บันทึกข้อตกลงการหย่า กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

บันทึกข้อตกลงการหย่า

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 10/04/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด4 ถึง 5 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 10/04/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 4 ถึง 5 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงการหย่าคืออะไร

บันทึกข้อตกลงการหย่า (Divorce Agreement) หรือสัญญาหย่าโดยความยินยอม คือ สัญญาที่คู่สมรส (เช่น สามีและภรรยา) จัดทำขึ้นเพื่อยุติการสมรสที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้เคยจดทะเบียนสมรสร่วมกันไว้ และกำหนดผลเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง เช่น การแบ่งสินสมรส ทรัพย์สิน/หนี้สินต่างๆ อำนาจปกครองบุตร หน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตร และข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี)

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการตกลงเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรของคู่สัญญา โดยที่ไม่ใช่การตกลงกันในระหว่างกระบวนการหย่า/การจดทะเบียนหย่า (เช่น การตกลงเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรในภายหลังจากการจดทะเบียนหย่า) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

บันทึกข้อตกลงการหย่าฉบับนี้ถูกร่างขึ้นสำหรับการหย่าของคู่สามีภรรยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น มีทะเบียนสมรส) โดยเฉพาะ ในกรณีที่คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายอาจไม่สามารถจดทะเบียนหย่าได้และไม่จำเป็นต้องดำเนินการหย่า เนื่องจากไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกันจึงไม่มีสถานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายตั้งแต่ต้น

อย่างไรก็ดี คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสหากมีความประสงค์จะเลิกขาดจากกัน ก็อาจมีข้อพิจารณาบางประการที่อาจสามารถนำบันทึกข้อตกลงการหย่ามาเทียบเคียงกันได้ตามความเหมาะสม (เช่น การแบ่งทรัพย์สิน การแบ่ง/ร่วมกันรับผิดชอบหนี้สิน การเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่าย)


การหย่ามีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

โดยทั่วไปการหย่าสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

(1) ด้วยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย โดยการทำบันทึกข้อตกลงการหย่าฉบับนี้และนำไปจดทะเบียนการหย่า และ
(2) ด้วยคำพิพากษาของศาลหรือที่มักเรียกว่าฟ้องหย่า


การหย่าโดยการทำบันทึกข้อตกลงการหย่าและการฟ้องหย่าแตกต่างกัน อย่างไร

ในกรณีการหย่าด้วยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย โดยการทำบันทึกข้อตกลงการหย่า คู่สมรสที่ต้องการจะหย่าขาดจากกันสามารถตกลงและจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่ากันได้เองตามที่คู่สัญญาเห็นพ้องต้องกันโดยเมื่อจัดทำเสร็จแล้วก็สามารถนำไปจดทะเบียนหย่าได้ที่สำนักงานเขต อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่านั้นได้เลย ซึ่งจะไม่ผ่านกระบวนการทางศาลทำให้ลดขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการหย่าได้

อย่างไรก็ดี ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า คู่สัญญาต้องยินยอมและเห็นพ้องตรงกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้น หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีความต้องการจะหย่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับกับเงื่อนไขที่อีกฝ่ายต้องการได้ หรือคู่สัญญาไม่อยู่ในสถานะความสัมพันธ์ที่สามารถติดต่อ พูดคุย หรือเจรจากันได้แล้ว คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องเลือกใช้การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือฟ้องหย่าแทนการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า


จำเป็นต้องทำบันทึกข้อตกลงการหย่า หรือไม่

จำเป็น คู่สมรสที่ต้องการจะหย่าขาดจากกันจะต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย โดยต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนลงนามในบันทึกข้อตกลงการหย่า และคู่สัญญาจะต้องนำบันทึกข้อตกลงการหย่านั้นไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียนด้วย (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) เนื่องจากการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่านั้นตามกฎหมาย


สินสมรส คืออะไร

สินสมรส คือ ทรัพย์สินใดๆ ที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวหรือทรัพย์สินที่ผู้ให้ระบุเจาะจงชัดเจนว่าให้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบุคคลนั้น รวมถึง ทรัพย์สินที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ให้ถือเป็นสินสมรสตามสัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) ในกรณีที่คู่สัญญามีการจัดทำสัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) ก่อน/ในขณะจดทะเบียนสมรส โดยที่ คู่สัญญาจะต้องตกลงแบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ส่วนละเท่าๆ กัน

ในกรณีที่มีการจัดทำสัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) ข้อตกลง/เงื่อนไขต่างๆ ที่จะตกลงกันในบันทึกข้อตกลงการหย่าก็ควรจะต้องสอดคล้องกับข้อสัญญาก่อนสมรสที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าด้วย (เช่น สินส่วนตัว สินสมรส) เว้นแต่ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยินยอมให้มีข้อตกลงที่แตกต่างไปจากสัญญาก่อนสมรส


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในบันทึกข้อตกลงการหย่า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ทะเบียนสมรส เช่น เขตที่มีการจดทะเบียน เลขที่ทะเบียน เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้องแก่นายทะเบียนผู้จดทะเบียนหย่า
  • ข้อตกลงสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับผลหลังจากการหย่า เช่น ผลเกี่ยวกับสินสมรส ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน (เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด หรือสิทธิในทรัพย์สินต่างๆ) ว่าจะให้ตกเป็นของใคร โดยรวมถึงหนี้สินต่างๆ ด้วย (เช่น หนี้บัตรเครดิต ค่างวดบ้านที่ซื้อร่วมกัน) ผู้ใดจะรับผิดชอบ เท่าใด และอย่างไร โดยที่ คู่สัญญาจะต้องตกลงแบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ส่วนละเท่าๆ กัน
  • สิทธิการเลี้ยงดูและสิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร ในกรณีที่คู่สมรสมีบุตรร่วมกัน เช่น ผู้มีสิทธิการเลี้ยงดูและสิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร โดยอาจตกลงให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเด็ดขาด หรือร่วมกันปกครองบุตรก็ได้ สิทธิการเยี่ยมเยือนบุตรหรือการนำบุตรไปจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (เช่น การที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะพาบุตรไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยไม่มีคู่สัญญาอีกฝ่าย)
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ในกรณีที่คู่สมรสมีบุตรร่วมกัน เช่น หน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูบุตรของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ค่าเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง บทลงโทษกรณีที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงการหย่า การชดเชยค่าเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง

ทั้งนี้ คู่สัญญาควรคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่อบุตรเป็นสำคัญ อนึ่ง บุตรที่บิดามารดายังคงต้องปกครองดูแลอยู่ ได้แก่

(ก) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น อายุต่ำกว่า 20 ปี) และ
(ข) บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

บันทึกข้อตกลงการหย่าฉบับนี้ถูกร่างขึ้นสำหรับการหย่าของคู่สามีภรรยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น มีทะเบียนสมรส) โดยเฉพาะ ในกรณีที่คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายอาจไม่สามารถจดทะเบียนหย่าได้และไม่จำเป็นต้องดำเนินการหย่า เนื่องจากไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกันจึงไม่มีสถานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายตั้งแต่ต้น

อย่างไรก็ดี คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสหากมีความประสงค์จะเลิกขาดจากกัน ก็อาจมีข้อพิจารณาบางประการที่อาจสามารถนำบันทึกข้อตกลงการหย่ามาเทียบเคียงกันได้ตามความเหมาะสม (เช่น การแบ่งทรัพย์สิน การแบ่ง/ร่วมกันรับผิดชอบหนี้สิน การเลี้ยงดูบุตรและค่าใช้จ่าย)

ก่อนหรือในระหว่างการเจรจาเงื่อนไขและข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลงการหย่าระหว่างคู่สัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรปรึกษาทนายความก่อนที่ตนจะลงนามผูกพันในบันทึกข้อตกลงการหย่า เนื่องจากด้วยอำนาจต่อรองที่ต่างกันระหว่างคู่สัญญาหรือความไม่รู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย อาจมีการยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม


บันทึกข้อตกลงการหย่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า ได้แก่

  • คู่สัญญา อันได้แก่ สามีและภรรยาซึ่งเป็นคู่สมรสที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
  • บุตรที่เกิดจากคู่สัญญา (ถ้ามี) ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการหย่า โดยเมื่อคู่สัญญาตกลงจะแยกทางกันแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกลงกันเกี่ยวกับสิทธิการเลี้ยงดูและสิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร (เช่น บุคคลผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร บุตรจะอยู่อาศัยกับฝ่ายใด ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร)

โดย คู่สัญญาควรคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่อบุตรเป็นสำคัญ อนึ่ง บุตรที่บิดามารดายังคงต้องปกครองดูแลอยู่ ได้แก่

(ก) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น อายุต่ำกว่า 20 ปี) และ
(ข) บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด


บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำบันทึกข้อตกลงการหย่า

คู่สามีภรรยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย (เช่น มีทะเบียนสมรส) เท่านั้น ที่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำบันทึกข้อตกลงการหย่าได้


ควรกำหนดระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงการหย่า อย่างไร

บันทึกข้อตกลงการหย่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ โดยการหย่าจะมีผลบังคับใช้สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคู่สัญญานำบันทึกข้อตกลงการหย่านั้นไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) เนื่องจากการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่านั้นตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาสามารถกำหนดวันที่คู่สัญญาจะร่วมกันไปดำเนินการจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) ไว้ในบันทึกข้อตกลงการหย่า อนึ่ง หากมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าแล้ว แต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่าตามที่ตกลงกัน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถฟ้องศาลให้บังคับให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นไปจดทะเบียนหย่าได้


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงการหย่าแล้ว

คู่สัญญาต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คนลงนามในบันทึกข้อตกลงการหย่าด้วย

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า เช่น รายการสินสมรสที่ตกลงแบ่งกันในบันทึกข้อตกลงการหย่า เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของสินสมรสที่อ้างอิงถึงในบันทึกข้อตกลงการหย่า (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)

คู่สัญญาจะต้องนำบันทึกข้อตกลงการหย่าไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียนด้วย (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) เนื่องจากการหย่าจะมีผลสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนการหย่านั้นตามกฎหมาย


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบบันทึกข้อตกลงการหย่าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า เช่น

  • รายการสินสมรสที่ตกลงแบ่งกันในบันทึกข้อตกลงการหย่า
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของสินสมรสที่อ้างอิงถึงในบันทึกข้อตกลงการหย่า (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)


บันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น คู่สมรสที่ต้องการจะหย่าขาดจากกันจะต้องนำบันทึกข้อตกลงการหย่าไปจดทะเบียนหย่ากับนายทะเบียน (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนหย่า) เนื่องจากการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่านั้นตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ในกรณีที่คู่สัญญาได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าแล้ว แต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่าตามที่ตกลงกัน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถฟ้องศาลให้บังคับให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นไปจดทะเบียนหย่าได้


บันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

จำเป็น ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามบันทึกข้อตกลงการหย่า (เช่น คู่สัญญา)


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงการหย่า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่ามี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม