หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 16/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
4.8 - 30 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 16/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.8 - 30 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางหรือหนังสือยินยอมผู้ปกครองให้ผู้เยาว์เดินทาง เป็นหนังสือซึ่งออกโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น เพื่อแสดงความยินยอมและรับทราบให้ผู้เยาว์นั้นเดินทางไปกับผู้ปกครองอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียวในกรณีที่มีผู้ปกครองหลายคน ไปกับบุคคลอื่น หรือเดินทางเพียงลำพังได้

สำหรับประเทศไทย ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์อาจไม่ใช่ผู้เยาว์ก็ได้ ในกรณีที่ได้สมรสตามเงื่อนไขของกฎหมายบุคคลและกฎหมายครอบครัวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยทั่วไปบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น ได้แก่ บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์นั้นร่วมกันปกครอง อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์อาจไม่ใช่บุคคลสองคนนี้ก็ได้ เช่น

  • บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียวในกรณีที่บิดาหรือมารดาอีกคนหนึ่งนั้นไม่สามารถหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถดูแล ปกครองบุตรของตนได้ เช่น เสียชีวิต อาจหายสาบสูญ ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้-เสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวเพราะมีจิตฟั่นเฟือง ศาลมีคำสั่งถอนอำนาจปกครองบิดาหรือมารดา
  • มารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่บิดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาตามกฎหมาย ดำเนินการรับรองบุตร หรือมีคำสั่งศาลรับรอง
  • บุคคลอื่นๆ นอกจากบิดาและมารดาโดยสายเลือด เช่น บุคคลซึ่งศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองตามเงื่อนไขของกฎหมาย ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่รับผู้เยาว์นั้นเป็นบุตรบุญธรรม พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงในกรณีที่บิดาหรือมารดานั้นได้จดทะเบียนสมรสใหม่

โดยการเดินทางอาจเป็นการเดินทางภายในประเทศ เช่น การไปทัศนศึกษากับโรงเรียน หรือการเดินทางระหว่างประเทศ เช่น การไปศึกษาต่างประเทศช่วงปิดเทอม

ทั้งนี้ การจัดทำหนังสือยินยอมดังกล่าวก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้เยาว์และเพื่อเป็นหลักฐานแสดงแก่ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินในกรณีที่มีข้อสงสัยในการเดินทางของผู้เยาว์นั้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1980 ว่าด้วยการลักพาเด็กข้ามชาติ (Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction) เนื่องจากด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศนั้นๆ อาจมีมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดและเข้มงวดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเดินทางของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้เดินทางไปกับผู้ปกครองของตน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการลักพาตัวเด็กหรือการค้ามนุษย์


การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง ผู้จัดทำควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ระบุ รายละเอียดอ้างอิงตัวตนของผู้เยาว์ที่จะเดินทางและของผู้ปกครองของผู้เยาว์ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีเดินทางระหว่างประเทศ
  • ระบุ รายละเอียดการเดินทางของผู้เยาว์นั้น เช่น จุดประสงค์ของการเดินทาง สถานที่หรือประเทศปลายทาง ระยะเวลาการเดินทาง ผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์นั้น (ถ้ามี)
  • ระบุ ข้อมูลหรือสถานะทางการแพทย์ของผู้เยาว์ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา โรคประจำตัว
  • ระบุ ข้อมูลการติดต่อของผู้ปกครองเพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
  • แนบเอกสารประกอบ เช่น สำเนาสูติบัตรของผู้เยาว์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ปกครอง และในกรณีที่ผู้ปกครองไม่ใช่บิดาและมารดาควรแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นด้วย เช่น ใบมรณะบัตรของบิดาหรือมารดา คำสั่งศาลถอนอำนาจปกครอง ใบสำคัญการหย่าและข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ปกครองและพยาน (ถ้ามี) โดยจำนวนที่จัดทำอาจสอดคล้องกับจำนวนผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้น
  • ให้ผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและดูแลผู้เยาว์นั้นยึดถือหนังสือที่จัดทำนั้นไว้อ้างอิงกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างการเดินทาง
  • นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้จัดทำควรตรวจสอบวิธี หลักเกณฑ์ และเอกสารที่จำเป็นกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทางนั้นว่าต้องดำเนินการอื่นกับหนังสือยินยอมดังกล่าวเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละสายการบิน เช่น การรับรองลายมือชื่อในหนังสือยินยอมโดยสำนักงานเขตหรือโดยทนายความ (โนตารีพับลิค) การแปลเป็นภาษาต่างประเทศและรับรองโดยสถานทูตหรือกงสุลไทยและ/หรือโดยสถานทูตหรือกงสุลของประเทศปลายทาง อนึ่ง อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำแนะนำการให้ความยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศของกรมการกงสุล


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม