สัญญาก่อนสมรส กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาก่อนสมรส

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 01/04/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด17 ถึง 26 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 01/04/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 17 ถึง 26 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาก่อนสมรสคืออะไร

สัญญาก่อนสมรส สัญญาก่อนแต่งงาน (Prenuptial Agreement) หรือสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรส คือ สัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ คู่สัญญาฝ่ายชายหรือว่าที่สามี และคู่สัญญาฝ่ายหญิงหรือว่าที่ภรรยา ซึ่งคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายกำหนดตกลงเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส (เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด พันธบัตร หรือสิทธิในทรัพย์สินต่างๆ)

โดยสัญญาก่อนสมรสย่อมเป็นประโยชน์แก่คู่สมรสในกรณีต่างๆ เช่น

  • คู่สมรสสามารถวางแผนและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  • คู่สมรสสามารถกำหนดสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าสินสมรสหรือสินส่วนตัว
  • คู่สมรสสามารถแบ่ง แยก หรือสงวนทรัพย์สินบางชนิดหรือบางประเภท (เช่น ทรัพย์สมบัติตกทอดของวงศ์ตระกูล ทรัพย์สินของกิจการส่วนตัว) ให้เป็นสินส่วนตัว ซึ่งจะไม่ถูกแบ่งให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหากการสมรสสิ้นสุดลง (เช่น หย่าร้าง)
  • คู่สมรสสามารถบริหารจัดการการใช้เงินระหว่างคู่สมรส

ในกรณีที่คู่สมรสต้องดำเนินการจัดการสินสมรสร่วมกันภายหลังจากที่ได้จัดทำสัญญาก่อนสมรสฉบับนี้แล้ว ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้หนังสือยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมเพื่อแสดงเจตนาว่าคู่สมรสได้ให้ความยินยอมให้คู่สมรสของตนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำนิติกรรมตามที่กำหนด


สัญญาก่อนสมรสและสัญญาระหว่างสมรสแตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาก่อนสมรสและสัญญาระหว่างสมรสจะเป็นสัญญาที่กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเหมือนกัน แต่สัญญาก่อนสมรสและสัญญาระหว่างสมรสมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะความสมบูรณ์ในการบังคับใช้กับคู่สัญญา โดยที่

  • สัญญาก่อนสมรสจะต้องจัดทำก่อนหรืออย่างน้อยขณะจดทะเบียนสมรส หากมีการทำสัญญากำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสในภายหลังการจดทะเบียนสมรส (เช่น ในขณะที่เป็นสามีภรรยากันแล้ว) ตามกฎหมายแล้วจะถือว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรส
  • คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ในขณะที่สัญญาก่อนสมรสจะผูกพันคู่สัญญาอย่างสมบูรณ์ การแก้ไขหรือเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสหลังจากได้จดทะเบียนสมรสไปแล้วจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล เท่านั้น

จำเป็นต้องทำสัญญาก่อนสมรส หรือไม่

จำเป็น ในกรณีที่คู่สมรสต้องการตกลงกำหนดรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสตามที่คู่สมรสเห็นสมควรและเหมาะสมกับบริบทของตนซึ่งแตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนด เช่น

  • การกำหนดขอบเขต แบ่งแยก และกำหนดลักษณะของสินสมรสและสินส่วนตัวของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
  • กำหนดอำนาจ ขอบเขต และเงื่อนไขของคู่สมรสในการเข้าทำนิติกรรมสำคัญบางประเภทเกี่ยวกับสินสมรส เช่น การขายหรือจำนองซึ่งสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ การให้เช่าสินสมรสที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ การให้กู้ยืมเงิน
  • กำหนดทัณฑ์บนหรือการลงโทษ (เช่น ปรับเงิน) ในกรณีที่คู่สมรสปฏิบัติผิดหน้าที่สามีและ/หรือภรรยาตามกฎหมาย
  • การแบ่งหรือกันเงินรายได้ของคู่สมรสบางส่วนไว้ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การออมเงินหรือลงทุนร่วมกัน วัตถุประสงค์และเงื่อนไขการใช้เงินกองกลางของคู่สมรส เงินเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในระหว่างสมรส (เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าเครื่องนุ่งห่ม ค่าการศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล ยารักษาโรค ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดประจำวัน) หรือการแบ่งไว้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบุตรจากการสมรสครั้งก่อน (ถ้ามี)

ในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีการทำสัญญาก่อนสมรสตกลงกันว่าจะจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสอย่างไร รูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของคู่สมรส ก็จะใช้บังคับไปตามกฎหมายครอบครัว

สินสมรสและสินส่วนตัว คือ อะไร

  • สินสมรส คือ ทรัพย์สินใดๆ ที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวหรือทรัพย์สินที่ผู้ให้ระบุเจาะจงชัดเจนว่าให้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบุคคลนั้น รวมถึง ทรัพย์สินที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ให้ถือเป็นสินสมรสตามสัญญาก่อนสมรส โดยคู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือแบ่งกันจัดการตามที่จะตกลงในสัญญาก่อนสมรส มีสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมกัน และสินสมรสจะต้องถูกแบ่งให้คู่สมรสแต่ละฝ่ายเท่าๆ กันเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง
  • สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายนั้นมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวหรือทรัพย์สินที่ผู้ให้ระบุเจาะจงชัดเจนว่าให้เป็นการส่วนตัวเฉพาะบุคคลนั้น รวมถึง ทรัพย์สินที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ให้ถือเป็นสินส่วนตัวตามสัญญาก่อนสมรส โดยคู่สมรสเจ้าของสินส่วนตัวนั้นสามารถจัดการทรัพย์สินนั้นได้เองลำพัง และจะยังคงเป็นของคู่สมรสฝ่ายนั้นแม้การสมรสสิ้นสุดลง

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาก่อนสมรส

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาก่อนสมรส ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงตัวบุคคลที่ถูกต้อง เนื่องจากตัวบุคคลซึ่งเป็นว่าที่สามีและภรรยา ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อนสมรส
  • ทรัพย์สิน เช่น รายละเอียด ลักษณะ และประเภททรัพย์สินที่คู่สัญญามีความประสงค์จะให้เป็นสินส่วนตัว และรายละเอียด ลักษณะ และประเภททรัพย์สินที่คู่สัญญามีความประสงค์จะให้เป็นสินสมรส
  • การจัดการทรัพย์สิน เช่น ขอบเขตอำนาจ หลักเกณฑ์ ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขในการจัดการสินสมรสว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะจัดการสินสมรสอย่างไร เช่น แบ่งทรัพย์สินให้คู่สมรสสามารถจัดการได้โดยลำพังหรือต้องจัดการร่วมกัน
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น บทลงโทษกรณีที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา การจัดสรรเงินรายได้เป็นค่าเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบุตรจากการสมรสครั้งก่อน

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาก่อนสมรส

ในการจัดทำสัญญาก่อนสมรสนั้น คู่สัญญาไม่สามารถตกลงข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรสในระหว่างการสมรส เท่านั้น คู่สัญญาไม่สามารถทำความตกลงในเรื่องอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกฎหมายได้ เช่น หนี้สิน การใช้อำนาจปกครองบุตร หน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายและ/หรือบุตร รวมถึงข้อตกลงการแบ่งทรัพย์สินในกรณีหย่าร้าง
  • ข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งสามารถไปร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณได้ โดยไม่มีความผิด
  • ข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสที่กำหนดตกลงให้ใช้กฎหมายของประเทศอื่นบังคับใช้กับเรื่องทรัพย์สินของคู่สัญญา
  • ข้อตกลงในสัญญาก่อนสมรสที่ไม่สอดคล้องกับเจตนาที่อิสระของคู่สัญญา เช่น ข้อตกลงที่เกิดจากการถูกบังคับข่มขู่ ถูกหลอกลวงให้เข้าใจผิด

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาก่อนสมรส

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาก่อนสมรส

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญาก่อนสมรส คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาควรเจรจาต่อรองเงื่อนไขและข้อตกลงการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ก่อนการจดทะเบียนสมรสระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้มีโอกาส พิจารณาทบทวน ไตร่ตรอง ทำความเข้าใจ ปรับเปลี่ยน แก้ไข หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขการจัดการสินสมรสที่จะตกลงในสัญญาก่อนสมรสนั้น รวมถึงได้มีโอกาสปรึกษากับทนายความถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามข้อกำหนดในสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวและตามกฎหมายได้อย่างอิสระเต็มที่
  • ในระหว่างการเจรจาเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญาก่อนสมรสระหว่างคู่สัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรปรึกษาทนายความของตนก่อนที่ตนจะลงนามผูกพันในสัญญาก่อนสมรสฉบับดังกล่าว เนื่องจากด้วยอำนาจต่อรองที่ต่างกันระหว่างคู่สัญญาหรือความไม่รู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย อาจมีการยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ อันอาจจะมีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญาก่อนสมรสและอาจบังคับใช้ไม่ได้
  • คู่สมรสต้องเข้าใจและมั่นใจว่าสัญญาก่อนสมรสมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่ครอบคลุมและถูกต้องตามความประสงค์ของคู่สัญญาแล้ว เนื่องจากการแก้ไขหรือเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสหลังจากได้จดทะเบียนสมรสไปแล้วนั้นจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล เท่านั้น

สัญญาก่อนสมรสเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาก่อนสมรส ได้แก่

  • คู่สัญญาฝ่ายชาย อันได้แก่ ว่าที่สามีซึ่งกำลังจะเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย
  • คู่สัญญาฝ่ายหญิง อันได้แก่ ว่าที่ภรรยาซึ่งกำลังจะเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย

บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำสัญญาก่อนสมรส

ว่าที่คู่สามีภรรยาที่กำลังจะเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เท่านั้น ที่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำสัญญาก่อนสมรสได้ เนื่องจากตัวบุคคลซึ่งเป็นว่าที่สามีและว่าที่ภรรยาถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อนสมรส

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาก่อนสมรสแล้ว

คู่สัญญาจัดทำสัญญาก่อนสมรสเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงนามในสัญญาก่อนสมรสด้วย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาก่อนสมรสเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญานำเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบแนบสัญญาก่อนสมรส เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง
  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 3 ฉบับ เพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนและใช้สำหรับให้แต่ละฝ่ายเก็บไว้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานได้ฝ่ายละ 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาก่อนสมรสไปจดทะเบียนพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนสมรส) จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายครอบครัว โดยสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวจะถือเป็นสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรสของคู่สมรสนั้น

ข้อสำคัญ: สัญญาก่อนสมรส (Prenuptial Agreement) หรือสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรสจะต้องจัดทำขึ้นก่อนหรือพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสและจะต้องนำสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวไปจดทะเบียนแนบท้ายทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียนจึงจะสามารถใช้บังคับได้


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาก่อนสมรสด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี) เช่น

  • รายการทรัพย์สิน (เช่น สินสมรส สินส่วนตัวของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย)
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สิน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)

สัญญาก่อนสมรสจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาต้องนำสัญญาก่อนสมรสไปจดทะเบียนพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสกับนายทะเบียน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานเขต เทศบาล อำเภอ หรือสถานกงสุลที่มีอำนาจรับจดทะเบียนสมรส) จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายครอบครัว โดยสัญญาก่อนสมรสดังกล่าวจะถือเป็นสัญญาสลักหลังทะเบียนสมรสของคู่สมรสนั้น

สัญญาก่อนสมรสจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

จำเป็น ในการจัดทำสัญญาก่อนสมรสจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาก่อนสมรส (เช่น คู่สัญญา)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อนสมรส

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาก่อนสมรสมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม