สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด24 ถึง 37 หน้า
4.8 - 6 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 24 ถึง 37 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.8 - 6 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือสัญญาการให้สิทธิประกอบธุรกิจ คือสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจหรือที่มักรู้จักในชื่อแฟรนไชส์ซอร์ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซี

โดยที่ในสัญญานั้น แฟรนไชส์ซอร์จะอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามเงื่อนไขหรือตามข้อกำหนดในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้สิทธินั้นอาจเป็นธุรกิจประเภทใดและขนาดใดก็ได้ เช่น ธุรกิจร้านอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม ร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น

โดยที่ แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ออกแบบและเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอด วางแผน และมีชื่อเสียงเป็นอย่างดี เช่น ระบบและรูปแบบการประกอบธุรกิจ ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของสินค้าและ/หรือบริการ สูตรหรือขั้นตอนการผลิตสินค้าและ/หรือการให้บริการ

ในขณะที่ แฟรนไชส์ซีจะมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน (เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิ) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เพื่อตอบแทนการให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้น โดยที่ แฟรนไชส์ซีจะเป็นผู้ดำเนินการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นตามเงื่อนไขหรือตามข้อกำหนดในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นหรือแฟรนไชส์ซอร์

ในการเริ่มประกอบธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หนึ่งในทางเลือกที่ผู้ประกอบการมักเลือกใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจคือการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งทั้งฝ่ายแฟรนไชส์ซีหรือแฟรนไชส์ซอร์ต่างก็ได้รับประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ เช่น

(ก) ประโยชน์แก่ฝ่ายผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ (แฟรนไชส์ซี)

  • ลดเวลาในการสร้างความเชื่อมั่น ความรู้จัก ความนิยม และฐานลูกค้าของกิจการ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์มักเป็นธุรกิจที่มีการโฆษณาส่งเสริมการขายหรือมักเป็นสินค้า/บริการที่มีชื่อเสียงแล้ว หรือมีการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หลายสาขาแล้ว
  • ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการศึกษาและพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ (เช่น รูปแบบการตกแต่งร้าน สูตรอาหาร กรรมวิธี ขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ การอบรมพนักงาน หรือฐานข้อมูลลูกค้าของธุรกิจ)
  • ลดเวลาในการจัดหาและจัดซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ หรือสินค้าในการดำเนินธุรกิจ

(ข) ประโยชน์แก่ฝ่ายผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจ (แฟรนไชส์ซอร์)

  • ได้รับค่าตอบแทน (เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิ) โดยไม่ต้องดำเนินธุรกิจหรือประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นโดยตรง
  • ลดต้นทุนและความเสี่ยงจากการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ของตนโดยการโอนต้นทุนและความเสี่ยงไปยังแฟรนไชส์ซี
  • สามารถขยายธุรกิจและชื่อเสียงแฟรนไชส์ของตนได้อย่างรวดเร็ว

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือสัญญาการให้สิทธิประกอบธุรกิจ ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

คู่สัญญาควรกำหนดลักษณะ ขอบเขต ข้อจำกัด และค่าตอบแทนการให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ให้ชัดเจน เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ ลักษณะการให้สิทธิ ระยะเวลาการให้สิทธิ อัตราและกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Franchise Fee) และค่าสิทธิ (Royalty Fee) วัสดุ อุปกรณ์ สินค้าที่ต้องใช้ในการประกอบธุรกิจ การใช้เครื่องหมายการค้า (เช่น ชื่อร้าน ตราหรือยี่ห้อของร้าน กิจการ หรือสินค้า) ความลับทางการค้า (เช่น สูตรอาหาร วิธีขั้นตอน และเทคนิคในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ)

คู่สัญญาควรกำหนดข้อกำหนดในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น การโฆษณาส่งเสริมการขาย การกำหนดวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ การตรวจสอบบัญชี การควบคุมคุณภาพ (เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน) การตรวจสอบและประเมินกิจการ การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจ (เช่น การอบรม การสอนงาน การให้คำปรึกษา หรือการให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหา) การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

คู่สัญญาควรกำหนดข้อตกลงอื่นๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่สัญญา เช่น ข้อตกลงการห้ามค้าแข่ง หรือการเก็บรักษาข้อมูลความลับ การระงับข้อพิพาท

ในกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์มีการให้สิทธิแฟรนไชส์ซีใช้ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีการจดทะเบียนเอาไว้ เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาการให้ใช้สิทธิดังกล่าวไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญานั้นด้วย

เมื่อคู่สัญญาระบุรายละเอียดและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนดีแล้ว คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือสัญญาการให้สิทธิประกอบธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่าเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับและใช้ในการจดทะเบียนต่างๆ (ถ้ามี)

นอกจากนี้ ในกรณีที่คู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ (เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา) และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย (เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคล)

ข้อควรพิจารณา

ตาม ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ได้กำหนดหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เอาไว้ เช่น

  • แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลการประกอบธุรกิจให้แฟรนไชส์ซีทราบก่อนเข้าทำสัญญา เช่น ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ แผนการดำเนินธุรกิจ การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา การต่อ แก้ไข และยกเลิกสัญญา
  • แฟรนไชส์ซอร์ต้องให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงนั้นก่อนที่จะให้สิทธิในการเปิดสาขาแก่บุคคลอื่นหรือแฟรนไชส์ซอร์เปิดเสียเอง
  • แฟรนไชส์ซอร์ห้ามกำหนดข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่อาจทำให้แฟรนไชส์ซีได้รับความเสียหาย เช่น บังคับซื้อสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือที่มีปริมาณสูงเกินความจำเป็นโดยไม่รับคืน การบังคับซื้อสินค้าจากแหล่งที่กำหนดโดยเฉพาะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การเพิ่มภาระหน้าที่ของแฟรนไชส์ซีภายหลังจากทำสัญญาซึ่งไม่มีเหตุผลอันสมควรเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซีด้วยกันเอง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Discrimination)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบัน นอกจาก ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับควบคุมการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ยังอยู่ในกระบวนการร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดี มีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั่วไป ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม