บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 17/07/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด7 ถึง 10 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 17/07/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 7 ถึง 10 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรคืออะไร

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร หรือบันทึกข้อตกลงแบ่งอำนาจปกครองบุตร (Child Custody Agreement) คือ สัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ บิดาและมารดาของบุตร โดยที่คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรขึ้นเพื่อตกลงกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจปกครองบุตรของคู่สัญญา เช่น

  • จากเดิมคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันเปลี่ยนเป็นบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ
  • จากเดิมบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร เปลี่ยนเป็นคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน

การตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรมีลักษณะใดบ้าง

การตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามช่วงเวลา ดังต่อไปนี้

  • การตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรในขณะจดทะเบียนหย่า ในกรณีที่คู่สัญญาได้จดทะเบียนสมรสและกำลังจะดำเนินการจดทะเบียนหย่า ในกรณีเช่นนี้ คู่สัญญาอาจกำหนดข้อตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงการหย่าเพื่อแนบท้ายทะเบียนหย่าในขณะจดทะเบียนหย่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องดำเนินการให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองเช่นเดียวกับในกรณีอื่น นอกจากนี้ คู่สัญญายังสามารถกำหนดข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้องกับการหย่าได้ (เช่น การแบ่งสินสมรส)
  • การตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรในกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากการตกลงกันในขณะจดทะเบียนหย่า เช่น ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรในระหว่างสมรส หรือในกรณีที่คู่สัญญาตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรภายหลังจากที่จดทะเบียนหย่าแล้ว ในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอาจจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรฉบับนี้เพื่อเป็นการแสดงเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาเบื้องต้นและคู่สัญญาจำเป็นต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองพร้อมด้วยแสดงเหตุผลและความจำเป็น

ข้อสำคัญ: บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรฉบับนี้เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงแสดงเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาเบื้องต้น คู่สัญญาจำเป็นต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองพร้อมด้วยแสดงเหตุผลและความจำเป็น อย่างไรก็ดี ศาลอาจมีดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน (เช่น ความผาสุก โอกาสในด้านการศึกษา ความเป็นอยู่ สังคม สุขภาพ จิตใจ ร่างกาย ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุตร)


จำเป็นต้องทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร หรือไม่

ไม่จำเป็น ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการตกลงแบ่งหรือเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/อำนาจปกครองบุตรในกรณีอื่นๆ นอกเหนือจากการตกลงกันในขณะจดทะเบียนหย่า คู่สัญญาย่อมสามารถดำเนินการร่วมกันร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรได้โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อเป็นการแสดงเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาในเบื้องต้นและแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการขอเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรประกอบคำร้องขอต่อศาล

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรคืออะไร

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร คือ สิทธิ อำนาจ และหน้าที่ที่บุคคลมีต่อบุตรในการปกครองดูแลบุตร เช่น

  • การเลี้ยงดู
  • การเลือกนับถือศาสนา
  • การเลือกการศึกษา
  • การกำหนดที่อยู่
  • การอบรมสั่งสอน
  • การทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
  • การให้ทำการงานตามสมควร
  • การเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น
  • การจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

โดย บุตรที่บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องปกครองดูแล ได้แก่

  • บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี)
  • บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด

สิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรตามปกติเป็นของใคร

โดยทั่วไป ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร (เช่น ผู้มีสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร) คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน อย่างไรก็ดี ในบางกรณี อาจแตกต่างไปโดยสามารถพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน ยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • บิดาและมารดาได้จัดทำบันทึกข้อตกลงการหย่า ในขณะจดทะเบียนหย่าตกลงกำหนดผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรเป็นอย่างอื่น กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าที่จดทะเบียนไว้ดังกล่าว
  • ศาลมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง (เช่น บิดาหรือมารดาประพฤติตนไม่สมควร) ไม่ว่าคู่สัญญาจะจดทะเบียนการหย่าแล้วหรือไม่ก็ตาม กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามคำสั่งศาล

(ข) กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ มารดาของบุตรแต่เพียงผู้เดียว ยกเว้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรในภายหลัง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสภายหลัง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • ศาลมีคำสั่งให้รับเป็นบุตร กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คือ บิดาและมารดาของบุตรร่วมกัน
  • ศาลมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีเช่นนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรจะเป็นไปตามคำสั่งศาล

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ และที่อยู่ของบิดาและมารดาของบุตร
  • บุตร เช่น ชื่อของบุตร และสถานะของบุตรที่อยู่ในความปกครอง โดยบุตรที่บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องปกครองดูแล ได้แก่ (ก) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี) และ (ข) บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด
  • ข้อมูลอ้างอิงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรปัจจุบัน เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่าและบันทึกข้อตกลงการหย่า หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองในการจดทะเบียนรับรองบุตร คำสั่งศาล (ถ้ามี)
  • เหตุผลและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง เช่น พฤติกรรมของคู่สัญญา สถานะทางการเงินของคู่สัญญา ความเป็นอยู่ของคู่สัญญาที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าบุตรจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองดังกล่าว
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจปกครองที่คู่สัญญาตกลงกันให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ให้บิดาหรือมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือบิดาและมารดาร่วมกันปกครองบุตร เงื่อนไขการปกครอง/เลี้ยงดูบุตรร่วมกัน รวมถึงสิทธิเยี่ยมเยือนบุตร

ข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครอง ศาลย่อมมีอำนาจและมีดุลยพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน

  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ถ้ามี) เช่น จำนวนเงิน รูปแบบ วิธีการ และระยะเวลาการจ่าย

ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ศาลย่อมมีดุลพินิจมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นอย่างอื่นได้ โดยพิจารณาจากอัตภาพการอุปการะเลี้ยงดู ความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์ในแต่ละกรณี


ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

คู่สัญญาไม่ควรรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดูบุตร/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุตร โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น

  • ความผาสุก
  • โอกาสในด้านการศึกษา
  • ความเป็นอยู่
  • สังคม
  • สุขภาพ
  • จิตใจ
  • ร่างกาย
  • ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ

ทั้งนี้ เนื่องจาก บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงแสดงเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาเบื้องต้น คู่สัญญาจำเป็นต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองพร้อมด้วยแสดงเหตุผลและความจำเป็น และศาลอาจมีดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร ได้แก่

  • คู่สัญญา อันได้แก่ บิดาและมารดาซึ่งมีบุตรร่วมกัน
  • บุตรที่เกิดจากคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสิทธิการเลี้ยงดู/สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตร (เช่น บุคคลผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร บุตรจะอยู่อาศัยกับฝ่ายใด ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร)

อนึ่ง บุตรที่บิดามารดายังคงต้องปกครองดูแลอยู่ ได้แก่

  • (ก) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เช่น อายุต่ำกว่า 20 ปี) และ
  • (ข) บุตรที่ทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ (เช่น ผู้พิการทางร่างกายหรือสมอง) ไม่ว่าจะอายุเท่าใด

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร
  • คู่สัญญาจะต้องนำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรนั้นไปยื่นคำร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่คู่สัญญาตกลงกันในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรฉบับดังกล่าว ข้อตกลงการแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจึงจะสามารถบังคับใช้ได้
  • เมื่อศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองแล้ว คู่สัญญา โดยเฉพาะผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรควรจัดเก็บต้นฉบับคำสั่งศาลและบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรฉบับที่ศาลมีคำสั่งตามที่คู่สัญญาตกลงกันนั้นเอาไว้กับตน รวมถึงทำสำเนาคำสั่งศาลและบันทึกข้อตกลงฉบับดังกล่าวเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่าย และ/หรือผู้เกี่ยวข้องเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้

ข้อสำคัญ: ศาลอาจมีดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน (เช่น ความผาสุก โอกาสในด้านการศึกษา ความเป็นอยู่ สังคม สุขภาพ จิตใจ ร่างกาย ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุตร)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรเพื่อแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการร้องขอเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองต่อศาล เช่น

  • หลักฐานเกี่ยวกับความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร (เช่น รายได้ อาชีพ ความมั่นคง)
  • หลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของคู่สัญญา (เช่น ประพฤติตนไม่สมควร ติดสุรา การพนัน ไม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ไม่ช่วยเลี้ยงดูบุตร)

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจำเป็นจะต้องดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาจะต้องนำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรไปยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่คู่สัญญาตกลงกันในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร ข้อตกลงการแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจึงจะสามารถบังคับใช้ได้

อย่างไรก็ดี ศาลอาจมีดุลยพินิจสั่งเป็นอย่างอื่นได้ หากศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์และหลักฐานแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุตรมากกว่าที่คู่สัญญาตกลงกัน (เช่น ความผาสุก โอกาสในด้านการศึกษา ความเป็นอยู่ สังคม สุขภาพ จิตใจ ร่างกาย ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุตร)

บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้บันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร (เช่น คู่สัญญา)

คู่สมรสเพศเดียวกันต้องการแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่คู่สมรสเพศเดียวกันได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงดูร่วมกัน และต้องการจะเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรมดังกล่าวให้เป็นอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม ได้แก่ ผู้รับบุตรธรรม ซึ่งจำกัดไว้เพียงคนเดียว เท่านั้น เว้นแต่ คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน (Same-sex Marriage) ยังไม่มีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์ คู่รักดังกล่าวจึงยังไม่ถือเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย ดังนั้น คู่รักดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม (เช่น การเลิกรับบุตรบุญธรรม การขอรับบุตรบุญธรรมใหม่)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงแบ่งสิทธิการเลี้ยงดูบุตรมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม