สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 06/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด20 ถึง 32 หน้า
4.8 - 3 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 06/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 20 ถึง 32 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.8 - 3 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น หรือบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) คือสัญญาซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเพื่อเป็นกลไกในการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัทโดยเฉพาะระหว่างผู้ถือหุ้นที่เข้าทำสัญญานั้น นอกเหนือจากกลไกการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัททั่วไปที่ได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้ว

โดยที่ ผู้ถือหุ้น ก็คือบุคคลที่นำเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของตนมาร่วมลงทุนกับผู้ถือหุ้นนอื่นๆ ในบริษัทเพื่อให้บริษัทนำไปใช้ในการเริ่มต้น และดำเนินกิจการ หรือลงทุนในกิจการหรือธุรกิจของบริษัทนั้น กล่าวคือผู้ถือหุ้นก็คือผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทนั่นเอง โดยที่จำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นคนนั้นถือ ก็แสดงถึงสัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทและสัดส่วนการลงทุนในบริษัทนั้น

โดยทั่วไปกลไกการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัทมักกำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทไว้เป็นการทั่วไปโดยผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น หรือบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นอาจนำไปใช้ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นต้องการกำหนดกลไกการกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัทระหว่างกันในกรณีต่างๆ เป็นการเฉพาะ ในกรณีต่างๆ เช่น

  • บริษัทมีผู้ถือหุ้นหลายกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีส่วนร่วมในการลงทุนและอำนาจการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
  • ผู้ถือหุ้นบางกลุ่มได้ให้ความสนับสนุนพิเศษทางการเงินหรือทรัพย์สินแก่บริษัท
  • ผู้ถือหุ้นบางรายมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการงานของบริษัท (เช่น ผู้ก่อตั้ง)

การกำหนด ควบคุม กำกับดูแล และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงานของบริษัทที่คู่สัญญาอาจตกลงกันไว้ในสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น เช่น

  • ข้อตกลงเกี่ยวกับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่บริษัท เช่น การลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท การสนับสนุนแหล่งเงินกู้ยืมแก่บริษัท
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพย์สินแก่บริษัท เช่น การโอนทรัพย์สินให้แก่บริษัท การให้สิทธิแก่บริษัทในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินเป็นระยะเวลาหนึ่ง
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนและ/หรือขายหุ้นของบริษัท เช่น การห้ามโอนและ/หรือขายหุ้นของบริษัทภายในระยะเวลา/เงื่อนไขที่กำหนด
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับตำแหน่งที่มีอำนาจจัดการงานของบริษัท เช่น กรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร/ฝ่ายการเงิน
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้น เช่น แนวทางการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

เนื่องจากสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นเองด้วยความสมัครใจจึงมีผลบังคับใช้และผูกพันเฉพาะกับผู้ถือหุ้นที่เข้าทำสัญญา/ความตกลงดังกล่าว เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากข้อบังคับบริษัทที่มีผลบังคับใช้และผูกพันทั่วไปกับทั้งตัวบริษัทเอง กรรมการของบริษัท และผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัท ไม่ว่าผู้ถือหุ้นปัจจุบัน หรือผู้ถือหุ้นในอนาคต รวมถึงมีผลบังคับใช้และผูกพันกับบุคคลภายนอกด้วย ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการจัดทำข้อบังคับบริษัท ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ข้อบังคับบริษัทซึ่งมีข้อความและเนื้อหาสำหรับการจัดทำข้อบังคับของบริษัทโดยเฉพาะ และ

สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นฉบับนี้ถูกร่างขึ้นสำหรับการจัดทำความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นของ บริษัทจำกัด เท่านั้น โดย ไม่รวมถึงการจัดทำความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัท จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการจัดทำความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลในรูปแบบอื่นๆ (เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น หรือบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ถือหุ้น เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • บริษัทผู้ออกหุ้น เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขที่ทะเบียนนิติบุคคลของบริษัทที่คู่สัญญาถือหุ้น
  • การถือหุ้น เช่น ประเภทและสัดส่วนการถือหุ้นของคู่สัญญา
  • ระยะเวลาสัญญา เช่น วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาการบังคับใช้
  • รายละเอียดความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น เช่น การสนับสนุนแหล่งเงินทุน การสนับสนุนทรัพย์สิน เงื่อนไขการโอนและ/หรือขายหุ้นของบริษัท ตำแหน่งที่มีอำนาจจัดการงานของบริษัท และการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้น
  • ข้อตกลงอื่น เช่น การห้ามค้าแข่ง ค่าปรับกรณีคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา (ถ้ามี) การระงับข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดย คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าทำสัญญา เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาคนอื่นๆ ที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

ข้อพิจารณา

สำหรับประเทศไทย กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทไม่ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น หรือบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นไว้โดยเฉพาะ สัญญาลักษณะดังกล่าวจึงอยู่บนพื้นฐานกฎหมายนิติกรรมและสัญญาทั่วไป อย่างไรก็ดี ได้ปรากฏแนวคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกายอมรับสัญญาลักษณะดังกล่าว โดยที่ความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือส่วนที่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (เช่น รูปแบบของบริษัทจำกัด รูปแบบผลตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท หลักการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อย) นอกจากนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทอื่นๆ ความตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นก็ควรจะสอดคล้องและ/หรือไม่ขัดต่อหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท และข้อบังคับบริษัท

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นไม่ใช่ข้อบังคับบริษัท และมีผลบังคับใช้/ความผูกพันแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ความตกลงกันระหว่างผู้ถือหุ้นตามสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของบริษัทให้สอดคล้องตามสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นในภายหลังได้ และมีผลบังคับใช้/ความผูกพันที่มากขึ้น หากผู้ถือหุ้นได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับตามกฎหมายและ/หรือตามข้อบังคับเดิมของบริษัท (เช่น จัดให้มีการลงมติพิเศษในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับบริษัท ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมดังกล่าว และจดทะเบียนเปลี่ยนแลงแก้ไขข้อบังคับกับนายทะเบียน)

ในกรณีที่มีการโอนและ/หรือขายหุ้นในภายหลังจากการจัดทำสัญญาฉบับนี้ ไม่ว่าระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง หรือระหว่างคู่สัญญากับบุคคลภายนอก ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาโอนหุ้นบริษัทเพื่อเป็นหนังสือหลักฐานสำหรับนิติกรรมการโอนและ/หรือขายหุ้นนั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม