สัญญาบริการ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาบริการ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 04/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด13 ถึง 19 หน้า
4.5 - 18 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 04/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 13 ถึง 19 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.5 - 18 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาบริการ หรือสัญญาให้บริการ เป็นสัญญาจ้างทำของชนิดหนึ่งกล่าวคือเป็นสัญญาที่ผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับบริการ ตกลงจะให้ค่าตอบแทนแก่ผู้รับจ้างหรือผู้ให้บริการ เพื่อตอบแทนงานที่ผู้รับจ้างหรือผู้ให้บริการทำ โดยมีความมุ่งหวังที่ผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้ให้บริการจะดำเนินการงานที่ทำงานโดยวิธีใด โดยลักษณะใดก็ได้ เพียงแต่ให้ผลงานที่ทำ ซึ่งในที่นี้คือบริการ สำเร็จลุล่วง ตามลักษณะ แบบ คุณสมบัติ และมาตรฐานที่ผู้รับบริการกำหนด ดังนั้น ในการให้ และรับบริการ คู่สัญญาจึงควรทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ระบุรายละเอียด ขอบเขตงานที่จะให้บริการโดยละเอียด เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง นอกจากนี้สาระสำคัญอีกประการหนึ่งของสัญญาบริการคือ ค่าตอบแทน หรือค่าบริการนั่นเอง เนื่องจาก ค่าบริการนั้นขึ้นอยู่กับขอบเขตการให้บริการ งานที่ผู้ให้บริการจะต้องทำ ต้นทุน การดำเนินการ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ ทักษะ ความสามารถ บุคลากร ที่ต้องนำมาใช้ในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ นั้นย่อมแตกต่างกันไป ดังนี้ คู่สัญญาจึงควรตกลงกันให้ชัดเจนด้วยว่า ค่าบริการตามสัญญาบริการตามขอบเขตของการให้บริการนั้น รวมอะไรบ้าง ไม่รวมอะไรบ้าง ส่วนใด เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ สัมภาระ ผู้รับบริการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จัดหาและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดบ้าง เป็นการให้บริการแบบเหมาเบ็ดเสร็จหรือไม่ กล่าวคือ ผู้รับบริการจ่ายค่าบริการที่ตกลงกันเท่านั้น โดยจะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมอีก สำหรับขอบเขตงานที่ได้ตกลงกัน

นอกจากนี้ คู่สัญญายังสามารถตกลงเงื่อนไขอื่นๆ ได้ เช่น ความรับผิดและข้อจำกัดความรับผิดของความชำรุดบกพร่อง หรือในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ ค่าปรับในกรณีที่คู่สัญญาชำระหนี้ล่าช้า หรือไม่ถูกต้อง เช่น ผู้ให้บริการส่งมอบบริการล่าช้า ผิดไปจากที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือผู้รับบริการชำระค่าบริการล่าช้า เป็นต้น เงื่อนไข ระยะเวลา และวิธีการชำระค่าบริการ ระยะเวลาการให้บริการ ระยะเวลาการส่งมอบบริการ หรือระยะเวลาการสำเร็จของงานแต่ละส่วนๆ กรณีการให้บริการมีหลายระยะการให้บริการ (Phrase) วิธี วันเวลา ลักษณะ และเงื่อนไขการรับมอบบริการ สถานที่ให้บริการ การรับรองและรับประกันผลงานการให้บริการ หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา การจ้างงานช่วง สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานที่เกิดจากการให้บริการ หน้าที่การไม่การค้าแข่ง การไม่ชักชวน และการเก็บรักษาความลับของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย เป็นต้น ซึ่งสามารถเจรจาตกลงกันแตกต่างไปจากที่กฎหมายวางแนวทางไว้ได้ ตามที่อำนาจต่อรองของคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้บริการและฝ่ายผู้รับบริการ รวมถึงบริบท ข้อเท็จจริง ประเพณีของประเภทการบริการที่จ้างทำนั้น

ในกรณีที่ผู้ว่าจ้าง/ผู้ใช้บริการต้องการว่าจ้าง/ใช้บริการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้แบบสัญญาบริการ/จ้างทำของที่ถูกร่างขึ้นโดยเฉพาะนั้นได้บนเว็บไซต์ของเรา เช่น

 

การนำไปใช้

ตามที่กล่าวข้างต้นว่าขอบเขตของงานถือเป็นข้อสำคัญที่สุดของสัญญาบริการ ฉะนั้นแล้วคู่สัญญาควรจะต้องระบุขอบเขตของการให้บริการให้ชัดเจน รวมถึงลักษณะ แบบ ประเภท มาตรฐาน ขั้นตอนการให้บริการด้วย ว่าค่าบริการที่ตกลงกัน ครอบคลุมถึงขอบเขตงานอย่างไรบ้าง รวมค่าสัมภาระ วัตถุดิบ อุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในการให้บริการหรือไม่ อย่างไร โดยหากรายละเอียดและเงื่อนไขการให้บริการมีเนื้อหามาก และมีความละเอียดมาก มีแบบ หรือคำอธิบายเอาไว้อย่างละเอียด เอกสารพรรณนาคุณสมบัติต่างๆ คู่สัญญาอาจนำเอกสารเหล่านั้นมาอ้างอิงภายในสัญญาและนำมาแนบเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาได้อีกด้วย อนึ่งคู่สัญญาต้องมั่นใจว่าเอกสารที่จะนำมาแนบเหล่านั้น ถูกต้องตรงตามขอบเขตของสัญญาที่ตกลงกันแล้วด้วย

 

ในบางประเภทของการให้บริการ ผู้ให้บริการถือเป็นสาระสำคัญของการให้บริการด้วย กล่าวคือ ในการให้บริการ ผู้รับบริการเลือกผู้ให้บริการรายดังกล่าวก็อันเนื่องมาจากความรู้ความสามารถ ทักษะ ชื่อเสียง ความเชื่อมั่น วิชาชีพ ของผู้ให้บริการด้วย ในกรณีเช่นนี้ ผู้ให้บริการจะไม่สามารถนำงานที่ต้องให้บริการไปช่วงให้บุคคลอื่นดำเนินการต่อได้ ในทางกลับกัน หากผู้ให้บริการไม่ได้เป็นสาระสำคัญของการให้บริการ หรือโดยสภาพผู้ให้บริการเป็นสาระสำคัญของการให้บริการ แต่ผู้รับบริการไม่ถือเป็นสาระสำคัญ เช่นการยินยอมไว้ในสัญญาให้ผู้ให้บริการสามารถจ้างบุคคลอื่นดำเนินการให้บริการแทนผู้ให้บริการได้ เช่นนี้ ผู้ให้บริการอาจนำงานที่ต้องให้บริการแก่ผู้รับบริการ ทั้งหมด หรือบางส่วนออกให้ ผู้อื่นดำเนินการก็ได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้บริการก็ยังคงต้องรับผิดชอบความเสียหายต่อผู้รับบริการอันเกิดจากผู้รับจ้างช่วงซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอยู่ดี

 

นอกจากนี้ ในบางกรณีของการให้บริการ ผู้ให้บริการ อาจจะต้องเข้ามายังสถานที่ของผู้รับบริการ และได้รับข้อมูลบางอย่างของผู้รับบริการ เพื่อนำไปใช้ในการให้บริการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว โรคประจำตัว ข้อมูลทางการค้าต่างๆ เช่น สูตรอาหาร ข้อมูลลูกค้า ซึ่งหากมีการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกแล้ว ผู้รับบริการอาจได้รับความเสียหายไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมได้ ดังนี้ คู่สัญญาควรตกลงหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการเก็บรักษาความลับไว้ในสัญญาด้วย

 

ในบางกรณีของการให้บริการ ผลสำเร็จของการให้บริการ อาจเกิดเป็นสิ่งที่อาจมีมูลค่าซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การให้บริการออกแบบบ้าน ซึ่งผลของการได้รับบริการคือ แบบบ้าน (Plan) หรือบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจซึ่งสิ่งที่จะได้รับคือ คำปรึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เหมือนสินค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยอาจเป็นได้ทั้ง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า ดังนี้ คู่สัญญาควรตกลงและกำหนดสิทธิต่างๆ ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการให้บริการว่าให้สิทธิดังกล่าวเหล่านั้น ตกเป็นสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายใด ส่วนใดบ้าง และเพียงใด เช่น เป็นสิทธิเด็ดขาด หรือมีสิทธิเพียง การใช้ เผยแพร่ ทำซ้ำ เท่านั้น หรือไม่รวมสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาส่วนใดอะไรบ้าง เป็นต้น

 

การทำสัญญาบริการ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจะลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละ 1 ฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

 

ข้อควรพิจารณา

เนื่องจากลักษณะของสัญญาบริการคือ สัญญาจ้างทำของประเภทหนึ่ง ดังนี้สัญญาบริการจึงอยู่ภายใต้กฎหมายจ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขในกรณีต่างๆ เกี่ยวกับสัญญาจ้างทำของเอาไว้ ดังนี้ หากในกรณี เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้มีการตกลงเอาไว้ในสัญญา หรือมีพฤติการณ์ หรือหลักฐานว่ามีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ก็จะใช้บังคับตามกฎหมายจ้างทำของนี้ เช่น หน้าที่ในการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการ หากไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ให้บริการเป็นผู้จัดหาและรับผิดชอบค่าใช้จ่าย สิทธิของผู้รับบริการที่จะลด หรือหักค่าบริการ หากมีการให้บริการล่าช้า หรือสิทธิยกเลิกสัญญาทั้งหมดได้เลยหากผู้ให้บริการบริการล่าช้า และระยะเวลาการส่งมอบบริการเป็นสาระสำคัญ เช่น การจ้างบริการช่างถ่ายรูปเพื่อมาถ่ายรูปเหตุการณ์สุริยุปราคา แต่ช่างภาพมาช้าถ่ายไม่ทัน เช่นนี้ แม้ผู้ให้บริการจะมาล่าช้าและมาให้บริการถ่ายรูปชดเชยให้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับผู้รับบริการแล้วเพราะสุริยุปราคาได้ผ่านไปแล้ว เป็นต้น การสิ้นสุดสัญญาในกรณีที่ ความรู้ความสามารถของตัวผู้ให้บริการเป็นสาระสำคัญของการให้บริการแต่ ตัวผู้ให้บริการนั้นตาย หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถทำงานให้บริการนั้นได้ สิทธิของผู้รับบริการในการยึดหน่วงค่าบริการ ในกรณีที่ผู้ให้บริการส่งมอบบริการไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน อนึ่งก็ยังมีข้อกำหนดสำคัญที่ผู้รับบริการหรือผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญด้วย เช่น

  • ในกรณีที่ผู้ให้บริการจัดหาสัมภาระและรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เช่น วัสดุ อุปกรณ์ หรือมีการตกลงให้ผู้รับบริการเป็นผู้จัดหาสัมภาระเหล่านั้นในการให้บริการเอง และสัมภาระเหล่านั้นสูญหาย หรือเสียหาย อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ผู้ที่มีหน้าที่จัดหาและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสัมภาระเหล่านั้น ก็จะเป็นผู้รับความเสี่ยงภัยในความสูญหายหรือเสียหายนั้นเอง กล่าวคือจะไม่สามารถเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชอบหรือร่วมรับผิดชอบได้
  • ในกรณีที่ผู้ให้บริการส่งมอบบริการล่าช้า แต่ผู้รับบริการก็ได้รับมอบบริการที่ล่าช้านั้นโดยไม่อิดเอื้อน ผู้รับบริการก็จะไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหายจากความล่าช้านั้นได้ โดยการอิดอื้นนั้น อาจทำได้โดยวิธี เช่น การแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้ในเอกสารเกี่ยวกับการรับบริการว่า ผู้ให้บริการมีการส่งมอบบริการล่าช้า เป็นต้น
  • ในกรณีที่บริการที่ให้นั้นมีความบกพร่อง ภายหลังจากที่มีการรับมอบบริการเรียบร้อยแล้ว ผู้รับบริการจะฟ้องร้องผู้ให้บริการอันเกี่ยวกับความบกพร่องนั้นได้เฉพาะภายใน 1 ปี นับจากวันที่ความชำรุดบกพร่องนั้นปรากฏแก่ผู้รับบริการ เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในบทกฎหมายดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นข้อกำหนดกฎหมายทั่วไปที่คู่สัญญาสามารถตกลงกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ โดยจะนำข้อกฎหมายเหล่านี้มาบังคับใช้เฉพาะในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ แต่ถ้ามีการตกลงกันเอาไว้แล้ว ก็จะต้องถือตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกันนั้น แต่ในบางข้อที่กฎหมายกำหนด เช่น อายุความ เหล่านี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย กล่าวคือ คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ หากมีการตกลงข้อสัญญาดังกล่าวก็จะไม่มีผลบังคับใช้

 

ตามกฎหมายละเมิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดในกรณีมีการละเมิดต่อบุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากการให้บริการของผู้ให้บริการไว้ด้วย โดยมีหลักว่า ผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ให้บริการ ที่กระทำไปเพื่อให้บริการผู้รับบริการ เนื่องจากโดยทั่วไปสัญญาบริการ จะมุ่งเน้นที่ผลสำเร็จของงาน ซึ่งก็คือการให้บริการนั่นเอง โดยมิไม่ได้มุ่งเน้นว่าผู้ให้บริการจะดำเนินการ อย่างไร ด้วยวิธีใด ซึ่งเป็นดุลพินิจของผู้ให้บริการเอง ผู้รับบริการไม่ได้มีส่วนควบคุม หรือรู้เห็นกับการตัดสินใจ การกระทำการนั้นของผู้ให้บริการเลย แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ความละเมิดและความเสียหายนั้น เกิดจากการที่ผู้รับบริการได้มีคำสั่งให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการโดยดำเนินการตามคำสั่งนั้น และการกระทำนั้นก่อให้เกิดการละเมิด หรือในกรณีที่ ผู้รับบริการสรรหา และเลือกผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน และ/หรือความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องให้บริการจนก่อให้เกิดการละเมิดและความเสียหาย

 

ในบางลักษณะของการให้บริการอาจมีความใกล้เคียงกับสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงงานเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นการจ้างแรงงานแล้ว สิทธิและหน้าที่ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ก็จะแตกต่างไปเนื่องจากอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ โดยมีหลักสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งได้แก่ผู้รับจ้าง เช่น หน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและนำส่งเงินสมทบ เงินสะสม เงินกองทุนประกันสังคม เงื่อนไขการเลิกสัญญา สิทธิการลางานต่างๆ ของลูกจ้าง ซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างจากกฎหมายจ้างทำของที่มีพื้นฐานอยู่บนความเท่าเทียมกันของคู่สัญญาโดยสิ้นเชิง โดยข้อสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างทำของกับสัญญาจ้างแรงงาน คือ

  • สัญญาจ้างทำของจะมุ่งเน้นความสำเร็จของงานมากกว่าวันและเวลาการทำงานของผู้ให้บริการ และ
  • ในสัญญาจ้างแรงงาน ผู้ว่าจ้างจะมีอำนาจการบังคับบัญชาเด็ดขาด กล่าวคือ จะสั่งให้ลูกจ้างทำงานอะไร ขอบเขตเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการเป็นบุคคลธรรมดาและงานที่ให้บริการตามสัญญาบริการมีลักษณะดังต่อไปนี้

(ก) เป็นงานเกี่ยวกับการผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม หรือแปรรูปสิ่งของ
(ข) โดยผู้ให้บริการดำเนินการในบ้านของผู้ให้บริการ หรือสถานที่อื่น ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของผู้รับบริการ
(ค) ใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตของผู้รับบริการทั้งหมดหรือบางส่วน และ
(ง) งานที่ให้บริการนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้รับบริการ

ผู้รับบริการจะมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น อัตราค่าตอบแทนของผู้ให้บริการขั้นต่ำ การหักค่าตอบแทนของผู้ให้บริการ ความปลอดภัยในการทำงานของผู้ให้บริการ การเรียกหลักประกันจากของผู้ให้บริการ เป็นต้น

 

ภาษีอากร

  • เนื่องจากโดยทั่วไป การให้บริการอยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามประมวลรัษฎากร ดังนี้ หากกิจการของผู้ให้บริการเข้าเงื่อนไขเป็นกิจการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริการดังกล่าวไม่ได้เป็นบริการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากรตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี บริการที่ไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บริการทีอยู่ภายใต้ภาษีธุรกิจเฉพาะ บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษา การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ เป็นต้น
  • อนึ่งสัญญาจ้างทำของและคู่ฉบับ ซึ่งสัญญาบริการถือเป็นสัญญาจ้างทำของอย่างหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ฉะนั้น หากได้มีการจัดทำสัญญาบริการ ผู้ให้บริการ (หรือผู้รับบริการ ในกรณีที่มีการตกลงผลักภาระหน้าที่การชำระอากรแสตมป์ให้ผู้รับบริการ) จักต้องติดอากรแสตมป์ หรือนำไปชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (ตีตรา) ให้ถูกต้องครบถ้วนตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด มิฉะนั้น หากมีการฟ้องร้องอันเกี่ยวกับสัญญานี้ ศาลจะไม่รับฟังสัญญาที่ไม่ได้ชำระอากรโดยสมบูรณ์เป็นพยานหลักฐาน อีกทั้ง ยังมีค่าปรับการไม่ชำระอากรแสตมป์ และอาจมีโทษทางอาญาอีกด้วย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สัญญาบริการ หรือสัญญาให้บริการ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม