ข้อบังคับบริษัท กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

ข้อบังคับบริษัท

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 10/07/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด23 ถึง 36 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 10/07/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 23 ถึง 36 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

ข้อบังคับบริษัทคืออะไร

ข้อบังคับบริษัท หรือข้อบังคับของบริษัทจำกัด (Articles of Association) คือ กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบภายในของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกำหนดเกี่ยวกับการบริหารจัดการสำคัญๆ ของบริษัทซึ่งตกลงร่วมกันโดยผู้ถือหุ้นของบริษัท เช่น

  • การออกหุ้นของบริษัท
  • การโอนหุ้นของบริษัท
  • การเพิ่มทุนของบริษัท
  • การแต่งตั้งกรรมการของบริษัท
  • คุณสมบัติของกรรมการบริษัท
  • การประชุมคณะกรรมการ
  • การประชุมผู้ถือหุ้น

โดยที่ข้อบังคับบริษัทย่อมผูกพันและใช้บังคับกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท (เช่น ตัวผู้ถือหุ้นเอง กรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารบริษัท) และบุคคลเหล่านั้นก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ ระเบียบ วิธี และเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทนั้น ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

ข้อบังคับบริษัทฉบับนี้ถูกร่างบนพื้นฐานของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้กับบริษัทจำกัดทั่วไป (หรือ บริษัทจำกัดเอกชน) เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากข้อบังคับของบริษัทมหาชนซึ่งมีหลักเกณฑ์และข้อกำหนดเกี่ยวกับข้อบังคับที่แตกต่างกันและมีความเข้มงวดกว่า


ข้อบังคับบริษัทและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) แตกต่างกัน อย่างไร

แม้ข้อบังคับบริษัทและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) จะเกิดจากความตกลงและความเห็นชอบร่วมกันของผู้ถือหุ้นเหมือนกัน แต่ข้อบังคับบริษัทและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญ ไม่ว่าขอบเขตการผูกพันของผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นเองด้วยความสมัครใจจึงมีผลบังคับใช้และผูกพันเฉพาะกับผู้ถือหุ้นที่เข้าทำสัญญา/ความตกลงดังกล่าว เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากข้อบังคับบริษัทที่มีผลบังคับใช้และผูกพันทั่วไปกับทั้งตัวบริษัทเอง กรรมการของบริษัท และผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัท ไม่ว่าผู้ถือหุ้นปัจจุบัน หรือผู้ถือหุ้นในอนาคต รวมถึงมีผลบังคับใช้และผูกพันกับบุคคลภายนอกด้วย

สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นอาจนำไปใช้ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นต้องการกำหนดกลไกการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัทระหว่างกันในกรณีต่างๆ เป็นการเฉพาะนอกเหนือจากกลไกการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัททั่วไปที่ได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท เช่น

  • บริษัทมีผู้ถือหุ้นหลายกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีส่วนร่วมในการลงทุนและอำนาจการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
  • ผู้ถือหุ้นบางกลุ่มได้ให้ความสนับสนุนพิเศษทางการเงินหรือทรัพย์สินแก่บริษัท
  • ผู้ถือหุ้นบางรายมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการงานของบริษัท (เช่น ผู้ก่อตั้ง)

ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement)


จำเป็นต้องทำข้อบังคับบริษัท หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้ถือหุ้นต้องจัดทำข้อบังคับบริษัท ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่ได้จัดทำข้อบังคับบริษัท การดำเนินการสำคัญต่างๆ ของบริษัทก็จะต้องนำกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบทั่วไปที่กำหนดไว้ในกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทมาใช้เป็นข้อบังคับของบริษัท

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นจัดทำข้อบังคับบริษัท การดำเนินการสำคัญต่างๆ ของบริษัทก็จะต้องนำกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบที่กำหนดไว้เฉพาะในข้อบังคับบริษัทมาใช้ซึ่งอาจแตกต่างกับกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบทั่วไปและเป็นไปตามความต้องการและเจตนาของผู้ถือหุ้นของบริษัท ทั้งนี้ตราบเท่าที่กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทอนุญาต


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในข้อบังคับบริษัท

ผู้ถือหุ้นควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในข้อบังคับบริษัท ดังต่อไปนี้

  • บริษัท เช่น ชื่อของบริษัท
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับหุ้นและผู้ถือหุ้น เช่น จำนวนหุ้น หุ้นประเภทต่างๆ การออกหุ้น การโอนหุ้น
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับกรรมการบริษัท เช่น การแต่งตั้ง คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมกรรมการและประชุมผู้ถือหุ้น (ประชุมใหญ่) เช่น องค์ประชุม สิทธิออกเสียงของหุ้นแต่ละประเภท
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของบริษัท เช่น การสอบบัญชีและผู้สอบบัญชี การจ่ายเงินปันผล การเก็บเงินสำรอง
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการเลิกบริษัท เช่น เหตุเลิก
  • ข้อบังคับอื่นๆ เช่น การระงับข้อพิพาท


ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในข้อบังคับบริษัท

ผู้ถือหุ้นอาจตกลงกำหนดข้อบังคับบริษัทได้ตามความประสงค์และความต้องการของผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ดี ผู้ถือหุ้นไม่ควรรระบุ/กำหนดกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบลงในข้อบังคับบริษัทที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบที่ขัดหรือแย้งกับหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท เช่น ชื่อบริษัทไม่ตรงกัน ทุนและ/หรือจำนวนหุ้นไม่เท่ากัน สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ไม่ตรงกัน
  • กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (เช่น การคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอก) ในกรณีเช่นนี้ข้อบังคับบริษัทอาจกำหนดให้แตกต่างไปจากกฎหมายดังกล่าวได้ หากข้อบังคับได้กำหนดมาตรฐานที่สูงหรือเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นมากกว่าที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
  • กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบที่ขัดหรือแย้งต่อประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย เช่น

(1) ข้อบังคับที่ให้กรรมการอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกรรมการของบริษัทมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและต้องกระทำกิจการด้วยตนเอง
(2) ข้อบังคับที่ให้มติคณะกรรมการสามารถทำเป็นมติเวียนโดยไม่ต้องจัดประชุมคณะกรรมการนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายกำหนดให้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทก่อนการลงมติในเรื่องใดๆ


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำข้อบังคับบริษัท

ในการจัดทำข้อบังคับบริษัท ผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้เกี่ยวข้องอาจจำเป็นจะต้องดำเนินการตามกฎหมายก่อน แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่มีการกำหนดตกลงข้อบังคับบริษัทในการประชุมจัดตั้งบริษัท ข้อบังคับบริษัทจำเป็นจะต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมจัดตั้งบริษัทนั้น
  • ในกรณีที่มีการกำหนดตกลงข้อบังคับบริษัทในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท (เช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท) ข้อบังคับบริษัทจำเป็นจะต้องได้รับมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท โดยที่ มติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น คือ มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนเสียงเห็นชอบตั้งแต่สามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน


ข้อบังคับบริษัทเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อบังคับบริษัท ได้แก่

  • ผู้ถือหุ้น (เช่น เจ้าของหุ้น/เจ้าของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ตนถือหุ้น) ซึ่งเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการจัดทำข้อบังคับบริษัท
  • กรรมการ (เช่น ตัวแทนผู้มีอำนาจของบริษัทที่ผู้ถือหุ้นแต่งตั้งขึ้น) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในข้อบังคับบริษัทในนามบริษัท
  • ผู้เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัท เช่น ตัวผู้ถือหุ้นเอง กรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารบริษัท


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในข้อบังคับบริษัทแล้ว

ผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้เกี่ยวข้องอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้เกี่ยวข้องจัดทำข้อบังคับบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษร และให้กรรมการอย่างน้อย 1 คน ลงลายมือชื่อรับรองในข้อบังคับบริษัทที่จัดทำขึ้นให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ลงลายมือชื่อในข้อบังคับบริษัท
  • ผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้เกี่ยวข้องจัดทำสำเนาข้อบังคับบริษัทเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของบริษัทเพื่อการอ้างอิงในอนาคต
  • กรรมการนำข้อบังคับบริษัทไปจดทะเบียนกับนายทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่มีการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือภายใน 14 วันนับจากวันที่ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและลงมติพิเศษ แล้วแต่กรณี)
  • กรรมการอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจดทะเบียนข้อบังคับบริษัท เช่น อากรแสตมป์ข้อบังคับบริษัทฉบับละ 200 บาท ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ แล้วแต่กรณี
  • กรรมการอาจนำส่งสำเนาของข้อบังคับบริษัทให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียสำคัญกับบริษัทด้วยก็ได้ (เช่น ผู้ถือหุ้น กรรมการ กรรมการผู้จัดการ คณะกรรมการบริหาร เจ้าหนี้รายใหญ่ของบริษัท)

นอกจากผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจะมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัทแล้ว ผู้ถือหุ้นและกรรมการยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและระเบียบในเรื่องอื่นๆ ตามที่กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทกำหนดอีกด้วย หากบริษัทหรือกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามหน้าที่สำคัญที่กฎหมายกำหนดอาจมีความรับผิดทางอาญาตามกฎหมาย (เช่น ปรับ หรือจำคุก)


ข้อบังคับบริษัทจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น ข้อบังคับบริษัทจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับนายทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่มีการกำหนดตกลงข้อบังคับบริษัทในการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยกรรมการจะต้องนำข้อบังคับบริษัทไปจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับจากวันที่มีการประชุมจัดตั้งบริษัท
  • ในกรณีที่มีการกำหนดตกลงข้อบังคับบริษัทในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท (เช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท) กรรมการจะต้องนำข้อบังคับบริษัทใหม่นั้นไปจดทะเบียน ภายใน 14 วันนับจากวันที่ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและลงมติพิเศษ


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำข้อบังคับบริษัท

ผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้เกี่ยวข้องอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจดทะเบียนข้อบังคับบริษัทกับนายทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ข้อบังคับบริษัท ฉบับละ 200 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ในกรณีการจดทะเบียนข้อบังคับบริษัทพร้อมกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หรือค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ ในกรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทภายหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท แล้วแต่กรณี


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับบริษัท

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อบังคับบริษัทมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม