ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ประกอบการเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด29 กุมภาพันธ์ 2020
คะแนน คะแนน 4.5 - 2 คะแนนโหวต

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การที่ผู้ประกอบการจะมีเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันเพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือทางธุรกิจของตนนั้นไม่ใช่เรื่องอยากอีกต่อไป รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก โดยประโยชน์ทางธุรกิจของกิจการที่ได้รับจากการมีเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน เช่น

  • การเสนอขายสินค้าและ/หรือบริการทางออนไลน์
  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร กิจกรรม สินค้าและ/หรือบริการ
  • การสร้างความรู้จัก ความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ของกิจการ
  • การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าของกิจการ เช่น การร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัล

ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่กล่าวข้างต้นนี้ ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้รัฐบาลมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมและคุ้มครองผู้ใช้งาน ผู้บริโภคที่มีการใช้งานเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันจำนวนมาก โดยผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน รวมถึงผู้ใช้งานเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน อาจมีข้อพิจารณาสำคัญในเชิงกฎหมาย ดังต่อไปนี้

(1) เนื้อหา รูปแบบ และชุดคำสั่งของเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน

เนื่องจากเนื้อหา รูปแบบ และชุดคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันนั้น อาจเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ได้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ โดยที่

  • เนื้อหา (Content) เช่น ข้อความ บทความ บทวิเคราะห์ ความคิดเห็น รูปภาพ ภาพถ่าย เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพยนต์ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน
  • รูปแบบ (Design) เช่น การออกแบบและการจัดเรียง แถบตัวเลือก แถบเมนู ฉากหลัง ชุดสี สัญลักษณ์ ตราต่างๆ ของเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน
  • ชุดคำสั่ง (Code) เช่น โปรแกรมต่างๆ ที่สร้างหรือถูกเขียนขึ้นเพื่อให้เว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันใช้งานได้ตามความประสงค์

โดยเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน อาจมีข้อพิจารณาในกรณีที่ เนื้อหา รูปแบบ หรือชุดคำสั่งนั้นถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้ดังต่อไปนี้

(ก) การสงวนลิขสิทธิ์ (Right Reserved)

โดยทั่วไป หากเนื้อหา รูปแบบ หรือชุดคำสั่งนั้นถูกสร้างขึ้นตามเงื่อนไขของกฎหมายลิขสิทธิ์แล้วนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยทันที โดยผู้สร้างงานดังกล่าวย่อมมีสิทธิความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น เว้นแต่ได้มีการแสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น เช่น มีการตกลงโอนให้เป็นของบุคคลอื่น การสละสิทธิในงานดังกล่าวให้เป็นสิทธิสาธารณะ (Open Source) ดังนี้ เพื่อความชัดเจนในการแสดงเจตนาของเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิในเนื้อหา รูปแบบ หรือชุดคำสั่งนั้นอาจแสดงข้อความเพื่อสงวนสิทธิ์เอาไว้โดยชัดแจ้งในเว็บไซต์/แอปพลิเคชันด้วย

(ข) การละเมิดลิขสิทธิ์ (Infringement)

ในการจัดทำเนื้อหา รูปแบบ และชุดคำสั่งของเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันต้องแน่ใจว่าเนื้อหา รูปแบบ และชุดคำสั่งที่ปรากฏในเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น เช่น การคัดลอกบทความของบุคคลอื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิงที่มา การนำรูปภาพของบุคคลอื่นมาใช้แสดงในเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันโดยไม่ได้รับอนุญาต

(2) การทำความผิดและเนื้อหาที่ผิดกฎมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)

พระราชบัญญัติว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่ได้กำหนดเพียงแต่การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) ที่ร้ายแรง เช่น การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต (Hack) การดักข้อมูล (Sniffing) หรือการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ (Virus) เท่านั้น แต่ยังกำหนดความผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญด้วย เช่น

  • การส่งข้อมูลหรืออีเมลให้ผู้รับ (เช่น ส่งอีเมลโฆษณาประชาสัมพันธ์ขายสินค้า การฝากร้าน) ที่มากจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธได้โดยง่าย อาจมีความผิดตามกฎหมายนี้ได้
  • การแสดง เผยแพร่ รวมถึงส่งต่อข้อมูลเนื้อหาที่ปลอมหรือเป็นเท็จ
  • การแสดง เผยแพร่ รวมถึงส่งต่อภาพหรือสื่อลามกอนาจารที่เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ

ในกรณีที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลเนื้อหาของผู้ใช้งาน (Post) หรือแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้งาน (Comment) ลงบนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันควรมีมาตรการตรวจสอบและกลั่นกรองเพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเพิ่มหรือแสดงเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายนั้น ทั้งนี้ เนื่องจาก เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันอาจมีความผิดได้หากเพิกเฉยไม่ดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดหรือการกระทำที่ผิดกฎหมายนั้นด้วย

(3) การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ในกรณีที่เว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันมีการเก็บรวบรวม ใช้ เผยแพร่ข้อมูล รวมถึงการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ อายุ วุฒิการศึกษา งานที่ทำ หรือ
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อ (ลัทธิ ศาสนา ปรัชญา) พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม สุขภาพ ความพิการ พันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ม่านตา หรือลายนิ้วมือ สหภาพแรงงานของผู้ใช้งาน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้การดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าว รวมถึงการเก็บรวบรวม ใช้ เผยแพร่ ส่ง หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจะต้องสอดคล้องและไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีเช่นนี้ เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันอาจจัดทำ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ เผยแพร่ ส่ง หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

(4) การขายสินค้าและ/หรือบริการ

ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันมีการจัดให้มีการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน ไม่ว่าเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันจะเป็นผู้ขาย/ผู้ให้บริการเองหรือให้ใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชันนั้นเป็นตลาดกลาง (e-Market Place) อาจมีข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

(ก) การจดทะเบียนและการขออนุญาต

(ข) การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการขายสินค้าและ/หรือบริการออนไลน์

    • การแสดงราคาสินค้าและ/หรือบริการที่ชัดเจนและต้องเป็นเลขอารบิก หากมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ (เช่น ค่าขนส่ง) ต้องแสดงอย่างชัดเจนด้วยการแสดงรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจนและในภาษาไทยเป็นอย่างน้อย (เช่น ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้าหนัก) ตาม ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 44
    • การไม่แสดงหรือโฆษณารายละเอียดสินค้าและ/หรือบริการที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

(ค) การปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมเฉพาะที่เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการนั้น (ถ้ามี)

สำหรับสินค้าหรือบริการบางประเภท มีกฎหมายควบคุมเฉพาะสินค้าหรือบริการนั้น ดังนี้ในการขายสินค้าหรือบริการนั้นเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นด้วย เช่น ต้องขออนุญาตขาย หรือในบางกรณีกฎหมายห้ามเด็ดขาดสำหรับการขายสินค้าหรือบริการดังกล่าวทางออนไลน์ (เช่น ยา)

เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันอาจกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและ/หรือบริการที่เสนอขายบนเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน เช่น การกำหนดข้อจำกัดความรับผิดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ (Limitation of Product/Service Liability) เงื่อนไขการรับประกับ (Warranty) การชำระค่าเงิน (Payment) นโยบายการคืนเงินและเปลี่ยนสินค้า (Refund and Return Policy) การโอนความเสี่ยงในสินค้า (Passing of Risk) ได้โดยการจัดทำ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชัน หรือ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการซื้อขายสินค้าและ/หรือบริการ

(ง) ภาษี

เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันที่ขายสินค้าและ/หรือบริการย่อมมีเงินได้ ดังนี้ เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันอาจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษี เช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการชำระภาษีดังกล่าว หากมีลักษณะตามเงื่อนไขที่ต้องเสียภาษีที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

(5) ความมีผลผูกพันและความบังคับใช้ได้ของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชันนั้นต้องมีข้อตกลง ข้อสัญญา หรือนิติกรรมต่างๆ กับผู้ใช้งานเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน เช่น การซื้อขายสินค้า หรือการใช้บริการต่างๆ การตกลงยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์/แอปพลิเคชัน การให้ความยินยอมตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว การให้ชิงโชคของรางวัลต่างๆ นั้น หากได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด ไม่ว่า สัญญา ข้อตกลง หรือนิติกรรมดังกล่าวกล่าวย่อมมีผลผูกพันและบังคับใช้ได้กับคู่สัญญาเสมือนได้มีการเข้าทำสัญญากับตามวิธีปกติเลย

แบบฟอร์มและตัวอย่างต่าง ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบ Word และ PDF

ให้คะแนนคู่มือฉบับนี้
4.5 - ดีมาก