สัญญาจ้างแรงงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาจ้างแรงงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด14 ถึง 22 หน้า
4.7 - 112 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 14 ถึง 22 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 112 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาจ้างแรงงานคืออะไร

สัญญาจ้างแรงงาน (Employment Agreement) หรือสัญญาจ้างพนักงาน คือ สัญญาที่ลูกจ้างตกลงทำงานให้กับนายจ้างและอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการตอบแทนการที่ลูกจ้างทำงานนั้น

โดยที่ สัญญาจ้างแรงงานจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (เช่น ลักษณะการจ้างงาน ตำแหน่งงาน วันและเวลาทำงาน อัตราค่าจ้าง) ซึ่งลูกจ้างจะปฏิบัติงาน/ทำงานประจำที่สถานประกอบกิจการของนายจ้าง


สัญญาจ้างแรงงานมีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาจ้างแรงงานอาจแบ่งประเภทตามลักษณะการจ้าง/รูปแบบการจ้างงานระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างได้ ดังต่อไปนี้

  • ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานประจำ (Permanent) เช่น นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา/เงื่อนไขสิ้นสุดการจ้าง โดยสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก
  • ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานชั่วคราว (Temporary/Contracted) เช่น นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างมีกำหนดระยะเวลา/เงื่อนไขสิ้นสุดการจ้าง (เช่น สัญญาจ้าง 12 เดือน) โดยสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างหรือเป็นไปตามเงื่อนไขการสิ้นสุดการจ้าง
  • ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะการทำงาน/ปฏิบัติงานเป็นพนักงานนอกเวลา (Part-time) เช่น การจ้างงานตามสัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ซึ่งพนักงาน/ลูกจ้างจะทำงานไม่เต็มเวลาทำงานของสถานประกอบกิจการของนายจ้าง และมีกำหนดระยะเวลาการสิ้นสุดสัญญาจ้างที่ชัดเจน

โดยผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานประจำ (Permanent) หรือลักษณะพนักงานชั่วคราว (Temporary/Contracted) และลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานประจำที่สถานประกอบกิจการของนายจ้าง (เช่น สำนักงาน โรงงานของนายจ้าง) เท่านั้น

ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะของพนักงานทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างพนักงานประเภทไม่เต็มเวลา (Part-time) และในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงาน/ทำงานจากที่บ้านของลูกจ้าง หรือ ณ ที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง ไม่ว่าการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทั้งหมด หรือการสลับสับเปลี่ยนระหว่างการทำงานที่บ้านและสถานประกอบกิจการของนายจ้าง (เช่น สำนักงาน โรงงานของนายจ้าง) ตามวันและเวลาทำงานที่กำหนด (Hybrid) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจ้างแรงงานโดยการทำงานที่บ้าน (Work from Home)


สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ แตกต่างกัน อย่างไร

การจ้างแรงงานตามสัญญาจ้างแรงงานในบางกรณีอาจมีความคล้ายคลึงกับการจ้างทำของ (เช่น สัญญาบริการทั่วไป สัญญาจ้างผลิต/ออกแบบสินค้า สัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน สัญญาจ้างพนักงานอิสระ/Freelance) คู่สัญญาอาจพิจารณาว่าในการจ้างแรงงานตามสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นการจ้างทำงานในลักษณะใด โดยอาจพิจารณาได้จากข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • การจ้างทำของจะมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ เช่น ผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานที่จ้างให้สำเร็จลุล่วง
  • การจ้างแรงงานนายจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาดเหนือลูกจ้าง เช่น การมอบหมายงานอย่างอื่นให้ลูกจ้าง เปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของลูกจ้างได้ มีอำนาจตักเตือนลงโทษทางวินัย การกำหนดให้ลูกจ้างเข้าทำงานตามวันเวลาที่นายจ้างกำหนด
  • การจ้างแรงงานลูกจ้างจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา เท่านั้น ในขณะที่ในการจ้างทำของผู้รับจ้างอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน) ก็ได้

ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ


จำเป็นต้องทำสัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จำเป็นต้องทำสัญญาจ้างแรงงาน ข้อตกลงการจ้างแรงงานระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยวาจาย่อมมีความสมบูรณ์ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามในสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ชัดเจนและครบถ้วน (เช่น ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน หน้าที่/ความรับผิดชอบ วันและเวลาทำงาน ค่าตอบแทน) ย่อมประเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาในอนาคต


ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาจ้างแรงงาน

เนื่องจากสัญญาจ้างแรงงานตกอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานที่มีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองพนักงาน/ลูกจ้างซึ่งคู่สัญญาไม่สามารถตกลงให้แตกต่าง หรือยกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวอันทำให้พนักงาน/ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

คู่สัญญาจึงไม่ควรระบุ/กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน โดยเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยไปกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น

  • พนักงาน/ลูกจ้างต้องไม่ใช่ผู้เยาว์/เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี
  • ค่าจ้างที่พนักงาน/ลูกจ้างได้รับจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดในแต่ละพื้นที่และในแต่ละอาชีพ
  • จำนวนชั่วโมงทำงานปกติที่พนักงาน/ลูกจ้างต้องทำงานปกติต่อสัปดาห์ต้องไม่เกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง สำหรับงานทั่วไป หรือไม่เกินกว่า 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
  • สิทธิในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำปี วันลาในกรณีต่างๆ (เช่น การลาป่วย ลาคลอด)
  • สิทธิในการได้รับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง/สิ้นสุดสัญญา


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาจ้างแรงงาน

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • นายจ้างควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าพนักงาน/ลูกจ้างมีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถตรงตามที่นายจ้างต้องการ และสามารถปฏิบัติงานตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายได้ (เช่น การตรวจสอบประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา ประวัติอาชญากรรม)
  • นายจ้างอาจพิจารณาจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน ในเบื้องต้น เพื่อแจ้งให้พนักงาน/ลูกจ้างทราบว่านายจ้างตกลงจะรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน รวมถึงระบุข้อเสนอ/ข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างงาน และเมื่อพนักงาน/ลูกจ้างได้พิจารณาและตอบรับข้อเสนอดังกล่าว คู่สัญญาจึงดำเนินการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานที่มีความละเอียดและครบถ้วนมากขึ้นต่อไป


สัญญาจ้างแรงงานเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน ได้แก่

  • นายจ้าง (เช่น บุคคลที่ว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานให้กับตนและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง) ตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่นายจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานและผูกพันในสัญญาในฐานะนายจ้าง
  • พนักงาน/ลูกจ้าง (เช่น บุคคลที่ทำงานให้กับนายจ้างเพื่อได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานและผูกพันในสัญญาในฐานะลูกจ้าง


บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำสัญญาจ้างแรงงาน

ผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี ไม่สามารถเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานในฐานะลูกจ้างได้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงงาน ห้ามนายจ้างว่าจ้างผู้เยาว์/เด็กอายุต่ำกว่า 15 (สิบห้า) ปี เป็นลูกจ้างหรือให้ทำงานให้กับตนเพื่อค่าตอบแทน หากนายจ้างฝ่าฝืน นายจ้างอาจมีโทษทางอาญา (เช่น ปรับ จำคุก)

ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้เยาว์/เด็ก (เช่น ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ผู้เยาว์/เด็กกระทำการต่างๆ (เช่น การเข้าทำงานกับนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือการเข้าทำนิติกรรมต่างๆ) ผู้ปกครองอาจจัดทำหนังสือยินยอมให้เด็กทำงานเพื่อแสดงความยินยอมให้ผู้เยาว์/เด็กนั้นทำงานกับนายจ้าง


ควรกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน อย่างไร

นายจ้างย่อมสามารถกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานได้ตามความต้องการการใช้แรงงานของนายจ้างและตามความยินยอมของลูกจ้าง เช่น

  • สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น การปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานชั่วคราว
  • สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน เช่น การปฏิบัติงาน/ทำงานในลักษณะพนักงานประจำ (Permanent)

อย่างไรก็ดี นายจ้างอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน ดังต่อไปนี้

  • สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน นายจ้างต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมายและจ่ายค่าชดเชย (หากการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยอื่นๆ เช่น ลูกจ้างมีอายุงานไม่เกิน 120 วัน ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง)
  • สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนแต่ไม่มีลักษณะตามข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีการจ้างงานเฉพาะคราว (เช่น งานในโครงการเฉพาะ/งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี) นายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าแต่ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชย (หากการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยอื่นๆ เช่น ลูกจ้างมีอายุงานไม่เกิน 120 วัน ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง)
  • สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนและมีลักษณะตามข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีการจ้างงานเฉพาะคราว (เช่น งานในโครงการเฉพาะ/งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี) นายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ทำได้หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาจ้างแรงงานเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาจ้างแรงงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาจ้างแรงงานฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจ้างแรงงาน (ถ้ามี)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาจ้างแรงงานด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจ้างแรงงานตามที่คู่สัญญาเห็นสมควร (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างคู่สัญญา เช่น

  • คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
  • ประวัติการทำงานของลูกจ้าง (Resume)
  • ใบสมัครงานของลูกจ้าง (Job Application)
  • ใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน/ก่อนเริ่มงาน


สัญญาจ้างแรงงานจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน

อย่างไรก็ดี เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/ลูกจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด และหน้าที่นำส่งเงินสมทบทั้งส่วนของนายจ้างและส่วนของลูกจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคมประจำทุกเดือน


สัญญาจ้างแรงงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาจ้างแรงงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาจ้างแรงงานตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาจ้างแรงงาน (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน

เมื่อนายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้างอาจมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน เช่น


ระยะเวลาทดลองงาน (Probation) คืออะไร

ระยะเวลาทดลองงาน (Probation) คือ ช่วงระยะเวลาที่นายจ้างกำหนดใช้บังคับกับลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่กับนายจ้าง เพื่อเป็นช่วงเวลาที่นายจ้างประเมินการทำงานของลูกจ้างว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าว หรือไม่ และมีการทำงาน/ปฏิบัติงานอย่างไร โดยภายในระยะเวลาดังกล่าวนายจ้างอาจเปลี่ยนแปลงหน้าที่งาน ตำแหน่งงาน หรือความรับผิดชอบของลูกจ้างได้ รวมถึงนายจ้างอาจเลิกจ้างลูกจ้างได้หากพิจารณาแล้วว่าลูกจ้างไม่มีความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานดังกล่าว

โดยนายจ้างอาจกำหนดระยะเวลาการทดลองงานตามความเหมาะสม อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วัน นายจ้างอาจมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหากการเลิกจ้างนั้นไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยอื่นๆ ตามกฎหมาย (เช่น ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยกรณีการจ้างงานเฉพาะคราว)


นายจ้างจำเป็นต้องให้พนักงาน/ลูกจ้างทำสัญญาเก็บรักษาความลับด้วย หรือไม่

พนักงาน/ลูกจ้างอาจมีโอกาสได้เข้าถึง ได้รับทราบถึง ข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลส่วนสำคัญต่างๆ ของนายจ้าง ในระหว่างที่พนักงาน/ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้าง ซึ่งหากมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือมีการเปิดเผยต่อคู่แข่งทางธุรกิจอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียเปรียบทางธุรกิจได้ สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้จึงประกอบด้วยข้อตกลงการเก็บรักษาความลับซึ่งห้ามลูกจ้างเปิดเผยข้อมูลความลับของนายจ้างโดยทั่วไปอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่นายจ้างให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับอย่างยิ่ง คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับแยกต่างหากอีกฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และบทลงโทษเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับโดยเฉพาะด้วยก็ได้


พนักงาน/ลูกจ้างจำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือไม่

พนักงาน/ลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย/เป็นคนไทยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงาน/ลูกจ้างเป็นคนต่างด้าว (เช่น ลูกจ้างไม่มีสัญชาติไทย/เป็นชาวต่างชาติ) ในกรณีเช่นนี้ ลูกจ้างจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) จึงจะสามารถทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย และในกรณีที่นายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าวเข้าทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างและลูกจ้างอาจมีความผิดและโทษทางอาญา

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาจ้างแรงงาน

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาจ้างแรงงาน ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เช่น เงื่อนไขการจ้าง/การทำงาน ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน หน้าที่งาน ความรับผิดชอบงาน ระยะเวลาการจ้าง การทดลองงาน สถานที่ทำงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุด วันลา อัตราค่าจ้าง หลักประกันการทำงาน สวัสดิการ การประเมินผลการทำงาน
  • ข้อตกลงอื่น เช่น การตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานที่ลูกจ้างผลิต/สร้างสรรค์ขึ้นในงานที่จ้าง การเก็บรักษาความลับ ข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามทำงานและค้าแข่ง


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจ้างแรงงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาจ้างแรงงานมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม