พินัยกรรม กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

พินัยกรรม

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 08/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด8 ถึง 12 หน้า
4.7 - 57 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 08/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 8 ถึง 12 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 57 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

พินัยกรรม เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาแสดงเจตจำนงสุดท้ายของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ งานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท และบุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ของบุคคลนั้นเมื่อบุคคลนั้นตาย ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดให้สิทธิหรือประโยชน์ใดๆ แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย เช่น การยกทรัพย์สินให้ หรือการปลดหนี้ให้ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตามพินัยกรรมนั้นจะเรียกบุคคลนั้นว่า ผู้รับพินัยกรรม

โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีพินัยกรรมทั้งหมด 5 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีวิธีการ แบบ และเงื่อนไขในการทำพินัยกรรมที่แตกกัน ดังต่อไปนี้

1. พินัยกรรมแบบธรรมดา โดยต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ขึ้นเองหรือจะให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ให้ก็ได้ โดยจะต้องลงวันที่ทำพินัยกรรม ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม และต้องมีพยานรับรองว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจริงอย่างน้อย 2 คน

2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ โดยต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเป็นผู้เขียนข้อความ เนื้อหา ข้อกำหนด คำสั่งที่ระบุในพินัยกรรมนั้นเองทั้งหมดเท่านั้น กล่าวคือต้องเป็นลายมือของเจ้าของพินัยกรรมเองเท่านั้น โดยจะต้องลงวันที่ทำพินัยกรรม ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม แต่ไม่จำเป็นต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความ เนื้อหา ข้อกำหนด คำสั่งที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ในพินัยกรรมต่อนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกันเพื่อให้ผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอจดบันทึกข้อความตามที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้ง โดยที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานต้องลงลายมือชื่อ และผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอต้องลงลายมือชื่อ ประทับตราตำแหน่ง และลงวันที่ทำพินัยกรรม และดำเนินการที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งพินัยกรรมประเภทนี้จะมีบุคคลที่สามซึ่งเป็นราชการได้แก่ ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้การทำลาย ปลอมแปลง หรือแก้ไขพินัยกรรมโดยบุคคลซึ่งไม่ประสงค์ดีหรือเพื่อให้ไม่เป็นตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นสามารถทำได้ยาก

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ โดยที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและนำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก และลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้นอีกครั้ง และนำซองที่ผลึกแล้วนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ พร้อมกับพยานอีกอย่างน้อย 2 คน

5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา โดยที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และพยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อจดบันทึกข้อความตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นและพยานทั้งสองก็ต้องลงลายมือชื่อด้วย อย่างไรก็ดี พินัยกรรมประเภทนี้จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ ในขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์พิเศษเท่านั้น เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด หรือสงคราม เป็นต้น

โดยที่ในการจัดทำพินัยกรรมตามแบบพินัยกรรมที่มีในเว็บไซต์นี้เป็นทำพินัยกรรมแบบธรรมดา

 

การนำไปใช้

คุณสมบัติและความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมในขณะเวลาที่ทำพินัยกรรมถือเป็นสาระสำคัญของพินัยกรรม ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องระบุวันที่ที่ทำพินัยกรรมนั้นก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าในขณะทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ มีสติสัมปชัญญะ และมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรมนั้นดีแล้ว เช่น

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปีบริบูรณ์ ในขณะที่ทำพินัยกรรม
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตในขณะที่ทำพินัยกรรม
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถในขณะที่ทำพินัยกรรม

โดยผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดผู้รับพินัยกรรม คือบุคคลที่ได้รับสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ตามที่ระบุหรือกำหนดไว้ในพินัยกรรมโดยที่

  • ผู้รับพินัยกรรมจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือมูลนิธิ
  • ในการระบุตัวผู้รับพินัยกรรมในพินัยกรรม จะต้องระบุตัวตนของผู้รับพินัยกรรมให้ชัดเจนที่สามารถระบุตัวตนของผู้รับพินัยกรรมได้ โดยสามารถ ระบุตัวตนที่แน่นแน่นอน เช่น การระบุชื่อ นามสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น หรือการระบุคุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้รับพินัยกรรมก็ได้ เช่น บุตรโดยสายเลือดของผู้ทำพินัยกรรมทุกคน
  • ผู้รับพินัยกรรมจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมนั้น
  • ในกรณีที่ ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนหรือพิมพ์พินัยกรรมเอง ผู้รับพินัยกรรมจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมนั้น

มรดกของผู้ทำพินัยกรรม คือทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สินต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งอาจรวมถึงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ณ ขณะทำพินัยกรรมหรือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่ไม่ใช่สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรม โดยต้องระบุใช้ชัดเจนว่าหมายถึงสิ่งใด ตัวอย่างเช่น

  • ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด เงินในบัญชีธนารคาร ตราสาร ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำพินัยกรรม
  • สิทธิ เช่น สิทธิในหนี้เงินกู้ที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นเจ้าหนี้ สิทธิในค่าสินไหมทดแทนค้างชำระต่างๆ ที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องต่างๆ ตามกฎหมายและ/หรือตามสัญญาที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นคู่สัญญา
  • หน้าที่ ความรับผิด เช่น หน้าที่ที่ต้องโอนทรัพย์สินให้ธนาคารตามสัญญาจำนอง หนี้สินที่ผู้ทำพินัยกรรมก่อขึ้น

ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนด ผู้จัดการมรดก ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการมรดกของผู้ทำพินัยกรรมไปในแนวทางหรือไปในลักษณะตามที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่

  • ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดผู้จัดการมรดกโดยระบุตัวตนที่แน่นอน เช่น ระบุชื่อและนามสกุล หรืออาจกำหนดผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกภายหลังก็ได้
  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนเดี่ยว หรือหลายคนก็ได้
  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดอำนาจและเงื่อนไขการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน เช่น กำหนดให้ผู้จัดการมรดกต้องร่วมกันจัดการมรดกโดยใช้เสียงข้างมาก หรือกำหนดให้ผู้จัดการมรดกสามารถจัดการมรดกได้โดยลำพังแยกกันตามแต่ละหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม
  • ผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ และจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ และจะต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดไว้ในพินัยกรรมได้ด้วยว่าในการเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกมีสิทธิได้รับบำเหน็จ หรือค่าตอบแทนหรือไม่ เท่าใด และอย่างไร
  • ในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดได้ว่าผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการมรดกด้วยตนเองเท่านั้น หรือสามารถแต่งตั้งตัวแทนซึ่งเป็นบุคคลอื่นดำเนินการแทนผู้จัดการมรดกได้
  • โดยทั่วไป ผู้จัดการมรดกจะต้องไม่กระทำการใดๆ หรือทำนิติกรรมใดๆ ในนามของกองมรดกของผู้ทำพินัยกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือมีส่วนได้เสียกับตัวผู้จัดการมรดกเอง (Conflict of Interest) แต่อย่างไรก็ดี หากในพินัยกรรมระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ผู้จัดการมรดกจัดการมรดกไปในลักษณะดังกล่าว หรือมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่ายอมรับให้ผู้จัดการมรดกสามารถดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้กับนิติกรรมบางอย่าง ผู้จัดการมรดก ก็สามารถทำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบ

ในการจัดการมรดก ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดให้มีการจัดการมรดกไปในแนวทางหรือลักษณะตามเจตนารมณ์และความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกกฎหมายมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น

  • การกำหนดให้นำทรัพย์สินไปก่อตั้งมูลนิธิ กำหนดบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการตั้งและดำเนินการเกี่ยวกับมูลนิธิ
  • การให้ทรัพย์สินแก่ผู้รับพินัยกรรม โดยอาจให้แบบทั่วไป กล่าวคือ ให้แบ่งตามสัดส่วนจากกองมรดกของผู้รับพินัยกรรมแต่ละราย หรือ อาจให้แบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ เช่น ทรัพย์สินชิ้นหนึ่ง ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับพินัยกรรมคนหนึ่ง และทรัพย์สินอีกชั้นหนึ่งยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง
  • การกำหนดให้นำทรัพย์สินเฉพาะชิ้นใดชิ้นหนึ่งไปชำระหนี้หรือกำหนดลำดับการนำทรัพย์สินไปชำระหนี้
  • การปลดหนี้ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิในฐานะเจ้าหนี้อยู่ โดยระบุชื่อลูกหนี้ และจำนวนเงินที่ต้องการจะปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายนั้น
  • การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นสิทธิของผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุจำนวนเงิน และขอบเขตของสิทธิเรียกร้องที่ต้องการจะโอนและผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้น
  • การกำหนด วิธีการ ลำดับ และระยะเวลาในการจัดการและการแบ่งมรดก รวมถึงการจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว

นอกจากนี้ ในการทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมยังอาจกำหนดการในเรื่องอื่นๆ ได้อีก เช่น

  • เงื่อนไขบังคับก่อนของพินัยกรรม กล่าวคือ เหตุการณ์/เงื่อนไขใดเหตุการณ์/เงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนด หากเกิดเหตุการณ์/เงื่อนไขดังกล่าวขึ้น พินัยกรรมดังกล่าวจึงจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
  • เงื่อนไขบังคับหลังของพินัยกรรม กล่าวคือเหตุการณ์/เงื่อนไขใดเหตุการณ์/เงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนด หากเกิดเหตุการณ์/เงื่อนไขดังกล่าวขึ้น พินัยกรรมดังกล่าวจึงจะไม่มีผลบังคับใช้
  • การห้ามผู้รับพินัยกรรมโอนมรดกที่ผู้รับพินัยกรรมได้รับ โดยจะต้องกำหนดผู้รับทรัพย์สินเด็ดขาดเอาไว้ด้วย ในกรณีผู้รับประโยชน์ผิดข้อกำหนดห้ามโอนนั้น โดยสามารถกำหนดระยะเวลาการห้ามโอนได้ตลอดชีวิตของผู้รับโอนหรือจะกำหนดระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งก็ได้แต่ต้องไม่เกิน 30 ปี โดยการห้ามโอนดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้กับทรัพย์มีทะเบียน เช่น สังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สิทธิ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เท่านั้น และจะต้องจดทะเบียนการห้ามโอนนั้นกับพนักงานเจ้าหน้าที่อีกด้วย
  • การตั้งผู้ปกครองบุคคลยังไม่บรรลุนิติภาวะ เช่น บุตร ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นบิดาหรือมารดา การกำหนดบำเหน็จผู้ปกครองว่าผู้ปกครองมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือไม่ จำนวนเท่าใด และอย่างไร
  • การตัดทายาทโดยธรรมไม่ให้รับมรดก
  • การให้อภัย ในกรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำการที่ตามกฎหมายระบุให้ไม่มีสิทธิได้รับมรดก ซึ่งจะทำให้บุคคลดังกล่าวกลับมามีสิทธิได้รับมรดกอีกครั้ง
  • ในกรณีที่มีพินัยกรรมหลายฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมควรกำหนดผลของพินัยกรรมฉบับก่อนหน้าด้วยว่า ต้องการให้พินัยกรรมฉบับที่ทำล่าสุดยกเลิกพินัยกรรมฉบับก่อนทั้งหมดและใช้ตามข้อความของพินัยกรรมฉบับปัจจุบัน หรือยังคงให้พินัยกรรมฉบับก่อนมีผลบังคับใช้ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับพินัยกรรมฉบับนี้
  • ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการมอบทรัพย์สินให้ ผู้เยาว์ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลวิกลจริต แต่ไม่ต้องการให้ ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ของบุคคลนั้น ตามลำดับ ดูแลและจัดการทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมอาจตั้งผู้ปกครองทรัพย์ในการดูแลทรัพย์สินดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่บุคคลนั้นยังเป็นผู้เยาว์ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลวิกลจริต แล้วแต่กรณี โดยที่หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สิทธิ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะต้องจดทะเบียนการตั้งผู้ปกครองทรัพย์กับพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

การทำพินัยกรรมแบบธรรมดา

  • การทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงนามในพินัยกรรม
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่ ทำพินัยกรรม
  • ผู้ทำพินัยกรรมอาจจัดทำพินัยกรรมเป็นหลายฉบับที่มีข้อความเหมือนกันก็ได้ โดยหากมีการจัดทำพินัยกรรมหลายฉบับที่ข้อความเหมือนกัน ก็ควรระบุจำนวนฉบับที่ทำขึ้นและชื่อสกุลผู้เก็บรักษาพินัยกรรมแต่ละฉบับนั้นด้วย
  • ในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา นอกจากจะให้ผู้ทำพินัยกรรมลงนามในพินัยกรรมแล้วก็ต้องให้พยานอย่างน้อย 2 คนลงนามรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมด้วย โดยที่พยานไม่จำเป็นต้องรับทราบข้อความในพินัยกรรม เพียงแต่รับรองว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงนามในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวจริงๆ ทั้งนี้ ควรแนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อ นามสกุลและที่อยู่ของพยาน พร้อมให้พยานเจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาด้วย
  • ในกรณีที่ ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ เขียนหรือพิมพ์พินัยกรรมเอง จะต้องระบุ ชื่อสกุล และให้ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ลงนามในพินัยกรรมนั้นด้วย ซึ่งควรแนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อ นามสกุลและที่อยู่ของผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ พร้อมให้ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาด้วย

เนื่องจากพยานเป็นสาระสำคัญของการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา โดยที่พยานในพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • พยานต้องบรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ลงนามรับรอง
  • พยานต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • พยานต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง
  • พยานห้ามเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากพินัยกรรม เป็นการกำหนดข้อความ ความประสงค์ เจตจำนงของผู้ที่ตายไปแล้ว อีกทั้งยังเกี่ยวกับทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ ดังนี้ กฎหมายเกี่ยวกับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมไว้อย่างละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อันมิพึงประสงค์ เช่น

  • พินัยกรรมจะมีผลบังคับได้ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อได้ทำตามแบบและวิธีที่กำหนดไว้เท่านั้น พินัยกรรมจึงจะสามารถมีผลบังคับใช้ได้ โดยแบบของพินัยกรรมที่บุคคลทั่วไปสามารถทำได้เองโดยที่ไม่ต้องเกี่ยวของกับหน่วยงานราชการ ได้แก่ พินัยกรรมแบบธรรมดา และพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ซึ่งแบบและวิธีการทำพินัยกรรมดังกล่าวมีแบบและวิธีตามที่ได้อธิบายข้างต้น
  • การห้ามมีข้อกำหนดในลักษณะ เช่น การกำหนดให้ผู้รับพินัยกรรมต้องจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้รับตามพินัยกรรมนั้นให้แก่บุคคลอื่น หรือการกำหนดให้ผู้รับพินัยกรรมต้องจำหน่ายทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลภายนอกหรือให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้น
  • การกำหนดคุณสมบัติและข้อจำกัดของผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับพินัยกรรม และพยาน

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม