หนังสือค้ำประกัน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือค้ำประกัน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด5 ถึง 7 หน้า
4.5 - 4 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 5 ถึง 7 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.5 - 4 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกัน คือสัญญาที่มีบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยที่ ผู้ค้ำประกันตกลงให้สัญญาแก่เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) ไม่ชำระหนี้ที่ค้ำประกันนั้น ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นบุคคลภายนอก (เช่น ไม่ใช่ตัวเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสียเอง)

โดยหนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกันมักถูกนำมาใช้ในกรณีที่ เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ต้องการให้มีหลักประกันการชำระหนี้หรือการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือในทางกลับกัน ลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) อาจมีความน่าเชื่อถือทางการเงินไม่เพียงพอ เจ้าหนี้จึงต้องการบุคคลที่สามซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยมักเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงิน ได้แก่ ผู้ค้ำประกัน เข้ามารับผิดในหนี้ดังกล่าวนั้นด้วยในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ดังกล่าวนั้น

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกัน ผู้จัดทำหรือผู้ค้ำประกันควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้ค้ำประกันควรระบุรายละเอียด เงื่อนไข และข้อตกลงสำคัญเกี่ยวกับการค้ำประกันโดยละเอียด เช่น

  • รายละเอียดของตัวผู้ค้ำประกัน
  • รายละเอียดของหนี้ที่ค้ำประกัน เช่น ลักษณะของหนี้ จำนวนหนี้ รวมถึงอ้างอิงเอกสารนิติกรรมที่ก่อให้เกิดหนี้นั้น เช่น สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่า
  • รายละเอียด ลักษณะ ขอบเขต ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของการค้ำประกัน เช่น ลักษณะการค้ำประกันเป็นการค้ำประกันหนี้ทั้งจำนวนหรือมีการจำกัดวงเงินค้ำประกันเอาไว้ กำหนดระยะเวลาที่ค้ำประกัน หรือเป็นการค้ำประกันต่อเนื่องหลายคราวไม่จำกัดระยะเวลา
  • รายละเอียดของการค้ำประกันอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ผู้ประกันผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งหรือผู้รับเรือน กระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน (ต้องสอดคล้องกับกฎหมายหรือเป็นประโยชน์กับผู้ค้ำประกันมากกว่าที่กฎหมายกำหนด)

เมื่อผู้ค้ำประกันได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงการค้ำประกันกับเจ้าหนี้และลูกหนี้จนเป็นที่พอใจแล้ว ผู้ค้ำประกันจะต้องจัดทำหนังสือค้ำประกันเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้ค้ำประกัน โดยอาจมีพยานลงนามในหนังสือค้ำประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันกำหนดให้ การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้

โดย ผู้ค้ำประกันอาจจัดทำคู่ฉบับของหนังสือค้ำประกันอย่างน้อย 3 ฉบับ เพื่อให้แต่ละฝ่ายเก็บไว้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานได้ฝ่ายละ 1 ฉบับ (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และตัวผู้ค้ำประกันเอง)

ผู้ค้ำประกันนำหนังสือค้ำประกันที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากหนังสือค้ำประกันและคู่ฉบับ ถือเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

ข้อพิจารณา

ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากถูกทวงถามจากเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาเงินและดอกเบี้ยที่ตนต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปนั้นจากลูกหนี้ได้

ผู้ค้ำประกันควรแจ้งให้ลูกหนี้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากหากลูกหนี้ไม่รู้แล้วได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซ้ำอีก ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ โดยผู้ค้ำประกันอาจต้องฟ้องเจ้าหนี้ให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ เพื่อเรียกเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปนั้นคืน

ในการจัดทำ หนังสือค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการค้ำประกันที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ เนื่องจากขัดต่อกฎหมายค้ำประกันส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่สามารถใช้บังคับได้

  • ข้อตกลงที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ยกเว้น กรณีผู้ค้ำประกันเป็นนิติบุคคลและได้ยินยอมเข้าผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม
  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดกับหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ หนี้หรือสัญญาที่ไม่ระบุชัดแจ้ง หรือยังคงต้องรับผิดกับหนี้ของลูกหนี้ที่ระงับสิ้นไปแล้ว
  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขซึ่งไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน ลักษณะของมูลหนี้ จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน (ยกเว้น กรณีเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว อาจไม่ต้องระบุระยะเวลาในการก่อหนี้)
  • ข้อตกลงที่ห้ามไม่ให้ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้หรือข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้นั้นขึ้นต่อสู้
  • ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดกับหนี้ที่ลูกหนี้กระทำลงภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้บอกเลิกการค้ำประกันล่วงหน้าต่อเจ้าหนี้ เฉพาะในกรณีการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลา
  • ข้อตกลงที่ยกเว้นหน้าที่ของเจ้าหนี้เกี่ยวกับการเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เช่น การทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในระยะเวลาที่กำหนดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด การเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ การหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม