สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 24/04/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด14 ถึง 22 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 24/04/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 14 ถึง 22 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์คืออะไร

สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Influencer Agreement) หรือสัญญาว่าจ้างอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของสินค้า บริการ หรือองค์กร) และผู้รับจ้าง (เช่น บุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์) โดยที่ ผู้ว่าจ้างตกลงว่าจ้างให้ผู้รับจ้างโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ (เช่น โฆษณา โพสต์ แชร์ รีวิว) สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กร (เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจ หรือกิจการ) ของผู้ว่าจ้างผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์

สัญญาบริการ/จ้างทำของมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการได้ ดังต่อไปนี้

(1) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการทั่วไปซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องทั่วไป (เช่น สัญญาบริการทั่วไป)

(2) สัญญาบริการหรือสัญญาจ้างทำของที่มีวัตถุประสงค์ของงานที่ให้บริการเฉพาะในแต่ละเรื่องซึ่งถูกร่างขึ้นและมีข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เช่น


สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์และสัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์และสัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะมีวัตถุประสงค์ในการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) หรือในรูปแบบการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) เหมือนกัน อย่างไรก็ดี สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์และสัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ได้ถูกร่างขึ้นโดยมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์โดยตรงเพื่อดำเนินการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ โดยไม่ผ่านตัวแทนโฆษณา (เช่น การแต่งตั้งอินฟลูเอนเซอร์/Influencer เป็นผู้นำเสนอสินค้า/แบรนด์ (Presenter/Brand Ambassador) การว่าจ้างให้อินฟลูเอนเซอร์/Influencer โพสต์ แชร์ หรือรีวิวสินค้า/บริการ)
  • สัญญาว่าจ้างบริหารจัดการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) ได้ถูกร่างขึ้นโดยมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการว่าจ้างผู้รับจ้างซึ่งเป็นตัวแทนโฆษณา (เช่น ธุรกิจรับจัดการโฆษณา/การตลาด Advertising/Marketing Agency หรือตัวแทนโฆษณา/เอเจนซีโฆษณา) เพื่อบริหารจัดการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ

จำเป็นต้องทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้คู่สัญญาต้องจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษร

อย่างไรก็ดี ในการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์สินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) หรือในรูปแบบการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) ย่อมมีรายละเอียดและข้อตกลงสำคัญที่คู่สัญญาอาจจำเป็นต้องกำหนดและตกลงร่วมกัน (เช่น ขอบเขตการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ แผน/กลยุทธ์การตลาด ค่าตอบแทน ระยะเวลาการว่าจ้าง กำหนดการส่งมอบงาน) เพื่อรักษาผลประโยชน์และความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และเพื่อให้การโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ดำเนินไปตามความประสงค์ของคู่สัญญา คู่สัญญาจึงควรจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย


การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) คืออะไร

การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) หรือการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) คือการการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือการทำการตลาดเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กรผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) หรือในรูปแบบการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) เช่น

  • การจัดทำสื่อและดำเนินการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
  • การวางแผนกลยุทธ์และกำหนดช่วงเวลาการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์
  • การบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ (เช่น ตอบข้อความ ให้ข้อมูล คำปรึกษา และความช่วยเหลือลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์)
  • การบริหารจัดการขายสินค้า/บริการ (เช่น รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า สรุปคำสั่งซื้อ)
  • การจัดหาและจัดจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์ (เช่น อินฟลูเอนเซอร์/Influencer ดารานักแสดง เน็ตไอดอล นักเขียนบทความวิจารณ์/รีวิว ยูทูบเบอร์ นักร้อง นักกีฬา นายแบบ หรือนางแบบ) มาร่วมดำเนินการ/สนับสนุนการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ (เช่น โพสต์ แชร์ รีวิวสินค้า/บริการ)

โดยการว่าจ้างบุคคลสาธารณะ/อินฟลูเอนเซอร์โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือการทำการตลาดเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือองค์กรผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) หรือการตลาดดิจิทัล/ออนไลน์ (Digital/Online Marketing) ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีผลสัมฤทธิ์มากกว่าการโฆษณาหรือการตลาดแบบดั้งเดิม


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง โดยเฉพาะรายละเอียดบุคคลสาธารณะหรืออินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา
  • สินค้า บริการ หรือองค์กรที่ต้องการให้บุคคลสาธารณะโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ เช่น ชื่อ/ยี่ห้อสินค้า คุณลักษณะ/คุณสมบัติเด่นของสินค้า สถานที่ตั้งของกิจการ
  • การโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ เช่น เป้าหมาย รูปแบบ ประเภท ลักษณะ ความถี่ ปริมาณ เนื้อหา ช่องทาง และระยะเวลาการประชาสัมพันธ์/โฆษณา
  • ค่าตอบแทน เช่น รูปแบบและอัตราค่าจ้าง รวมถึงกำหนดการชำระเงิน
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การห้ามบุคคลสาธารณะรับโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ให้กับสินค้า บริการ หรือองค์กรอื่น รวมถึงค่าปรับ


สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่

  • ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของสินค้า บริการ หรือองค์กร) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ว่าจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ว่าจ้าง
  • ผู้รับจ้าง (เช่น อินฟลูเอนเซอร์/Influencer บุคคลสาธารณะ ดารานักแสดง เน็ตไอดอล นักเขียนบทความวิจารณ์/รีวิว ยูทูบเบอร์ นักร้อง นักกีฬา พริ้ตตี้/MC นายแบบ หรือนางแบบ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้รับจ้าง (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้รับจ้างมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับงานกับลูกค้า (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ผู้จัดการส่วนตัว) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้รับจ้าง


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์แล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ (ถ้ามี)
  • คู่สัญญานำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • ขอบเขตการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ (เช่น กลยุทธ์และแผนการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ เนื้อหาการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์)
  • เอกสารเกี่ยวกับค่าตอบแทน (เช่น ค่าจ้างและตารางอัตราค่าตอบแทนพิเศษจากยอดขาย ใบเสนอราคา)


สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใดๆ ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์


สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ เนื่องจากสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และคู่ฉบับเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ คู่สัญญาจึงมีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่ไม่ชำระอากร ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างอาจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ ในกรณีที่ผู้ให้บริการ/ผู้รับจ้างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่น ผู้ให้บริการเป็นนักแสดงสาธารณะตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ให้บริการเป็นกิจการขนาดย่อมที่มีฐานภาษีไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริการที่อยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล บริการการศึกษาของสถานศึกษา บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์)


ผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องให้ผู้รับจ้าง/อินฟลูเอนเซอร์ทำสัญญาเก็บรักษาความลับด้วย หรือไม่

ผู้รับจ้าง/อินฟลูเอนเซอร์อาจมีโอกาสได้เข้าถึง ได้รับทราบถึงข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลสำคัญต่างๆ ของผู้ว่าจ้างในระหว่างการให้บริการตามสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ (เช่น รายชื่อลูกค้า แผนการตลาด รายละเอียดความลับของสินค้า/บริการ) ซึ่งหากมีการนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือมีการเปิดเผยต่อคู่แข่งทางธุรกิจอาจทำให้ผู้ว่าจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียเปรียบทางธุรกิจได้ สัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์ฉบับนี้จึงประกอบด้วยข้อตกลงการเก็บรักษาความลับซึ่งห้ามคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เปิดเผยข้อมูลความลับของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยทั่วไปอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่คู่สัญญาให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับอย่างยิ่ง คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดทำสัญญาเก็บรักษาความลับแยกต่างหากอีกฉบับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียด และบทลงโทษเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับโดยเฉพาะด้วยก็ได้


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาว่าจ้างบุคคลสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์มี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม