บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 17/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด7 ถึง 10 หน้า
4.7 - 5 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 17/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 7 ถึง 10 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 5 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรหรือบันทึกข้อตกลงแบ่งอำนาจปกครองบุตร เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาได้แก่ บิดาของบุตรเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งและมารดาของบุตรเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรขึ้นเพื่อตกลงกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจปกครองบุตรของคู่สัญญาไม่ว่าในกรณี

  • จากเดิมคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันเปลี่ยนเป็นบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ
  • จากเดิม บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เปลี่ยนเป็นคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน

โดยที่ อำนาจปกครองบุตร เช่น การปกครองดูแล การเลี้ยงดู การเลือกนับถือศาสนาหรือการศึกษา การกำหนดที่อยู่ การอบรมสั่งสอน ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน การให้ทำการงานตามสมควร เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

ในกรณีที่ คู่สัญญาได้จดทะเบียนสมรสและกำลังจะดำเนินการจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาควรเลือกใช้ บันทึกข้อตกลงการหย่าเพื่อแนบท้ายทะเบียนหย่าในขณะจดทะเบียนหย่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองเช่นเดียวกับในกรณีอื่น นอกจากนี้ คู่สัญญายังสามารถตกลงข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการหย่าได้ เช่น การแบ่งสินสมรส

โดยทั่วไป ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน อย่างไรก็ดี ในบางกรณี อาจแตกต่างไปโดยพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน ยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • บิดาและมารดาได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า ในขณะจดทะเบียนหย่าตกลงกำหนดผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรเป็นอย่างอื่น กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าที่จดทะเบียนไว้ดังกล่าว
  • ศาลมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง (เช่น บิดาหรือมารดาประพฤติตนไม่สมควร) ไม่ว่าคู่สัญญาจะจดทะเบียนการหย่าแล้วหรือไม่ก็ตาม กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามคำสั่งศาล

(ข) กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ มารดาของบุตรแต่เพียงผู้เดียว ยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรในภายหลัง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสภายหลัง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • ศาลมีคำสั่งให้รับเป็นบุตร กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • ศาลมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามคำสั่งศาล

การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง (เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร) ไม่สามารถตกลงเปลี่ยนแปลงกันด้วยบันทึกข้อตกลงและ/หรือสัญญาเพียงลำพัง (ยกเว้น ในกรณีที่บิดาและมารดาได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่าในขณะจดทะเบียนหย่า) บันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงแสดงเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาเบื้องต้น คู่สัญญาจำเป็นต้องให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง โดยคู่สัญญาจะต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งดังกล่าวพร้อมด้วยแสดงเหตุผลและความจำเป็น

อย่างไรก็ดี ศาลอาจมีดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน เช่น ความผาสุก โอกาสในด้านการศึกษา ความเป็นอยู่ สังคม สุขภาพ จิตใจ ร่างกาย ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุตร

การนำไปใช้

ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร ผู้จัดทำ รวมถึงคู่สัญญาควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในบันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ และที่อยู่ของบิดาและมารดาของบุตร
  • บุตร เช่น ชื่อของบุตร และสถานะของบุตรที่อยู่ในความปกครอง โดยบุตรที่บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องปกครองดูแล ได้แก่ (ก) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี) และ (ข) บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด
  • ข้อมูลอ้างอิงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรปัจจุบัน เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่าและบันทึกข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองในการจดทะเบียนรับรองบุตร คำสั่งศาล (ถ้ามี)
  • เหตุผลและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง เช่น พฤติกรรมของคู่สัญญา สถานะทางการเงินของคู่สัญญา ความเป็นอยู่ของคู่สัญญาที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าบุตรจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองดังกล่าว
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจปกครองที่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ให้บิดาหรือมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือบิดาและมารดาร่วมกันปกครองบุตร เงื่อนไขการปกครอง/เลี้ยงดูบุตรร่วมกัน รวมถึงสิทธิเยี่ยมเยือนบุตร
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ถ้ามี) เช่น จำนวนเงิน รูปแบบ วิธีการ และระยะเวลาการจ่าย

เมื่อคู่สัญญาตรวจสอบและยอมรับเงื่อนไขต่างๆ แล้ว ให้จัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงพยาน (ถ้ามี)

คู่สัญญาจะต้องนำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรนั้นไปยื่นคำร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่คู่สัญญาตกลงกันในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรฉบับดังกล่าว ข้อตกลงการแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจึงจะสามารถบังคับใช้ได้

เมื่อศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองแล้ว คู่สัญญา โดยเฉพาะผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรควรจัดเก็บต้นฉบับคำสั่งศาลและบันทึกข้อตกลงฉบับที่ศาลมีคำสั่งตามที่คู่สัญญาตกลงกันนั้นเอาไว้กับตน รวมถึงทำสำเนาคำสั่งศาลและบันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าวเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่าย และ/หรือผู้เกี่ยวข้องเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้

ข้อพิจารณา

ข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ศาลย่อมมีอำนาจและมีดุลยพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน และเช่นเดียวกับข้อตกลงเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ศาลย่อมมีดุลพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นอย่างอื่นได้ โดยพิจารณาจากอัตภาพการอุปการะเลี้ยงดู ความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์ในแต่ละกรณี

ในกรณีที่คู่สมรสเพศเดียวกันได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงดูร่วมกัน และต้องการจะเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรมดังกล่าวให้เป็นอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง เนื่องจาก กฎหมายกำหนดให้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม ได้แก่ ผู้รับบุตรธรรม ซึ่งจำกัดไว้เพียงคนเดียว เท่านั้น เว้นแต่ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น ประกอบด้วย การจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน (Same-sex Marriage) ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะ คู่รักดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย ดังนั้น คู่รักดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (เช่น การเลิกรับบุตรบุญธรรม การขอรับบุตรบุญธรรมใหม่)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม