ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคดังกล่าวเป็นโรค "โรคติดต่ออันตราย" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 และเนื่องจากได้มีการแพร่ระบาดที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและกว้างขวางภายในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 โดยคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ รวมไปถึงการประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งการประกอบธุรกิจทุกขนาด ในหลายอุตสาหกรรม รวมถึง ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไป ด้วย
มาตรการและแนวทางเหล่านี้แม้จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่ก็หลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การลดการเดินทางท่องเที่ยว การลดการใช้จ่ายทั่วไป การลดการใช้บริการทั่วไป ทำให้มี ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไปได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น มีรายได้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีความจำเป็นต้องใช้สินค้าจำเป็นบางประเภทเพิ่มสูงขึ้นอยางมีนัยสำคัญ หรือไม่สามารถเดินทางไปไหนได้อย่างอิสระ
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเช่นนี้ ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไปอาจมีข้อพิจารณาต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไปอาจพบปัญหาผู้ประกอบการขายสินค้า/บริการราคาแพงและ/หรือการกักตุนสินค้า/บริการได้ ในกรณี ดังต่อไปนี้
เนื่องด้วยประชาชนมีความต้องการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบการคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดบางพื้นที่หรือนโยบายของสถานประกอบการบางแห่ง (เช่น ซูเปอร์มาร์เกตหรือร้านสรรพาหาร) มีข้อกำหนดให้ประชาชน สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะหรือเข้าไปภายในสถานประกอบการแห่งนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้น ทำให้มีความต้องการในการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเป็นพิเศษในช่วงระยะเวลานี้ ทำให้หน้ากากอนามัยมีราคามีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากปกติอย่างมาก
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ โดย คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้ประกาศให้ หน้ากากอนามัย เป็นสินค้าควบคุม และกำหนดราคาจำหน่ายปลีก หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) ที่ผลิตภายในประเทศ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกินชิ้นละ 2.5 บาท และราคาจำหน่ายปลีกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) ที่นำเข้าจากต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง การกำหนดราคาจำหน่ายและการแจ้งข้อมูลหน้ากากอนามัย
เนื่องด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถติดต่อได้ผ่านทางสารคัดหลังและเข้าสู่ร่างกายได้ตาม ปาก จมูก และตา ทำให้ ประชาชนทั่วไปรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ประกอบกับมาตรการการรณรงค์ให้ประชาชนล้างมือทำความสะอาดมือเป็นประจำไม่ว่าด้วยสบู่หรือผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ ดังนั้น ทำให้มีความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเป็นพิเศษในช่วงระยะเวลานี้ โดยที่ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยส่วนบุคคลเหล่านี้ กระทรวงพาณิชย์ โดย คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้ประกาศให้เป็นสินค้าควบคุม หากผู้ประกอบการใด กักตุนสินค้าเหล่านี้ (เช่น ไม่นำสินค้าออกจำหน่ายตามปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร) ย่อมมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
เนื่องด้วย นโยบายการรณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้าน (Social Distancing) และการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical Distancing) ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านหรือที่พัก โดยไม่จำเป็น ทำให้อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีวิธีการปรุงง่าย เก็บรักษาได้นาน ราคาถูก และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน เป็นที่ต้องการของประชาชนเช่นกัน ดังนั้น ทำให้มีความต้องการในผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเป็นพิเศษในช่วงเวลาเช่นนี้ โดยที่ ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นฐาน เช่น
ผลิตภัณฑ์อาหารพื้นฐานเหล่านี้ กระทรวงพาณิชย์ โดย คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ได้ประกาศให้เป็นสินค้าควบคุม หากผู้ประกอบการใด กักตุนสินค้าเหล่านี้ (เช่น ไม่นำสินค้าออกจำหน่ายตามปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร) ย่อมมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไป หากพบเห็นการจำหน่ายสินค้าราคาแพงหรือการกักตุนสินค้าควบคุมเหล่านี้ สามารถร้องเรียนได้ที่ กรมการค้าภายใน ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลการขายสินค้า/บริการ (เช่น ราคาขายปลีก การชั่ง ตวง วัด) ทางวาจาต่อกรมการค้าภายในได้ที่หมายเลข 1569 หรือ ผู้บริโภคอาจจัดทำ หนังสือร้องเรียน ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อดำเนินการร้องเรียนอย่างเป็นลักษณ์อักษร
ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไปอาจพบปัญหาการถูกจำกัดการเดินทางไม่ว่าการเดินทางภายในประเทศหรือการเดินทางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจุดหมายปลายทางที่เป็นพื้นที่พบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ทำให้ผู้บริโภคที่ได้ทำการจองต่างๆ ไว้ล่วงหน้าก่อนการแพร่ระบาดไม่สามารถเดินทางตามกำหนดการจองเดิมได้ โดยที่การจองต่างๆ เช่น
ในกรณีที่ ผู้บริโภคมีความจำเป็นหรือได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถเดินทางตามกำหนดการที่จองไว้ได้ (เช่น รัฐบาลมีคำสั่งห้ามเดินทาง หรือเที่ยวบินถูกยกเลิก) ผู้บริโภคที่มีความจำเป็นหรือได้รับผลกระทบเหล่านี้ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย อาจขอ
โดย ผู้บริโภคอาจขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจองได้กับ ตัวแทนการจอง (Booking Agent) กรณีจองผ่านตัวแทนการจอง หรือผู้ให้บริการสายการบิน ที่พัก หรือผู้ให้บริการนำเที่ยวหรือสถานที่เข้าชม กรณีจองโดยตรงกับผู้ให้บริการเหล่านั้น
ผู้บริโภคที่ต้องการขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจองอาจจัดทำ หนังสือขอยกเลิก คืนเงิน เปลี่ยนแปลง เที่ยวบิน ที่พัก หรือแพ็กเกจท่องเที่ยว กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งให้แก่ตัวแทนการจอง (Booking Agent) หรือผู้ให้บริการสายการบิน ที่พัก หรือผู้ให้บริการนำเที่ยวหรือสถานที่เข้าชม แล้วแต่กรณี เพื่อขอยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจองเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ตัวแทนการจองหรือผู้ให้บริการแต่ละรายอาจมี หลักเกณฑ์ วิธี ช่องทาง และเงื่อนไขในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการจองที่แตกต่างกันไป
ประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชาชนทั่วไปอาจมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐบาลต่างๆ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรการลดและ/หรือประวิงค่าใช้จ่าย เช่น การขยายระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาปีภาษี 2562 การลดอัตราค่าไฟฟ้า และการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำ
(ข) มาตรการลดภาระหนี้สิน เช่น การพักการชำระเงินต้น การลดอัตราดอกเบี้ย และการขยายระยะเวลาการชำระหนี้สินเชื่อเงินกู้กับสถาบันการเงิน เช่น หนี้เงินกู้สินเชื่อเพื่อธุรกิจกับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารเฉพาะกิจต่างๆ (เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และโรงจำนำ
(ค) มาตรการเพิ่มสภาพคล่อง เช่น สินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ทั้งมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน
อนึ่ง ประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบอาจศึกษามาตรการเยียวยาต่างๆ จากรัฐบาลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของรัฐบาลไทย: มาตรการเยียวยาสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป
ประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ อาจจัดทำ หนังสือขอความอนุเคราะห์ผ่อนผันการชำระหนี้ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งให้แก่สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขอพักชำระเงินต้น ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ขอลดอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี สถานบันการเงินแต่ละแห่งอาจมีนโยบายและมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีการที่แตกต่างกันตามที่สถาบันการเงินกำหนด
นอกจากนี้ หากประชาชนดังกล่าวมีสถานะเป็น ผู้ประกอบการ พนักงาน/ลูกจ้าง และ/หรือลูกหนี้/ผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย แล้วแต่กรณี บุคคลนั้นยังอาจมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการของรัฐบาลอื่นๆ เพิ่มเติมโดยเฉพาะแต่ละประเภทอีกด้วย โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่