สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด24 ถึง 36 หน้า
4.8 - 2 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 24 ถึง 36 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.8 - 2 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร หรือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ว่าจ้าง (เช่น เจ้าของอาคาร บ้าน ผู้พัฒนาโครงการ) ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้าง (เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง) อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ ผู้ว่าจ้าง ว่าจ้างให้ผู้รับจ้าง ก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างต่างๆ (เช่น บ้านพักอาศัย อาคาร สำนักงาน โรงงาน คลังสินค้า ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ) ตามลักษณะ ขอบเขต คุณสมบัติ และมาตรฐานที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ซึ่งอาจเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่ หรือดัดแปลง ตกแต่ง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเดิมก็ได้ โดยที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะชำระค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานก่อสร้างนั้น

โดย ผู้ว่าจ้างมักว่าจ้างผู้รับจ้างในการดำเนินการก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เนื่องจาก ผู้รับจ้างมักเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ มีบุคคลากร วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมในการก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง อีกทั้ง ยังช่วยให้ผู้ว่าจ้างมีความคล่องตัวสูงในการบริหารจัดการบุคคลากรที่นำมาใช้ในงาน/โครงการก่อสร้าง ในกรณีที่งานและ/หรือโครงการก่อสร้างนั้นสิ้นสุดลง

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

    • รายละเอียดของคู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
    • รายละเอียดของอาคาร/สิ่งปลูกสร้างที่ว่าจ้างก่อสร้าง เช่น ขอบเขตงาน ลักษณะ รูปแบบ การออกแบบ คุณภาพ มาตรฐาน และสถานที่ตั้งของอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
    • รายละเอียดค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ และกำหนดชำระ
    • รายละเอียดกระบวนการก่อสร้าง เช่น แผนการก่อสร้าง มาตรฐานการก่อสร้าง การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ระยะเวลา และเงื่อนไขการส่งมอบและตรวจรับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
    • รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ของงานออกแบบที่ใช้กับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง
    • รายละเอียดข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น หลักประกันและเงินประกันผลงาน การรับประกันงานก่อสร้างและตัวอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง การจ้างงานช่วง ประกันภัย หน้าที่การดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักการโยธา หรือสำนักงานเขต)

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ และ

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

คู่สัญญานำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้างและคู่ฉบับ ถือเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

ข้อพิจารณา

ก่อนการดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคาร/สิ่งปลูกสร้างมีหน้าที่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร/สิ่งปลูกสร้างกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักการโยธา หรือสำนักงานเขต) คู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายใดในการดำเนินการดังกล่าว และรวมถึงผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย

ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง (เช่น แบบแปลน แผนผัง ภาพจำลอง รายการวัสดุและอุปกรณ์) คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารแนบท้ายสัญญา เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันในขอบเขตงานของคู่สัญญา อันเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย อีกทั้ง ยังอาจสามารถช่วยป้องกันกรณีผู้รับจ้างหรือผู้รับเหมาทิ้งงานได้อีกด้วย

ในการเข้าทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฉบับนี้ ไม่ทำให้ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้างเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ (เช่น งานก่อสร้าง ต่อเติม หรือรื้อถอน) และผู้รับจ้างจะมีอิสระในการดำเนินการงานให้สำเร็จลุล่วงตราบใดที่เป็นไปตามขอบเขตและข้อกำหนดในสัญญา ทั้งนี้ ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม