หนังสือยินยอมให้เด็กทำงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือยินยอมให้เด็กทำงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 08/06/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด5 ถึง 8 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 08/06/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 5 ถึง 8 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือยินยอมให้เด็กทำงานหรือหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองให้เด็กทำงาน คือ หนังสือซึ่งออกโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครอง (เช่น บิดา มารดา ญาติที่เป็นผู้ปกครอง) ของผู้เยาว์/เด็กนั้น เพื่อแสดงความยินยอมและรับทราบให้ผู้เยาว์นั้นเข้าทำงานหรือไปเป็นลูกจ้างกับสถานประกอบกิจการของนายจ้าง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เยาว์/เด็กนั้นตามกฎหมายทั่วไปแล้ว อาจต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ผู้เยาว์/เด็กกระทำการต่างๆ (เช่น การเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือการเข้าทำนิติกรรมต่างๆ) รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้เยาว์/เด็กที่อยู่ในความปกครองของตน (เช่น บุตร หลาน) จะไปทำงานกับนายจ้างด้วยเงื่อนไขสภาพการจ้างที่เป็นประโยชน์กับผู้เยาว์/เด็กนั้น และสอดคล้องกับการคุ้มครองแรงงานเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

ผู้เยาว์/เด็ก หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในกรณีที่บุคคลมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว จึงไม่ใช่ผู้เยาว์/เด็ก และอาจไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองตามหนังสือฉบับนี้ในการเข้าทำงานกับสถานประกอบกิจการของนายจ้าง

โดยทั่วไปบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์/เด็กนั้น ได้แก่ บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์นั้นร่วมกันปกครอง อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์อาจไม่ใช่บุคคล 2 คนนี้ก็ได้ เช่น

  • บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดาหรือมารดาอีกคนหนึ่งนั้นไม่สามารถหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถดูแล ปกครองบุตรของตนได้ เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองบิดาหรือมารดา
  • มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาตามกฎหมาย ดำเนินการรับรองบุตร หรือมีคำสั่งศาลรับรอง
  • บุคคลอื่นๆ นอกจากบิดาและมารดาโดยสายเลือด เช่น บุคคลซึ่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองตามเงื่อนไขของกฎหมาย ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่รับผู้เยาว์นั้นเป็นบุตรบุญธรรม พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงในกรณีที่บิดาหรือมารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสใหม่

การทำงานกับนายจ้างอาจเป็นไปได้ทั้งการทำงานในรูปแบบประจำเต็มเวลาตาม สัญญาจ้างแรงงานทั่วไป การทำงานในรูปแบบนอกเวลา/ไม่เต็มเวลา (Part-time) ตามสัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) หรือการทำงานในรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ก็ได้ ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดวันและเวลาทำงาน รวมถึงเวลาพักที่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์/เด็กตามที่กฎหมายกำหนด

 

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองให้เด็กทำงาน ผู้จัดทำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมและผู้เยาว์/เด็กที่จะทำงาน เช่น ชื่อ ที่อยู่ และช่องทางการติดต่อ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • นายจ้าง เช่น ชื่อสถานประกอบกิจการ และที่อยู่นายจ้าง
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เช่น เงื่อนไขการจ้าง/การทำงาน ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน หน้าที่งาน สถานที่ทำงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุด วันลา อัตราค่าจ้าง สวัสดิการ
  • ข้อมูลการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองให้เด็กทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้ปกครองที่ให้ความยินยอม รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในหนังสือฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่นายจ้างเพื่อใช้จัดเก็บอ้างอิงต่อไป รวมถึงแนบเอกสารแสดงตัวตนของผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมและผู้เยาว์/เด็กที่จะทำงานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาสูติบัตรของผู้เยาว์ และ

ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ใช่บิดาและมารดาควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจปกครองนั้นด้วย เช่น ใบมรณะบัตรของบิดาหรือมารดา คำสั่งศาลถอนอำนาจปกครอง ใบสำคัญการหย่าและบันทึกข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

 

ข้อพิจารณา

กฎหมายคุ้มครองแรงงงาน ห้ามนายจ้างว่าจ้างผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปีเป็นลูกจ้างหรือให้ทำงานให้กับตนเพื่อค่าตอบแทน หากนายจ้างฝ่าฝืนว่าจ้างผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) เป็นลูกจ้างหรือให้ทำงานให้กับตน นายจ้างอาจมีโทษทางอาญา (เช่น ปรับ จำคุก)

เงื่อนไขการจ้าง ลักษณะงาน อัตราค่าจ้าง ระยะเวลาการทำงาน การเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน และสถานที่ทำงานจะต้องไม่เป็นสภาพการจ้างต้องห้ามสำหรับผู้เยาว์/เด็กในแต่ละช่วงอายุตามที่กฎหมายกำหนดในกฎหมายคุ้มครองแรงงงาน และในกรณีการจ้างลูกจ้างที่เป็นผู้เยาว์/เด็กซึ่งเป็นนักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่ทำงานนอกเวลาเรียนเพื่อหารายได้พิเศษ นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมตามข้อแนะนำในประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างรายชั่วโมง สำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา

ในกรณีที่ลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 (สิบแปด) ปี นายจ้างอาจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • แจ้งการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เยาว์/เด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 (สิบห้า) วันนับแต่วันที่ผู้เยาว์/เด็กเข้าทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
  • จัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการตามแบบที่กฎหมายกำหนด
  • แจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เยาว์/เด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 (เจ็ด) วันนับแต่วันที่ผู้เยาว์/เด็กออกจากงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม