สัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน Co-Working Space กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space)

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 30/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด21 ถึง 32 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 30/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 21 ถึง 32 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน หรือข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ให้บริการ (เช่น เจ้าของพื้นที่ทำงาน/Co-Working Space) ฝ่ายหนึ่ง และผู้ใช้บริการ (เช่น ผู้ที่จะเข้ามาใช้งานพื้นที่ทำงาน/Co-Working Space เจ้าของธุรกิจ/กิจการ) โดยที่ ผู้ให้บริการจัดให้มีซึ่งพื้นที่ทำงานรวม (Co-Working Space) และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานส่วนกลางต่างๆ (เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน ห้องประชุม การเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต แสงสว่าง และไฟฟ้า) รวมถึงบริการเพิ่มเติมอื่นๆ (เช่น การให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ตู้เก็บสัมภาระ) และผู้ใช้บริการตกลงจะเข้ามาใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการคนอื่นๆ เพื่อใช้พื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่นั่งทำงาน พบปะ พูดคุยธุระกับลูกค้าของตน หรือใช้เป็นสำนักงานของธุรกิจ/กิจการ โดยผู้ใช้บริการมีหน้าที่จะต้องชำระค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการและปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนการใช้งานพื้นที่ทำงาน

ปัจจุบัน พื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก กิจการหลายแห่งได้มีนโยบายให้พนักงานของตนทำงานจากบ้าน (Work from Home) มากขึ้น ประกอบกับ การเติบโตของอาชีพผู้ให้บริการอิสระ (Freelance) และผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up)/ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก (SMEs) ซึ่งยังไม่มีสำนักงานเป็นของตนเอง ประกอบกับ พื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) มีสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เหมาะสมกว่าบ้าน และยังมีความคล่องตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการเช่าอาคาร/พื้นที่สำนักงาน

ผู้ให้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) สามารถเลือกจัดทำสัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) ฉบับนี้ได้ใน 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

(ก) แบบทั่วไป เช่น ผู้ให้บริการจะเผยแพร่สัญญาทั่วไปในพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) หรือหน้าเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
(ข) แบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้ให้บริการจะจัดทำสัญญากับผู้ใช้บริการแต่ละรายโดยระบุตัวตนผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ และอาจกำหนดข้อกำหนดในสัญญาที่แตกต่างกันไปตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ รวมถึงอาจให้ผู้ใช้บริการลงนามในสัญญาด้วยก็ได้

ในกรณีที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องการเช่าอาคาร/พื้นที่สำนักงานสำหรับธุรกิจของตนโดยเฉพาะโดยไม่ใช่การใช้พื้นที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ ซึ่งมีข้อความและข้อสัญญาสำหรับการเช่าอาคาร/พื้นที่สำนักงานโดยเฉพาะ (เช่น การเช่า การใช้ประโยชน์ และครอบครองอาคาร/พื้นที่สำนักงานในระยะยาว การแก้ไขตกแต่งต่อเติมอาคาร/พื้นที่สำนักงาน)

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • พื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) เช่น ชื่อโครงการ ชื่อร้าน สถานที่ตั้ง สาขา (ถ้ามี) สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการเพิ่มเติมอื่นๆ ที่จัดให้มีภายในพื้นที่ทำงาน
  • ข้อกำหนดการใช้พื้นที่ทำงาน เช่น กำหนดเวลาเปิดและปิดให้บริการ การเข้า-ออกพื้นที่ทำงาน
  • ระยะเวลาการใช้บริการ เช่น รูปแบบการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการ การต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ
  • ค่าบริการ เช่น รูปแบบและอัตราการคิดค่าบริการ การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการ รวมถึง กำหนดการชำระเงิน
  • ข้อตกลงอื่น เช่น ค่าปรับ การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) เป็นลายลักษณ์อักษร และ

ในกรณีการทำสัญญาแบบทั่วไป ผู้ให้บริการควรจัดเผยแพร่ไว้ในบริเวณพื้นที่ทำงานดังกล่าวที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปและ/หรือจัดเผยแพร่ให้เข้าถึงได้ที่หน้าเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ศึกษารายละเอียด รับทราบ และยอมรับกับข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวทั้งก่อนและในขณะใช้บริการ

ในกรณีการทำสัญญาแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้บริการควรให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดย คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

ข้อพิจารณา

ภายในเว็บไซต์ของเราได้จัดให้มีให้บริการเอกสารสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการเช่า/ใช้บริการพื้นสำนักงานอยู่หลายฉบับซึ่งมีความแตกต่างกันและในขณะเดียวกันก็มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วน ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับต่างก็มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ผู้ใช้งานอาจศึกษารายละเอียดลักษณะและการนำไปใช้ของสัญญาดังกล่าวเพิ่มเติมได้ ดังต่อไปนี้

(1) สัญญาเช่าสำนักงานสำเร็จรูป (Serviced Office) คือ สัญญาที่ผู้เช่าเช่าพื้นที่สำนักงานพร้อมกับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นสำนักงานส่วนเฉพาะของตนแยกสัดส่วนชัดเจนตามขนาดพื้นที่ที่ตกลงเช่า รวมถึงบริการส่วนกลางต่างๆ ที่ผู้ให้เช่าจัดให้มีใช้ร่วมกันระหว่างผู้เช่าคนอื่น (เช่น ห้องประชุม ส่วนต้อนรับ พื้นที่จัดเตรียม/รับประทานอาหาร) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการสำนักงานที่พร้อมเริ่มใช้งานได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงตกแต่ง หรือการวางระบบใดๆ เพิ่มเติม

(2) สัญญาใช้บริการพื้นที่ทำงาน (Co-Working Space) คือ สัญญาที่ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้ประโยชน์ (เช่น นั่งทำงาน) ภายในพื้นที่ทำงานร่วมกัน หรือ Co-Working Space ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นๆ รวมถึงบริการส่วนกลางต่างๆ ที่ผู้ให้บริการจัดให้มี (เช่น ห้องประชุม ส่วนต้อนรับ พื้นที่จัดเตรียม/รับประทานอาหาร อาหารและเครื่องดื่ม พื้นที่พักผ่อน) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพื้นที่ทำงานที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การทำงาน เช่น พนักงานที่ทำงานจากบ้าน (Work from Home) ผู้ให้บริการอิสระ (Freelance) ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ (Start-up)/ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก (SMEs) ซึ่งยังไม่ต้องการมีสำนักงานเป็นส่วนเฉพาะของตน

(3) สัญญาให้บริการสำนักงานเสมือน (Virtual Office) คือ สัญญาที่ผู้ใช้บริการมีสิทธิใช้ที่อยู่ของผู้ให้บริการแสดงออกเป็นที่ตั้งสำนักงานของตนได้ (เช่น รับ-ส่งเอกสารสำคัญ) หรือใช้จดทะเบียนธุรกิจต่างๆ ได้ (เช่น การจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยที่ผู้ใช้บริการอาจมี/ไม่มีการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่/สำนักงานจริงก็ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการใช้ที่อยู่ของสำนักงานเสมือนเพื่อแสดงเป็นที่ตั้งสำนักงานของตนและใช้ในการรับส่งเอกสารหรือจดทะเบียนธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการออนไลน์/ทางอินเตอร์เน็ตซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ของสำนักงานในการประกอบธุรกิจ แต่ต้องการที่อยู่ของสำนักงานสำหรับประกอบการทำธุรกรรมสำคัญต่างๆ ของธุรกิจ รวมถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจให้มีที่อยู่สำหรับติดต่อเป็นหลักแหล่งสำคัญ

(4) สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ คือ สัญญาที่ผู้เช่าเช่าอาคารหรือพื้นที่ระยะยาวเพื่อนำมาใช้เป็นสำนักงานส่วนเฉพาะของตน โดยทั่วไป ผู้ให้เช่ามักไม่ได้จัดให้มีบริการอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน การปรับปรุงตกแต่ง หรือการวางระบบใดๆ เอาไว้ให้ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเช่าอาคาร/พื้นที่เปล่ามาปรับปรุง/ตกแต่งให้เป็นสำนักงานด้วยตนเอง และใช้เป็นสำนักงานในระยะยาว เนื่องจากอาจต้องมีการลงทุนปรับปรุงตกแต่ง หรือการวางระบบใดๆ เพิ่มเติมให้เหมาะสมแก่การทำงานซึ่งมีอาจค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม