หนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 18/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 18/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ หรือข้อเสนอขอยอมความ คือ หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคู่พิพาทหรือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้เสนอขอประนีประนอมยอมความ (เช่น ผู้จัดทำ/ส่งหนังสือฉบับนี้) ซึ่งคู่พิพาทหรือคู่ความนั้นมีข้อพิพาทระหว่างกัน เพื่อแสดงเจตนาและข้อเสนอในการขอประนีประนอมยอมความในข้อพิพาทที่มีระหว่างกันไปยังคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง หรือผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความ (เช่น ผู้รับหนังสือฉบับนี้) โดยข้อพิพาทอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  • ข้อพิพาททางแพ่ง คือ ข้อพิพาทที่เกิดจากการกระทำความผิดทางแพ่ง เช่น การปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ยอมชำระหนี้ การผิดนัดชำระหนี้ การกระทำละเมิด กระทำการให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บ
  • ข้อพิพาททางอาญา คือ ข้อพิพาทที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมาย เช่น การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ยักยอกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์
  • ข้อพิพาททางแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เช่น กระทำการให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บทางแพ่งซึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย

โดย หนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ อาจนำมาใช้ในกรณีต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ผู้กระทำความเสียหาย ผู้กระทำความผิด จำเลย) จัดทำหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ โดยขอชำระ/ชดใช้ค่าเสียหาย หรือตกลงจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายไม่ติดใจเอาความในคดีความนั้นๆ หรือ
  • ผู้ได้รับความเสียหาย (เช่น ผู้เสียหาย โจทก์) จัดทำหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ โดยตกลงจะไม่ติดใจเอาความในคดีความนั้นๆ หากอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจะชำระ/ชดใช้ค่าเสียหาย หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ หนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ อาจนำมาใช้กับข้อพิพาทต่างๆ ไม่ว่าข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว หรือไม่ ก็ตาม (เช่น คู่พิพาทได้ฟ้องข้อพิพาทดังกล่าวเป็นคดีความในศาลแล้ว)

การประนีประนอมยอมความเป็นทางเลือกหนึ่งในการระงับข้อพิพาท และเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาของศาล เนื่องจาก การประนีประนอมยอมความเป็นการระงับข้อพิพาทที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดทรัพยากร (เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย และการดำเนินการ) ในขณะที่คู่พิพาทหรือคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ยังได้รับความเป็นธรรมและได้รับการชดเชยจนเป็นที่พอใจ ตามข้อตกลง/ความตกลงที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้กำหนดตกลงกันโดยละเอียดต่อไปในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งตนเป็นผู้ตกลงยอมรับนั้นเอง

นอกจากการระงับข้อพิพาท โดยการประนีประนอมยอมความแล้ว การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน โดยที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะมีคนกลางเพิ่มเข้ามาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และช่วยอำนวยความสะดวกในการเจรจาต่อรองระงับข้อพิพาทระหว่างคู่พิพาทดังกล่าว

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่พิพาท เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ข้อพิพาท เช่น รายละเอียดเหตุการณ์การกระทำผิดสัญญา การผิดนัดชำระหนี้ การทำละเมิด การกระทำความเสียหาย หรือการกระทำความผิดอาญาที่เป็นเหตุแห่งข้อพิพาท
  • รายละเอียดอ้างอิงคดีความในศาล ในกรณีที่ข้อพิพาทอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล เช่น หมายเลขคดีดำ ข้อหาหรือฐานความผิดที่ฟ้อง วันที่ฟ้อง ศาลที่รับคำฟ้อง
  • ข้อเสนอที่เสนอขอประนีประนอมยอมความ เช่น การดำเนินการแก้ไขเยียวยา การชำระเงินค่าเสียหาย จำนวนเงิน และกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน การเยียวยาชดใช้ต่างๆ การกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เงื่อนไขการตอบรับคำเสนอ เช่น กำหนดระยะเวลาตอบรับ วิธีการและช่องทางการตอบรับข้อเสนอ ในกรณีที่ผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความมีความประสงค์จะร่วมตกลงประนีประนอมยอมความ/ยอมรับตามข้อเสนอ

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เสนอขอประนีประนอมยอมความ หรือตัวแทนผู้มีอำนาจให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่ผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความ เพื่อผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความพิจารณาตอบรับตามข้อเสนอต่อไป

ข้อพิจารณา

ในกรณีที่คู่พิพาท/คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความมีความประสงค์จะร่วมตกลงประนีประนอมยอมความ/ยอมรับตามข้อเสนอที่กำหนดไว้ในหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความฉบับนี้กับผู้เสนอขอประนีประนอมยอมความ ผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความควรตอบรับผู้เสนอขอประนีประนอมยอมความเป็นลายลักษณ์อักษรตามช่องทางและวิธีการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อคู่พิพาท/คู่ความร่วมกันจัดทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจะเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันคู่พิพาท/คู่ความต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความฉบับนี้ เป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียว ในการริเริ่มขอประนีประนอมยอมความ โดยที่ยังไม่ได้ก่อให้เกิดภาระผูกพัน สิทธิ และ/หรือหน้าที่ระหว่างคู่พิพาท/คู่ความในการประนีประนอมยอมความ ซึ่งการประนีประนอมยอมความจะต้องเกิดจากการตกลงร่วมกันของคู่พิพาท/คู่ความทั้ง 2 ฝ่าย

คู่พิพาท/คู่ความแต่ละฝ่ายอาจปรึกษาทนายความของตนก่อนที่ตนจะลงนามผูกพันในสัญญาประนีประนอมยอมความ เนื่องจาก การประนีประนอมยอมความจะส่งผลให้สิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทเดิมระงับสิ้นไปและเกิดเป็นสิทธิเรียกร้องใหม่ตามที่คู่พิพาท/คู่ความได้ตกลงผ่อนผันและประนอมให้แก่กันในสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น คู่พิพาท/คู่ความทั้ง 2 ฝ่ายต้องมั่นใจว่าสิทธิเรียกร้องที่คู่พิพาท/คู่ความได้ตกลงกันในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว และฝ่ายที่ได้รับความเสียหายได้รับการทดแทนและ/หรือชดเชยอย่างถูกต้องและครบถ้วน

ในกรณีที่คู่พิพาท/คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือผู้รับคำเสนอขอประนีประนอมยอมความมีไม่มีความประสงค์จะร่วมตกลงประนีประนอมยอมความ (เช่น ไม่พอใจข้อเสนอ ไม่ยอมรับตามข้อเสนอที่กำหนดไว้ในหนังสือเสนอขอประนีประนอมยอมความฉบับนี้ หรือต้องการจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด)

  • ข้อพิพาทดังกล่าวก็จะยังไม่ระงับสิ้นไป คู่พิพาท/คู่ความนั้นอาจดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ตนได้รับการทดแทนและ/หรือชดเชยอย่างถูกต้องและครบถ้วนต่อไป (เช่น แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาล)
  • คู่พิพาท/คู่ความนั้นอาจพิจารณาเจรจาต่อรองกับคู่พิพาท/คู่ความอีกฝ่ายอีกครั้งเพื่อบรรลุข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย

นอกจากนี้ ข้อพิพาท/คดีอาญาที่เกิดจากการกระทำความผิดต่อแผ่นดิน (เช่น ฆ่าบุคคลอื่น ทำร้ายร่างกาย ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ ฉ้อโกงประชาชน) เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความกันได้ แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ก็ไม่ทำให้ความผิดอาญาดังกล่าวระงับไป เนื่องจากถือว่าเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่ข้อพิพาท/คดีความแพ่งที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว (เช่น การชดใช้ค่าเสียหาย) ย่อมสามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ โดย ความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับการใช้ชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่น หมิ่นประมาท ฉ้อโกงทั่วไป ยักยอกทรัพย์ บุกรุก หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้เสียทรัพย์ ผู้ใช้งานสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดอันยอมความได้ที่ เอกสารเผยแพร่ วารสารจุลนิติ วุฒิสภา: ความผิดอาญาแผ่นดิน และความผิดอันยอมความได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม