หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 18/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด1 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 18/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 1 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือหนังสือรับรองความเป็นผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คือหนังสือที่ผู้ให้การรับรอง (เช่น เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา หรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา) จัดทำขึ้นโดยฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาที่จะให้คำรับรองแก่บุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นของตน โดยการรับรองความเป็นเจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ดังต่อไปนี้

  • ลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพ บทความ เนื้อหา เสียงเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อผสมต่างๆ
  • สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร เช่น สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี หรือการออกแบบที่ขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรไว้แล้ว
  • เครื่องหมายการค้า เช่น ตรา ยี่ห้อ ชื่อสินค้า บริการ หรือกิจการ
  • ความลับทางการค้า เช่น สูตรอาหาร สูตรการผลิตที่เป็นความลับ

โดยอาจนำไปใช้เพื่อประกอบคำขอจดแจ้ง และ/หรือจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการหรือมีความจำเป็นต้องมีคำรับรองความเป็นเจ้าของจากผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น การจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์) หรือใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นตามแต่กรณี (เช่น ใช้ในการเริ่มต้นเจรจาซื้อขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในเบื้องต้น)

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาฉบับนี้ ผู้จัดทำ (เช่น เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา หรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา) ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้ให้การรับรอง เช่น ชื่อ ที่อยู่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา หรือผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  • ทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการให้ความรับรอง เช่น ชนิด ประเภท ลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญา
  • ข้อมูลอ้างอิงทางทะเบียนของทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การจดแจ้ง หรือจดทะเบียนความคุ้มครอง (ถ้ามี)

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้ให้การรับรองหรือตัวแทน รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการการรับรองความเป็นเจ้าของ เพื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
  • พระราชบัญญัติสิทธิบัตร
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
  • พระราชบัญญัติความลับทางการค้า
  • กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม