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิมักมีค่าตอบแทนแบ่งเป็น 2 ส่วน ที่ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องชำระให้แก่ผู้อนุญาต ดังต่อไปนี้ โดยที่ ผู้อนุญาตอาจเลือกเพียงค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 อย่างก็ได้

  • ค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Licensing Fee) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ให้เพียงครั้งเดียว ก่อนการให้ใช้สิทธิ ตามจำนวนเงินที่ผู้อนุญาตกำหนด
  • ค่าสิทธิ (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ชำระให้ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น รายเดือน เป็นรายปี โดยอาจกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน หรืออัตราส่วนอ้างอิงตามรายได้/ยอดขายของผู้ได้รับอนุญาต หรือเงื่อนไขอื่นที่คู่สัญญาตกลงกันก็ได้

นอกจากนี้ การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจะลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย โดยเฉพาะการให้ใช้สิทธิในงานหรือข้อมูลที่มีสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร หรือที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน หรือเครื่องหมายจดทะเบียนอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัท 2 คนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในกรณีที่สิทธิที่ให้ใช้กันตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธินี้ เป็นสิทธิเกี่ยวกับการใช้ ดังต่อไปนี้

กฎหมายกำหนดให้การให้ใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียน การอนุญาตให้ใช้สิทธิและการโอนสิทธิ สำหรับการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร และในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 สำหรับการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้า

นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการให้สิทธิการใช้สิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ยังต้องไม่เป็นการจํากัดการแข่งขันโดยไม่ชอบธรรม ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียน การอนุญาตให้ใช้สิทธิและการโอนสิทธิ อีกด้วย เช่น

  • การให้ผู้รับอนุญาตชำระค่าตอบแทนการใช้สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร หลังจากสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นสิ้นอายุ
  • การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิสูงเกินสมควร หรือในอัตราที่ไม่เท่าเทียมกัน ในกรณีมีการให้ใช้สิทธิอย่างเดียวกันกับผู้รับอนุญาตหลายราย
  • การบังคับซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตจากผู้อนุญาต หรือจากผู้จำหน่ายที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือในราคาสูงกว่าปกติ
  • การห้ามซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตจากผู้ขายที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • การจำกัดปริมาณการผลิต การขาย หรือการจำหน่ายของผู้รับอนุญาต
  • การบังคับขายสินค้าที่ผลิตจากสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรให้แก่ผู้อนุญาตเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนที่ผลิต

อนึ่ง ในกรณีการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ การอนุญาตก็จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ด้วย เช่น

  • กำหนดให้ผู้รับอนุญาตจัดหาวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตงานที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือจากผู้จำหน่ายที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • กำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ในอัตราที่ไม่เป็นธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราที่กำหนดในการอนุญาตที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดสำหรับผู้รับอนุญาตรายอื่นสำหรับงานอันมีลิขสิทธิ์อย่างเดียวกัน
  • ผู้อนุญาตมีสิทธิที่จะบอกเลิกการอนุญาตตามอำเภอใจและไม่มีเหตุอันสมควร

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม