สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 06/07/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด22 ถึง 34 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 06/07/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 22 ถึง 34 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานคืออะไร

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน หรือสัญญาว่าจ้างผลิตและตัดต่อวิดีโอ/รายการ (Production Agreement) คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้างผลิตและผู้รับจ้างผลิต โดยที่ผู้ว่าจ้างผลิตว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิตสร้างสรรค์และผลิตสื่อ/ผลงานต่างๆ ตามขอบเขตที่ผู้ว่าจ้างผลิตกำหนด โดยที่ผู้ว่าจ้างผลิตตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการผลิตนั้น

โดยที่ สื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิต เช่น

  • ภาพยนตร์/หนัง (Movie)/ภาพยนตร์โฆษณา (Commercial Advertising)
  • รายการโทรทัศน์/ออนไลน์ (Show)/ละคร/ซีรีส์ (Serie)
  • ภาพเคลื่อนไหว/การ์ตูน (Animation)/สารคดี (Documentary)
  • ภาพถ่าย (Photo)/ภาพวาด (Painting)/ภาพประดิษฐ์ (Artwork)
  • เพลง (Song)/ดนตรี (Music)/ทำนอง (Melody)
  • สิ่งพิมพ์ (Publication)/บทความ (Journal)/บทประพันธ์ (Literature)

สัญญาบริการ/จ้างทำของมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการได้ ดังต่อไปนี้

(1) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทั่วไปซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องทั่วไป (เช่น สัญญาบริการทั่วไป)

(2) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการเฉพาะในแต่ละเรื่องซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เช่น

จำเป็นต้องทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการดำเนินการผลิตสื่อ/ผลงานย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น ขอบเขตการผลิตและสร้างสรรค์ ค่าตอบแทน ระยะเวลาการว่าจ้าง กำหนดการส่งมอบงาน ทรัพย์สินทางปัญญาในผลงานที่ผลิตขึ้นมาใหม่) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้การผลิตสื่อ/ผลงานดำเนินไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • สื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิต เช่น วัตถุประสงค์การนำสื่อไปใช้ แนวคิด (Concept) คุณลักษณะ เนื้อหา (Content) ความต้องการของสื่อ และขอบเขตการดำเนินงานผลิตสื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิตนั้น
  • ค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าสิทธิ (ถ้ามี) และกำหนดชำระ
  • กระบวนการผลิต (ถ้ามี) เช่น กรอบเวลาการผลิต การตรวจสอบ ตรวจทาน และแก้ไขผลงาน รวมถึงข้อกำหนดเฉพาะในกระบวนการผลิต
  • ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ว่าจ้างผลิต
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การจ้างงานช่วง หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา

ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

ในการนำออกเผยแพร่หรือจำหน่ายสื่อ/ผลงานบางประเภท (เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ละคร/ซีรีส์) อาจจำเป็นต้องผ่านการตรวจพิจารณา กำหนดประเภทภาพยนต์/วิดิทัศน์ (Content Rating) และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหา (Content) ของสื่อ/ผลงานที่ว่าจ้างผลิต นอกเหนือจากเนื้อหาตามความต้องการของฝ่ายผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น เจ้าของรายการ ผู้สร้างหนัง/ละคร) และ/หรือผู้กำกับ โดยสื่อ/ผลงานที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจถูกให้แก้ไข/ตัดทอน (Censored) หรืออาจไม่ได้รับอนุญาตเผยแพร่ (Banned)

  • สื่อ/ผลงานที่มีเนื้อหาเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • สื่อ/ผลงานที่มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • สื่อ/ผลงานที่มีเนื้อหาอันอาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศไทย

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ได้แก่

  • ผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น เจ้าของรายการ ผู้สร้างหนัง/ละคร) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ว่าจ้างผลิตมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตสื่อ/ผลงาน (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการผลิต ผู้อำนวยการสร้าง) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ว่าจ้างผลิต
  • ผู้รับจ้างผลิต (เช่น บริษัทรับจ้างผลิตและจัดทำสื่อผลงาน/Production House/Studio) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับจ้างผลิต (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับจ้างผลิตมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับงานผลิตสื่อ/ผลงานกับลูกค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้รับจ้างผลิต

จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยาน (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ และ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานและคู่ฉบับถือเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • ขอบเขตการว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (เช่น ความยาว เนื้อเรื่องและเนื้อหา/Content ลำดับภาพ/Storyboard คุณภาพ)
  • เอกสารเกี่ยวกับค่าตอบแทน (เช่น ตารางกำหนดการชำระค่าจ้างแต่ละงวด ใบเสนอราคา)

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

อย่างไรก็ดี ในการนำออกเผยแพร่หรือจำหน่ายสื่อ/ผลงานบางประเภท (เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ละคร/ซีรีส์) อาจจำเป็นต้องผ่านการตรวจพิจารณา กำหนดประเภทภาพยนต์/วิดิทัศน์ (Content Rating) และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่จะผลิตและเผยแพร่ และคู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนไว้ในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานว่าเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายใดในการดำเนินการดังกล่าว

สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานและคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล บริการการศึกษาของสถานศึกษา บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)

ทำไมผู้ว่าจ้างไม่ผลิตสื่อ/ผลงานด้วยตนเอง

ผู้ว่าจ้างผลิต (เช่น เจ้าของรายการ ผู้สร้างหนัง/ละคร) อาจเลือกใช้การจ้างผลิตสื่อ/ผลงานแทนการดำเนินการผลิตสื่อ/ผลงานด้วยตนเอง เนื่องจากในบางกรณี ผู้ว่าจ้างผลิตอาจยังขาดความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และชื่อเสียงในการผลิตสื่อ/ผลงานนั้นเองทำให้ต้องจ้างผู้รับจ้างผลิตที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในการผลิตสื่อ/ผลงานนั้น รวมถึงผู้รับจ้างผลิตมักมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ใช้ที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสื่อ/ผลงานนั้นโดยเฉพาะ (เช่น ทีมงานผู้ผลิต ผู้ประพันธ์ ผู้กำกับ เครื่องมืออุปกรณ์บันทึกภาพ/เสียงและตัดต่อ โรงถ่าย/ห้องอัด/Studio)

ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการผลิตและสร้างสรรค์สื่อ/ผลงานตามสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานจะตกเป็นของใคร

สื่อ/ผลงานที่ผลิตและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อาจถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์/ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น

  • ภาพยนตร์/หนัง (Movie)/ละคร/ซีรีส์ (Serie)
  • เพลง (Song)/ดนตรี (Music)/ทำนอง (Melody)
  • ภาพถ่าย (Photo)/ภาพวาด (Painting)/ภาพประดิษฐ์ (Artwork)

โดยทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในสื่อ/ผลงาน ในกรณีการจ้างทำของหรือจ้างบริการ อย่างไรก็ดี คู่สัญญาย่อมสามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ตามความต้องการของคู่สัญญา โดยกำหนดเป็นข้อตกลงไว้ในสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสื่อ/ผลงานมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม