สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด9 ถึง 14 หน้า
5 - 3 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 9 ถึง 14 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 5 - 3 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถหรือข้อตกลงให้บริการที่จอดรถเป็นสัญญาให้บริการชนิดหนึ่ง โดยมีคู่สัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ให้บริการซึ่งอาจเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในการบริหารงานนำพื้นที่จอดรถนั้นออกให้บริการและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่จอดรถดังกล่าว (เช่น นำรถยนต์เข้าไปจอดภายในพื้นที่ดังกล่าว) ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันโดยจะชำระค่าบริการนั้นให้แก่ผู้ให้บริการตามกำหนดเวลาและในอัตราที่ตกลงกัน

อย่างไรก็ดี ตามแนวคำพิพากษาในประเทศไทยพบว่าแม้จะมีการทำสัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถ แต่หากมีการนำทรัพย์สิน เช่น รถยนต์เข้าไปในสถานที่จอดรถโดยอยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการ ศาลมักพิจารณาให้เป็นการฝากทรัพย์โดยลักษณะการให้บริการที่มีการนำยานพาหนะหรือรถยนต์นั้นให้อยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น ผู้ให้บริการจัดให้มีการแลกบัตรเข้าออกพื้นที่จอดรถ ผู้ให้บริการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณพื้นที่จอดรถ หรือมีการส่งมอบกุญแจรถยนต์ให้แก่ผู้ให้บริการหรือตัวแทนของผู้ให้บริการเพื่อดูแลรถยนต์ในขณะที่ผู้ใช้บริการไม่อยู่ (ข้อสังเกต: ในแต่ละกรณีอาจมีการพิจารณาคดีที่แตกต่างไปขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีนั้นๆ โดยเฉพาะ) โดยหากมีลักษณะเป็นการฝากทรัพย์แล้ว หน้าที่ของคู่สัญญาก็จะแตกต่างกัน เช่น

  • ผู้รับฝาก (ผู้ให้บริการ) จะมีหน้าที่ต้องดูแลรักษายานพาหนะหรือรถยนต์ที่นำมาไว้ภายในสถานที่จอดรถด้วย
  • หากยานพาหนะหรือรถยนต์ได้รับความเสียหายจากบุคคลภายนอก เช่น ถูกโจรกรรม ผู้รับฝาก (ผู้ให้บริการ) ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายนั้นด้วย
  • ค่าตอบแทนสำหรับค่าบริการฝากทรัพย์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มประมวลรัษฎากรซึ่งแตกต่างจากค่าเช่า ที่ได้รับการยกเว้นภาษีดังกล่าว

ดังนั้น หากการให้บริการพื้นที่จอดรถมีลักษณะที่ผู้ใช้บริการมีสิทธิครอบครองในสถานที่จอดรถได้อย่างเต็มที่ เช่น ผู้ใช้บริการมีการจัดหาและดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่จอดรถนั้นเอง โดยที่ผู้ให้บริการไม่สามารถหรือไม่มีสิทธิเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่จอดรถนั้นเป็นการปกติ คู่สัญญาควรเลือกใช้แบบสัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ แทนการใช้แบบสัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถฉบับนี้


การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถหรือข้อตกลงให้บริการที่จอดรถ ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ระบุ ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการที่จอดรถ เช่น รายละเอียดของสถานที่จอดรถ เงื่อนไขการใช้สถานที่จอดรถ ระยะเวลาการให้บริการ อัตราค่าบริการ และเงื่อนไขอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักประกันการใช้บริการ การจัดทำประกันภัย เบี้ยปรับในกรณีต่างๆ
  • จัดทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวน 2 ฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับและใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย ในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคล
  • ดำเนินการติดอากรแสตมป์หรือชำระเงินแทนการติดอากรแสตมป์ ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม