สัญญาก่อนสมรส กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาก่อนสมรส

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 01/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด17 ถึง 26 หน้า
4.7 - 20 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 01/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 17 ถึง 26 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 20 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) หรือสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรส คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ คู่สัญญาฝ่ายชาย หรือว่าที่สามี และคู่สัญญาฝ่ายหญิง หรือว่าที่ภรรยา ซึ่งคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องจัดทำสัญญาขึ้นก่อนหรือพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสและจะต้องนำสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวไปจดทะเบียนแนบท้ายทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียน โดยมีข้อสัญญาตกลงเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด พันธบัตร หรือสิทธิในทรัพย์สินต่างๆ

โดยทั่วไป รูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของคู่สมรสนั้น หากไม่ได้มีการทำสัญญาตกลงกันว่าจะจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสอย่างไร ก็จะใช้บังคับไปตาม หมวด 4 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา กฎหมายครอบครัว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น

  • สินสมรส คู่สมรสต้องจัดการร่วมกันในกรณีที่สำคัญ และจะต้องถูกแบ่งให้คู่สมรสแต่ละฝ่ายเท่าๆ กันเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง
  • สินส่วนตัว คู่สมรสเจ้าของสินส่วนตัวนั้นสามารถจัดการทรัพย์สินนั้นได้เองลำพัง และจะยังคงเป็นของคู่สมรสฝ่ายนั้นแม้การสมรสสิ้นสุดลง

อย่างไรก็ดี กฎหมายได้เปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้ตามที่คู่สมรสนั้นเห็นสมควรและเหมาะสมกับบริบทของตน เช่น

  • การกำหนดขอบเขต แบ่งแยก และกำหนดลักษณะของสินสมรสและสินส่วนตัวของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
  • กำหนดอำนาจ ขอบเขต และเงื่อนไขของคู่สมรสในการเข้าทำนิติกรรมสำคัญบางประเภทเกี่ยวกับสินสมรส เช่น การขายหรือจำนองซึ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ การให้เช่าสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ การให้กู้ยืมเงิน
  • กำหนดทัณฑ์บนหรือการลงโทษ (เช่น ปรับเงิน) ในกรณีที่คู่สมรสปฏิบัติผิดหน้าที่สามีและ/หรือภรรยาตามกฎหมาย
  • การแบ่งหรือกันเงินรายได้ของคู่สมรสบางส่วนไว้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การออมเงินหรือลงทุนร่วมกัน วัตถุประสงค์และเงื่อนไขการใช้เงินกองกลางของคู่สมรส เงินเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในระหว่างสมรส (เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่าการศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ยารักษาโรค ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดประจำวัน) หรือการแบ่งไว้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบุตรจากการสมรสครั้งก่อน (ถ้ามี)

ทั้งนี้ เพื่อให้คู่สมรสได้สามารถ

  • วางแผนและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  • กำหนดสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าสินสมรสหรือสินส่วนตัว
  • แบ่ง แยก หรือสงวนทรัพย์สินบางชนิดหรือบางประเภท (เช่น ทรัพย์สมบัติตกทอดของวงศ์ตระกูล ทรัพย์สินของกิจการส่วนตัว) ให้เป็นสินส่วนตัว ซึ่งจะไม่ถูกแบ่งให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหากการสมรสสิ้นสุดลง (เช่น หย่าร้าง)
  • การบริหารจัดการ การใช้เงินระหว่างคู่สมรส

ในกรณีที่คู่สมรสต้องดำเนินการจัดการสินสมรสร่วมกันภายหลังจากที่ได้จัดทำสัญญาก่อนสมรสฉบับนี้แล้ว ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ หนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรม เพื่อแสดงเจตนาว่าคู่สมรสได้ให้ความยินยอมให้คู่สมรสของตนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำนิติกรรมตามที่กำหนดได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาก่อนสมรส ผู้จัดทำ รวมถึงคู่สัญญา (ได้แก่ ว่าที่สามีและว่าที่ภรรยา) ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียด เงื่อนไข และข้อตกลงสำคัญของสัญญาก่อนสมรสโดยละเอียด เช่น

    • รายละเอียดของคู่สัญญาเพื่อการอ้างอิงตัวบุคคลที่ถูกต้อง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เนื่องจากตัวบุคคลซึ่งเป็นว่าที่ สามีและภรรยา ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อนสมรสนี้
    • รายละเอียด ลักษณะ และประเภททรัพย์สินที่คู่สัญญามีความประสงค์จะให้เป็นสินส่วนตัว และรายละเอียด ลักษณะ และประเภททรัพย์สินที่คู่สัญญามีความประสงค์จะให้เป็นสินสมรส โดยหากมีรายการทรัพย์สินที่มีจำนวนมาก คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำ รายการทรัพย์สินเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาก็ได้
    • ขอบเขตอำนาจ หลักเกณฑ์ ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขในการจัดการสินสมรส ว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะจัดการสินสมรสอย่างไร เช่น แบ่งทรัพย์สินให้คู่สมรสสามารถจัดการได้โดยลำพังหรือต้องจัดการร่วมกัน
    • ข้อตกลงอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน (ถ้ามี) เช่น บทลงโทษกรณีที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา การจัดสรรเงินรายได้เป็นค่าเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบุตรจากการสมรสครั้งก่อน

คู่สัญญาควรเจรจาต่อรองเงื่อนไขและข้อตกลงการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ก่อนการจดทะเบียนสมรสระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้มีโอกาส พิจารณาทบทวน ไตร่ตรอง ทำความเข้าใจ ปรับเปลี่ยน แก้ไข หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขการจัดการสินสมรสที่จะตกลงในสัญญาก่อนสมรสนั้น รวมถึงได้มีโอกาสปรึกษากับทนายความถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวและตามกฎหมายได้อย่างอิสระเต็มที่

เมื่อคู่สัญญาได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขและข้อตกลงการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสจนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่พอใจแล้ว ให้คู่สัญญาจัดทำสัญญาก่อนสมรสเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงนามในสัญญาก่อนสมรสด้วย

คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาก่อนสมรสที่คู่สัญญาและพยานได้ลงนามเรียบร้อยแล้วฉบับดังกล่าว ไปจดทะเบียนพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนด้วย จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายครอบครัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวจะถือเป็นสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรสของคู่สมรสนั้น

คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 3 ฉบับ เพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนและใช้สำหรับให้แต่ละฝ่ายเก็บไว้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานได้ฝ่ายละ 1 ฉบับ

ข้อควรพิจารณา

ในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น คู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรสในระหว่างการสมรส เท่านั้น คู่สัญญาไม่สามารถทำความตกลงในเรื่องอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกฎหมายได้ เช่น หนี้สิน การใช้อำนาจปกครองบุตร หน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายและ/หรือบุตร รวมถึงข้อตกลงการแบ่งทรัพย์สินในกรณีหย่าร้าง

ในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น คู่สัญญาไม่สามารถตกลงข้อตกลงในสัญญาที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งสามารถไปร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณได้ โดยไม่มีความผิด
  • กำหนดตกลงให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับใช้กับเรื่องทรัพย์สิน

ในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น จะต้องจัดทำก่อนหรืออย่างน้อยขณะจดทะเบียนสมรส หากมีการทำสัญญาดังกล่าวในภายหลังการจดทะเบียนสมรส (เช่น ในขณะที่เป็นสามีภรรยากัน) ตามกฎหมายแล้วจะถือว่าเป็น สัญญาระหว่างสมรส ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน

ในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น คู่สมรสต้องเข้าใจและมั่นใจว่าสัญญาก่อนสมรสนั้นมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่ครอบคลุมในทุกๆ กรณีและถูกต้องตามความประสงค์ของคู่สัญญาแล้ว เนื่องจาก การแก้ไขหรือเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสหลังจากได้จดทะเบียนสมรสไปแล้วนั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล เท่านั้น

ในระหว่างการเจรจาเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาก่อนสมรสระหว่างคู่สัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรปรึกษาทนายความของตนก่อนที่ตนจะลงนามผูกพันในสัญญาก่อนสมรสฉบับดังกล่าว เนื่องจากด้วยอำนาจต่อรองที่ต่างกันระหว่างคู่สัญญาหรือความไม่รู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย อาจมีการยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ อันอาจจะมีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญาก่อนสมรสและอาจบังคับใช้ไม่ได้

นอกจากนี้ เช่นเดียวกับสัญญาทั่วไป สัญญาก่อนสมรสย่อมเกิดจากการแสดงเจตนาที่อิสระระหว่างคู่สัญญา หากการเข้าทำสัญญานั้นเกิดจากการถูกบังคับข่มขู่ ถูกหลอกลวงให้เข้าใจผิด กรณีเช่นนี้อาจมีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญาก่อนสมรส

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม