การจัดส่งหนังสือ/เอกสารทางกฎหมาย

6 พฤศจิกายน 2023 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

เมื่อผู้ใช้งานได้จัดทำและลงนามในหนังสือ/เอกสารทางกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้หนังสือ/เอกสารทางกฎหมายที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถถูกส่งไปยังผู้รับหนังสือ/เอกสารทางกฎหมายดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง ผู้ใช้งานจึงมีข้อควรพิจารณาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือ/เอกสารทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้  [...]

ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือกิจการ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ภายใต้กฎหมายไทย

24 เมษายน 2023 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

ข้อสัญญาหรือข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือห้ามประกอบกิจการ คือข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา (เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ผู้เปิดเผยข้อมูลกับผู้ได้รับข้อมูล) ที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง (เช่น ฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายผู้ให้บริการ ฝ่ายผู้ได้รับข้อมูล) ห้ามไปทำงาน ประกอบอาชีพและ/หรือประกอบกิจการ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไปมักกำหนดบังคับใช้กับลูกจ้างหรือคู่สัญญาที่มีหน้าที่หรืออยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ (Strategic Personnel) เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและการตลาด หน้าที่ฝ่ายพัฒนาและวิจัย ผู้จัดการโครงการ วิศวกร นักวิจัย โดยที่ข้อตกลงการห้ามประกอบอาชีพและหรือห้ามประกอบกิจการนั้น อาจสามารถพบได้ในสัญญาดังต่อไปนี้ เช่น สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาบริการ สัญญาเก็บรักษาความลับ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมถึง สัญญาโอนหุ้นบริษัท และ สัญญาซื้อขายกิจการ หรืออาจสามารถพบเป็นสัญญาห้ามทำงาน/ประกอบกิจการแยกเป็นฉบับหนึ่งเลยก็ได้ ข้อสัญญาการห้ามประกอบอาชีพและ/หรือห้ามประกอบกิจการ เช่น ลูกจ้างตกลงจะไม่ทำงานให้กับกิจการร้านอาหารคู่แข่งของนายจ้าง ประกอบกิจการหรือเข้าร่วมในการประกอบกิจการเกี่ยวกับร้านขายอาหาร ในระหว่างการจ้างงานและภายใน 5 ปีนับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง  [...]

เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดตั้งบริษัทจำกัด

10 เมษายน 2023 - หมวดหมู่ : การจัดตั้งธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเภทกิจการหรือในกลุ่มอุตสาหกรรมใด สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องพิจารณาในการเริ่มดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งก็คือรูปแบบองค์กรธุรกิจที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจนั้นๆ (เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท) โดยแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะ ข้อดี ข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป เช่น จำนวนผู้ร่วมเป็นเจ้าของหรือร่วมลงทุน  [...]

ธุรกิจ/กิจการต่างๆ ควรเลือกใช้สัญญาเช่าสำนักงาน/พื้นที่ทำงานประเภทใด

17 มีนาคม 2023 - หมวดหมู่ : อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์

ในการเริ่มต้นดำเนินการธุรกิจหรือกิจการใดๆ สิ่งที่ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจหรือกิจการนั้นๆ มักจะต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรกๆ ก็คือสำนักงาน หรือสถานประกอบการของธุรกิจหรือกิจการนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทำเลสถานที่ตั้ง รูปแบบของสำนักงาน หรือสถานประกอบการ โดยภายในคู่มือทางกฎหมายฉบับนี้จะกล่าวถึงการเช่าและ/หรือการใช้บริการสำนักงาน/พื้นที่ทำงานเพื่อใช้เป็นสำนักงาน หรือสถานประกอบการของธุรกิจหรือกิจการในลักษณะต่างๆ รวมถึงข้อดี ข้อจำกัด และความเหมาะสมของการเช่าและ/หรือการใช้บริการสำนักงาน/พื้นที่ทำงานในลักษณะต่างๆ  [...]

ข้อพิจารณาสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์

9 กุมภาพันธ์ 2022 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ปัจจุบัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือทางธุรกิจ เช่น การใช้ระบบประมวลผลผ่านอินเทอร์เน็ต (Cloud Computing) ในการทำงานเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและรวดเร็วในการทำงาน การใช้ระบบประมวลผลข้อมูลจากหลายแหล่งที่มา การใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ โฆษณา ติดต่อประสานงานระหว่างธุรกิจกับลูกค้า/ผู้ใช้บริการ รวมถึงการใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ในการนำเสนอ และขายสินค้า /บริการ อย่างไรก็ดี มักปรากฏว่ามีประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ ให้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง เช่น ปัญหาการซื้อขายสินค้า/บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น การที่ผู้ซื้อได้รับสินค้า/บริการไม่ตรงตามที่แสดงไว้ในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ผู้ซื้อสั่งสินค้า/บริการแล้วไม่ยอมชำระเงิน  [...]

ข้อพิจารณาสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในการใช้งานเว็บไซต์/แอปพลิเคชันต่างๆ

27 มกราคม 2022 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ปัจจุบัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ส่วนตัว เช่น การโทรศัพท์ด้วยเสียงหรือวิดีโอผ่านแอปพลิเคชันในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การสนทนาพูดคุยด้วยการพิมพ์ข้อความในแอปพลิเคชัน การใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ในการเข้าสังคม พัฒนา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์  [...]

ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้อย่างไร?

25 มกราคม 2022 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

การเลิกสัญญาเช่าล้วนมักเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของคู่สัญญา (เช่น ผู้ให้เช่าและผู้เช่า) ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บอกเลิกสัญญา หรือฝ่ายผู้ถูกบอกเลิกสัญญาก็ตาม และไม่ว่าสิ่งปลูกสร้างที่เช่านั้นจะเป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น สิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้าน ห้องชุด ห้องอยู่อาศัย อพาร์ตเม้นท์ แฟลต  [...]

การโอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต้องทำอย่างไร?

17 พฤศจิกายน 2021 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการติดต่อสื่อสารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ) จึงมีบทบาทสำคัญและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น หรือแม้กระทั่งในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยก็ตาม  [...]

การเลิกสัญญาเช่า ต้องทำอย่างไร

8 ตุลาคม 2021 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

การเลิกสัญญาเช่าล้วนมักเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของคู่สัญญา (เช่น ผู้ให้เช่าและผู้เช่า) ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้บอกเลิกสัญญา หรือฝ่ายผู้ถูกบอกเลิกสัญญาก็ตาม และไม่ว่าสิ่งปลูกสร้างที่เช่านั้นจะเป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น สิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย เช่น บ้าน ห้องชุด ห้องอยู่อาศัย อพาร์ตเม้นท์ แฟลต  [...]

จดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องทำอย่างไร?

17 กันยายน 2021 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

การจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า คือ การดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนเอาไว้กับสำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากมีการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นให้แก่บุคคลอื่น (เช่น การเปลี่ยนแปลงเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามสัญญาโอนเครื่องหมายการค้า) โดยการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ การซื้อขายเครื่องหมายการค้า  [...]

ถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ต้องทำอย่างไร?

7 กันยายน 2021 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ในหลายครั้งที่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของเครื่องหมายการค้า เช่น ตรา ยี่ห้อ ชื่อสินค้า บริการ หรือกิจการ  [...]

ข้อควรพิจารณาในการซื้อหรือเซ้งกิจการ/ธุรกิจ

6 กันยายน 2021 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

การซื้อ/เซ้งต่อกิจการ คือการที่ผู้ซื้อกิจการได้มาซึ่งอำนาจควบคุม หรือได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของในกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยผู้ซื้อกิจการจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินงานประกอบกิจการ/ธุรกิจ และรับผลประโยชน์ (เช่น ผลกำไร) รวมถึงภาระความเสี่ยงจากการดำเนินงานด้วย (เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ สภาวะขาดทุน) โดย กิจการหรือธุรกิจ เช่น ร้านอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม  [...]

การลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม (e-Voting) ทำอย่างไร

24 สิงหาคม 2021 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

การลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม (e-Voting) คือ การลงคะแนนเสียง หรือการนับคะแนนเสียงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการประชุมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นวิธีการลงคะแนนเสียงแบบเปิดเผย หรือการลงคะแนนลับ ก็ได้ โดยที่ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การลงคะแนนเสียง หรือการนับคะแนนเสียงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านอุปกรณ์/เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบการลงคะแนนเสียงต่างๆ  [...]

การลงนามสัญญาด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ต้องทำอย่างไร

6 กรกฎาคม 2021 - หมวดหมู่ : ชีวิตประจำวัน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ หรือผู้บริโภค สามารถใช้งาน ดำเนินกิจกรรม รวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นผ่านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคลของตน เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุเดียวกันนี้ทำให้ การประกอบธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอย่างก้าวกระโดด เช่น การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การกู้ยืมเงินผ่านแอปพลิเคชัน หรือการจ้างทำงานออนไลน์ (Freelance) การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน ในการทำธุรกรรมที่เหล่านี้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีสัญญาที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา รวมถึงการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สัญญาที่เกี่ยวข้องมีผลผูกพันคู่สัญญา และสามารถใช้บังคับกันได้ในกรณีที่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติผิดสัญญา เช่น ผู้ขายส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลงหรือโฆษณาไว้ ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า ผู้ขายไม่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อ หรือเพื่อให้เอกสารสำคัญมีผลบังคับใช้ เช่น การลงนามอนุมัติงบประมาณ การลงนามอนุมัติฝาก-ถอนเงิน  [...]

การจัดทำสัญญาและลงนามออนไลน์ (e-Contract) จะมีผลผูกพัน หรือไม่ อย่างไร

26 มิถุนายน 2021 - หมวดหมู่ : ชีวิตประจำวัน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ หรือผู้บริโภค สามารถใช้งาน ดำเนินกิจกรรม รวมถึงการทำธุรกรรมต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นผ่านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคลของตน เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุเดียวกันนี้ทำให้ การประกอบธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอย่างก้าวกระโดด เช่น การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การกู้ยืมเงินผ่านแอปพลิเคชัน หรือการจ้างทำงานออนไลน์ (Freelance) ในการทำธุรกรรมที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีสัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา เช่น  [...]

จะย้ายผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าต้องดำเนินการ อย่างไร

3 พฤษภาคม 2021 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

ปัญหาผู้เช่าไม่ยอมย้ายออกจากสถานที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและทั่วไปในการนำสิ่งปลูกสร้างออกให้เช่า และมักเป็นปัญหาที่ผู้ให้เช่ามักกังวลที่สุดในการนำสิ่งปลูกสร้างออกให้เช่า เนื่องจากผู้ให้เช่าอาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่อาจสามารถจัดการกับผู้เช่าได้ตามอำเภอใจตามความต้องการของผู้ให้เช่า เนื่องจากอาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและขัดต่อกฎหมาย และผู้ให้เช่าอาจมีความรับผิดตามกฎหมายไม่ว่าทางแพ่ง (เช่น ชดใช้ค่าเสียหาย) และ/หรือทางอาญา (เช่น โทษปรับและ/หรือจำคุก) เสียเอง เช่น การขับไล่ผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าด้วยตนเอง การทำร้ายร่างกายและ/หรือทำลายทรัพย์สินของผู้เช่า  [...]

การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ทำได้ หรือไม่ อย่างไร

30 เมษายน 2021 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

ในปัจจุบัน สถานการณ์แพร่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและกว้างขวางภายในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าว เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการจำกัดจำนวนการรวมกลุ่ม/ชุมนมกันของผู้คน โดยมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลทำให้การจัดประชุม (ซึ่งเป็นการรวมผู้คนจำนวนมากภายในสถานที่ปิดอันมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว) มีอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินการ โดยหนึ่งในแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)  [...]

ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ให้กู้ในการให้กู้ยืมเงิน

28 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลทั่วไปซึ่งไม่ใช่สถาบันการเงินมีความแพร่หลายอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีขั้นตอนหรือกระบวนการที่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการขอกู้ยืมเงินจากสถานบันการเงิน (เช่น ธนาคารพาณิชย์) โดยการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลทั่วไปอาจเป็นการให้กู้ยืมเงินทางธุรกิจ (เช่น การให้คู่ค้ากู้ยืมเงิน การให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน) หรือการให้กู้ยืมแบบส่วนตัว (เช่น ให้เพื่อน ญาติ พี่ น้อง หรือคนในครอบครัวกู้ยืมเงิน) โดยหากพิจารณาจากมุมมองของผู้ให้กู้แล้ว ผู้ให้กู้อาจมีความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับชำระเงินที่ให้กู้ยืมคืน เนื่องจากผู้กู้ไม่มีเงินหรือไม่ยอมชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยคืน  [...]

ต้องทำอย่างไร เมื่อคนในครอบครัวเสียชีวิต

27 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ชีวิตประจำวัน

เมื่อมีคนในครอบครัวเสียชีวิต หลายคนอาจไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อ เนื่องจากการเสียชีวิตของคนในครอบครัวเสียชีวิตย่อมเป็นความสูญเสียที่ไม่มีใครต้องการและไม่ได้คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเสียชีวิตโดยฉับพลัน ซึ่งสามี ภรรยา บุตร บิดา มารดา ญาติ เพื่อน ผู้ปกครองของผู้เสียชีวิต หรือผู้อื่นซึ่งได้พบศพผู้เสียชีวิตอาจไม่ได้เตรียมตัวหรือศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อนว่าจะต้องดำเนินอะไรบ้าง และอย่างไร  [...]

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการหย่า

26 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ชีวิตครอบครัว การสมรส การหย่าร้าง

เมื่อคนสองคนมีความรัก มีความผูกพัน และมีความตั้งใจที่จะสร้างครอบครัวร่วมกันแล้ว ก็มักแต่งงานและจดทะเบียนสมรสเพื่อเป็นสามีและภรรยากันตามกฎหมาย โดยหวังว่าจะมีชีวิตครอบครัวที่สงบสุข มีบุตรร่วมกัน อย่างไรก็ดี การอยู่ร่วมกันของคนมากกว่าหนึ่งคน ไม่ว่าจะในรูปแบบความสัมพันธ์ใดๆ ย่อมต้องเกิดความขัดแย้งขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าคู่สมรสคู่นั้นสามารถปรับปรุง แก้ไข และ/หรือยอมรับกันได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงปัญหาที่พบได้เป็นประจำคือการนอกใจคู่สมรสของตนเอง เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถปรับปรุง แก้ไข และ/หรือยอมรับ รวมถึงให้อภัยซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายกันได้อีกต่อไป การแยกทาง การสิ้นสุดการสมรส หรือการหย่าอาจเป็นทางออกสุดท้ายของคู่สมรสนั้น ในบางกรณี คู่สมรสอาจไม่ได้เลือกที่จะหย่าขาดจากกันในทันทีที่เกิดปัญหา แต่อาจเลือกที่จะแยกกันอยู่ เพื่อให้เวลาแต่ละฝ่ายพยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นก่อนที่จะพิจารณาหย่าขาดกันอีกที ซึ่งการแยกกันอยู่ คือการที่คู่สมรสไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยา โดยสถานะทางกฎหมายของทั้งคู่ก็ยังถือเป็นสามีและภรรยา หรือคู่สมรสกันอยู่ กล่าวคือ การแยกกันอยู่ไม่ได้ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การสมัครใจแยกกันอยู่ก็อาจเป็นเหตุและเงื่อนไขในการฟ้องหย่าได้  [...]

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานในกรณีใดบ้าง

25 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ทรัพยากรมนุษย์และกฎหมายแรงงาน

การที่ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่าโดยการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือการลาออกโดยตัวลูกจ้างเอง ก็อาจไม่เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของผู้เป็นนายจ้างและ/หรือลูกจ้างมากนัก อย่างไรก็ดี สิ่งที่ไม่ว่านายจ้างและลูกจ้างต่างให้ความสำคัญเมื่อลูกจ้างออกจากงานไปไม่แพ้ไปกว่าเรื่องอื่นๆ เลย นั้นก็คือ การจ่ายค่าชดเชย โดยนายจ้างอาจมีข้อพิจารณาในด้านต้นทุนการบริหารบุคคล การปฏิบัติและความรับผิดตามกฎหมายแรงงาน ในขณะที่ลูกจ้างอาจมีข้อพิจารณาว่าตนมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือไม่ และมีสิทธิได้รับเงินชดเชยเท่าใด  [...]

สัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย มีข้อแตกต่างกันอย่างไร

22 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

ในการที่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า จะเลือกใช้สัญญาใดสัญญาหนึ่งระหว่างสัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์ (เช่น สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์) และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย (เช่น สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย สัญญาเช่าช่วง) อาจเป็นเรื่องที่ไม่ยากมากนัก เนื่องจาก ด้วยชื่อของสัญญาเอง ก็ได้แสดงชัดเจนอยู่ในตัวของชื่อสัญญาแล้วว่า แบบสัญญาใดเหมาะสำหรับการเช่าในลักษณะใด แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่อาจมีข้อสงสัยต่อไปว่าแล้วสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร นอกจากชื่อของสัญญาและวัตถุประสงค์ของการเช่า ซึ่งข้อสงสัยดังกล่าวเหล่านี้ หากผู้ใช้งานได้ศึกษาและเข้าใจถึงความแตกต่างของเนื้อหาแล้ว ย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าก็ตาม เนื่องจากจะทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่จะต้องเตรียมตัวในการเจรจาทำสัญญาเช่าฉบับดังกล่าวกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการประกอบกิจการหรือในการอยู่อาศัยต่อไป  [...]

ผู้ให้เช่าทำอะไรได้บ้าง เมื่อผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า?

20 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

ในการที่เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภท บ้าน ห้องชุด ห้องอยู่อาศัย พื้นที่ร้านค้า อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ สิ่งที่เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มักมีข้อกังวลมากที่สุดก็คือ ปัญหาผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่า ซึ่งเป็นปัญหาตั้งต้นอันดับหนึ่งอันนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่จะเกิดตามมาอีกจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้เช่าอาจทั้งเคยได้ยินคำบอกเล่ามาจากบุคคลอื่นหรืออาจเคยประสบพบเจอปัญหาเหล่านี้ด้วยตนเองมาแล้ว ดังนั้น ก่อนการให้เช่าซึ่งอสังหาริมทรัพย์แก่บุคคลใดๆ เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จึงควรศึกษาและพิจารณาถึงสิทธิของตนในการดำเนินการต่างๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า ทั้งนี้ เพื่อเจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์สามารถนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างทันท่วงที และที่สำคัญอย่างถูกกฎหมาย เนื่องจาก ในบางกรณีการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายโดยเจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์อาจทำให้เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีความรับผิดทางกฎหมาย เช่น ความรับผิดทางแพ่งหรือโทษทางอาญาก็ได้  [...]

เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด

19 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : การจัดตั้งธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเภทกิจการหรือในกลุ่มอุตสาหกรรมใด สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องพิจารณาในการเริ่มดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งก็คือรูปแบบองค์กรธุรกิจที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจนั้นๆ (เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท) โดยแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะ ข้อดี ข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป เช่น จำนวนผู้ร่วมเป็นเจ้าของหรือร่วมลงทุน  [...]

ข้อจำกัดในการให้เช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

18 มกราคม 2021 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

การเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย คือ การเช่าสิ่งปลูกสร้าง (เช่น ห้องพัก บ้าน อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ) ที่ผู้เช่ามีวัตถุประสงค์ในการนำสิ่งปลูกสร้างนั้นมาใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัย (เช่น การพักอาศัย ดำรงชีวิตทั่วไป) ตาม สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย หรือ สัญญาเช่าช่วง ซึ่งแตกต่างจากการเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำสิ่งปลูกสร้างมาใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจการค้าต่างๆ (เช่น ร้านค้า อาคารสำนักงาน) ผู้ใช้งานอาจศึกษาความแตกต่างระหว่างสัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย มีข้อแตกต่างกันอย่างไร  [...]

การเรียกเงินประกันความเสียหายตามสัญญาเช่า

1 พฤษภาคม 2020 - หมวดหมู่ : ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์

หลักประกันการเช่า คือ สิ่งที่ผู้เช่าได้ให้ไว้แก่ผู้ให้เช่าเมื่อขณะทำสัญญาเช่า ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือด้วยการค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าประกันในการเช่าสิ่งปลูกสร้าง ค่าประกันความเสียหายสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าอาจก่อขึ้น หรือค่าประกันในเหตุต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่า โดยในสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจะกำหนดเหตุในการบังคับหลักประกันเอาไว้ตามแต่วัตถุประสงค์ของการเรียกหลักประกันการเช่านั้น โดยทั่วไปการเรียกหลักประกันการเช่ามีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ ดังต่อไปนี้ ประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่า เช่น ผู้ให้เช่าอาจกำหนดเหตุในการบังคับหลักประกันการเช่า ในกรณีที่ผู้เช่าก่อความเสียหายแก่สิ่งปลูกสร้างที่เช่าหรือไม่ยอมซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างตามหน้าที่ของผู้เช่า โดยให้สิทธิผู้ให้เช่าสามารถนำเงินประกันหรือหลักประกันนั้นมาใช้ในการชดใช้หรือดำเนินการซ่อมแซมความเสียหายสิ่งปลูกสร้างนั้น  [...]

การทวงหนี้จากลูกหนี้อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ

10 เมษายน 2020 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

เจ้าหนี้หลายคนอาจมีปัญหาการไม่ได้รับชำระเงินจากลูกหนี้ของตนซึ่งอาจมีสาเหตุต่างๆ ตามที่ลูกหนี้นั้นอ้างมาเป็นเหตุผลในการไม่ชำระหนี้ เช่น ลืมกำหนดชำระ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน (ไม่มีเงินหรือมีแต่ไม่เพียงพอชำระ) โดยที่หนี้ในที่นี้อาจจะเป็นหนี้ทางการค้าหรือหนี้ทางธุรกิจ เช่น หนี้เงินกู้เพื่อธุรกิจ หนี้ค่าสินค้า ค่าบริการ ค่าเช่าบ้าน หรืออาจเป็นหนี้ส่วนบุคคล เช่น หนี้เงินกู้ยืมระหว่างเพื่อนหรือครอบครัวที่เดือดร้อนจำเป็นต้องใช้เงินก็ได้ ดังนี้ เจ้าหนี้ในที่นี้จึงหมายถึง บุคคลใดๆ ก็ตามที่มีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากอีกบุคคลหนึ่งซึ่งก็คือลูกหนี้ ไม่ใช่เพียงแต่ ธนาคารหรือสถาบันการเงินรายใหญ่เท่านั้น ตัวอย่างเจ้าหนี้ เช่น ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการ ผู้ให้กู้ยืมเงิน ผู้ให้เช่า และลูกหนี้ เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ซื้อ ผู้รับบริการ ผู้กู้ ผู้เช่า เป็นต้น การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามกำหนดชำระนั้นต่างก็เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้ทุกคนคาดหวังไว้ แต่ในความเป็นจริงเจ้าหนี้อาจไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ภายในกำหนดชำระหนี้ทุกราย ดังนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เจ้าหนี้จึงต้องดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้รับชำระหนี้นั้นมา โดยอาจมีข้อพิจารณาเพื่อให้การติดตามทวงถามหนี้นั้นประสบความสำเร็จ ซึ่งก็คือการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนโดยเร็วที่สุดและโดยวิถีทางที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้  [...]

การเลิกจ้างและการลาออกจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง

4 มีนาคม 2020 - หมวดหมู่ : ทรัพยากรมนุษย์และกฎหมายแรงงาน

การสิ้นสุดของสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างพนักงานอาจสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การสิ้นสุดโดยผลของกฎหมายหรือสัญญา เช่น  [...]

ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ

4 มีนาคม 2020 - หมวดหมู่ : สัญญาจ้างงาน

ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารและสื่อสังคมมีความก้าวหน้าอย่างมากจึงทำให้เป็นช่องทางในการเกิดธุรกิจเกิดใหม่ (Startups) และลักษณะการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ (Business Model) มากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีปริมาณงานมากขึ้นและทำให้มีความต้องการคนทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในการจัดหาผู้ทำงานในปัจจุบันธุรกิจอาจมีทางเลือกในการจัดหาผู้ทำงานหลักๆ ได้แก่ การจ้างแรงงาน (เช่น การจ้างพนักงาน) ซึ่งมุ่งเน้นอำนาจบังคับบัญชาผู้รับจ้างเป็นสำคัญและการจ้างทำของ (เช่น การจ้างผลิตงาน การจ้างออกแบบ การให้คำปรึกษา การจ้างก่อสร้าง การจ้างใช้งานบริการต่างๆ) ซึ่งมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญหากพิจารณาเพียงคร่าวๆ จะพบว่าทั้งสองลักษณะการจ้างงานนี้มีความใกล้เคียงกันคือ มีผู้ว่าจ้างจ้างผู้รับจ้างให้ทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อตอบแทนงานที่ทำนั้น แต่หากพิจารณาในเชิงลึกแล้วทั้งสองลักษณะการจ้างงานมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งในด้านของ ลักษณะ เงื่อนไข ข้อจำกัด กฎหมายที่ใช้บังคับ และที่สำคัญต้นทุนทั้งหมดในการจ้างทำงาน  [...]

ข้อควรพิจารณาสำหรับผู้ประกอบการเจ้าของหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน

29 กุมภาพันธ์ 2020 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การที่ผู้ประกอบการจะมีเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชันเพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือทางธุรกิจของตนนั้นไม่ใช่เรื่องอยากอีกต่อไป รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก โดยประโยชน์ทางธุรกิจของกิจการที่ได้รับจากการมีเว็บไซต์และ/หรือแอปพลิเคชัน เช่น  [...]

การซื้อขายหรือโอนกิจการ สามารถใช้วิธีการใดได้บ้าง และวิธีใดดีที่สุด

8 มกราคม 2020 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

ปัจจุบัน กิจการหรือธุรกิจมีการแข่งขันทางธุรกิจที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจทำให้กิจการมีข้อได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงมักพบเห็นการที่ผู้ประกอบธุรกิจเลือกที่จะซื้อกิจการหรือธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วแทนที่การเริ่มกิจการหรือธุรกิจใหม่ทั้งหมด โดยการซื้อกิจการอาจมีข้อได้เปรียบจากการเริ่มต้นกิจการใหม่ในข้อจำกัดด้านเวลาที่น่าพิจารณา ดังต่อไปนี้ ลดเวลาในการสร้างความเชื่อมั่น ความรู้จัก ความนิยม และฐานลูกค้าของกิจการ เช่น การซื้อเครื่องหมายการค้า ชื่อทางการค้า หรือชื่อของกิจการ  [...]

การจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีความสำคัญอย่างไร และจัดประชุมอย่างไรให้ถูกต้อง

10 ธันวาคม 2019 - หมวดหมู่ : เอกสารทางธุรกิจทั่วไป

การประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ตามกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทเรียกว่า การประชุมใหญ่ คือการประชุมของผู้ถือหุ้นทั้งหลายของบริษัทจำกัด ที่บริษัทจัดให้มีขึ้นตามวันเวลาและสถานที่ที่ได้มีการนัดเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น โดยที่ ผู้ถือหุ้นก็คือบุคคลที่นำเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของตนมาลงทุนกับบริษัทเพื่อบริษัทนำไปใช้ในการดำเนินกิจการหรือลงทุนในกิจการหรือธุรกิจของบริษัทนั้น กล่าวคือผู้ถือหุ้นก็คือผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทนั่นเอง โดยที่จำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นคนนั้นถือ ก็แสดงถึงสัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทและสัดส่วนการลงทุนในบริษัทนั้น  [...]

รูปแบบองค์กรธุรกิจแบบใดที่เหมาะสมกับลักษณะกิจการของท่านที่สุด (เช่น บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัท)

15 พฤศจิกายน 2019 - หมวดหมู่ : การจัดตั้งธุรกิจ

ในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจใดๆ ซึ่งเป็นการแสวงหาผลกำไรนั้น ไม่ว่าขนาดกิจการหรือธุรกิจนั้นจะมีขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่และไม่ว่ากิจการหรือธุรกิจนั้นจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใด สิ่งหนึ่งที่ผู้เป็นเจ้ากิจการหรือธุรกิจนั้นจะต้องพิจารณาก็คือ รูปแบบองค์กรธุรกิจที่จะใช้ในการประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้น รูปแบบองค์กรธุรกิจที่เลือกใช้นั้นล้วนมีผลต่อกิจการหรือธุรกิจไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ข้อจำกัดของจำนวนผู้ร่วมเป็นเจ้าของหรือร่วมลงทุนในกิจการหรือธุรกิจนั้น การจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิดของกิจการหรือธุรกิจนั้นออกจากผู้เจ้าของกิจการหรือธุรกิจนั้น อัตราภาษีและสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ ภาระหน้าที่การปฏิบัติตามกฎหมาย ความน่าเชื่อถือของกิจการหรือธุรกิจ ข้อกำหนดของคู่ค้า คู่สัญญาของกิจการหรือธุรกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่กำหนดรูปแบบกิจการหรือธุรกิจที่จะเข้าประมูลหรือที่จะเข้าทำสัญญาด้วย หรือข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการให้อนุญาตประกอบกิจการควบคุมบางประเภทที่กำหนดรูปแบบกิจการหรือธุรกิจไว้เฉพาะที่จะสามารถขอรับอนุญาต เป็นต้น  [...]

ข้อควรพิจารณาในการจ้างคนต่างด้าวทำงาน

11 กันยายน 2019 - หมวดหมู่ : ทรัพยากรมนุษย์และกฎหมายแรงงาน

ก่อนที่จะกล่าวถึงสาเหตุและความจำเป็นที่นายจ้างในประเทศไทยต้องจ้างลูกจ้างหรือพนักงานต่างด้าวหรือต่างชาติให้ทำงานให้นั้น ผู้อ่านอาจต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า การจ้างคนงานต่างด้าวทำงานนั้น หมายถึง การที่นายจ้างให้ลูกจ้างหรือพนักงานซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยแรงงานหรือด้วยความรู้ความสามารถก็ตาม และไม่ว่ามีค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นหรือไม่ก็ตาม โดยที่ ลูกจ้างหรือพนักงานซึ่งเป็นคนต่างด้าวก็คือ บุคคลใดๆ ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย (เช่น สัญชาติลาว จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกัน) บุคคลเหล่านี้ถือเป็นคนต่างด้าวทั้งสิ้น โดยทั่วไปอาจแบ่งคนต่างด้าวหรือคนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ ดังต่อไปนี้  [...]

สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง หากเกิดความชำรุดเสียหายกับทรัพย์ที่เช่า ใครต้องรับผิดชอบ

23 กรกฎาคม 2019 - หมวดหมู่ : งานปรับปรุงและซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์

ปัจจุบันการเช่าสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการเช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการซื้อขาดสิ่งปลูกสร้างนั้น อย่างไรก็ดี เมื่อมีการเช่าสิ่งปลูกสร้าง ปัญหาที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ เมื่อสิ่งปลูกสร้างที่เช่าเกิดการชำรุดบกพร่อง เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ จะเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายใด ผู้ให้เช่าหรือผู้เช่า ที่จะต้องรับผิดชอบดำเนินการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่อง ความเสียหาย หรือการเสื่อมสภาพนั้น การเช่าสิ่งปลูกสร้างอาจเป็นการเช่าบ้านหรือห้องชุดเพื่ออยู่อาศัยตาม สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย หรือการเช่าอาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน อาคารต่างๆ เพื่อประกอบกิจการตาม สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ รวมถึงการเช่าช่วงต่อตาม สัญญาเช่าช่วง ด้วย  [...]

สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ทำได้หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง

15 กรกฎาคม 2019 - หมวดหมู่ : สัญญาจ้างงาน

ในปัจจุบัน ความหลากหลายในการประกอบธุรกิจและกิจการมีเพิ่มมากขึ้นทำให้มีลักษณะการให้บริการคู่ค้าหรือผู้บริโภคมากขึ้นและในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างมีความต้องการแรงงานในลักษณะที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในบางลักษณะงานนายจ้างต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจรูปแบบและลักษณะการดำเนินธุรกิจและประกอบธุรกิจของนายจ้างเป็นอย่างดี ในกรณีเช่นนี้ นายจ้างอาจเลือกที่จะจ้างลูกจ้างหรือพนักงานในรูปแบบพนักงานประจำ (ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน) เนื่องจากต้องการให้ลูกจ้างทำงานอยู่กันนายจ้างในระยะยาว ในทางกลับกัน ในบางลักษณะงานนายจ้างอาจต้องการผู้ปฏิบัติงานมาทำงานให้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เช่น เป็นโครงการพิเศษ หรือเป็นงานที่มีเป็นช่วงๆ ตามฤดูกาล หรืองานที่ระยะการปฏิบัติงานเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในกรณีเช่นนี้ นายจ้างอาจเลือกที่จะจ้างลูกจ้างหรือพนักงานด้วยระยะเวลาที่จำกัด (มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการจ้างที่แน่นอน) เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานของผู้ประกอบกิจการหรือนายจ้าง รวมถึงเพื่อตอบสนองการบริหารและใช้งบประมาณของกิจการหรือนายจ้างที่มีประสิทธิภาพด้วย  [...]

ทำไมเจ้าของ/ผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจำเป็นต้องมีนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)

26 มิถุนายน 2019 - หมวดหมู่ : ทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีใหม่

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การซื้อสินค้าและ/หรือการใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งความก้าวหน้าดังกล่าวย่อมต้องมีการส่งผ่านข้อมูลต่างๆ จำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย แพร่หลาย และสะดวกมากขึ้นซึ่งอาจก่อให้เกิดการล่วงละเมิดในข้อมูลดังกล่าวหรือกล่าวคือการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวได้ง่ายขึ้นตามไปด้วยซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พึงจะมี โดยการละเมิดดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นหรืออาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้  [...]