หนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 09/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 09/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ คือ หนังสือที่ผู้คัดค้านจัดทำขึ้นโดยฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาหรือแสดงความประสงค์ที่จะคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการต่อหน่วยงานของรัฐ (เช่น หน่วยงานราชการ กระทรวง/กรม) ที่กำลังจะทำการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นๆ เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้คัดค้าน

โดยการคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นสิทธิของผู้ที่อาจได้รับอาจผลกระทบ หรือผู้ที่มีประโยชน์ได้เสียจากการที่หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ) ซึ่งอาจเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ผู้คัดค้านได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เสนอคำคัดค้านและประสงค์จะคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียเสนอคำคัดค้านภายในระยะเวลาที่กำหนดในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของบุคคลนั้น
  • ผู้คัดค้านทราบถึงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียด้วยตนเอง และประสงค์จะคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าว

หนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการฉบับนี้ ถูกร่างขึ้นสำหรับการคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการต่อหน่วยงานของรัฐที่กำลังจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นโดยเฉพาะ ในกรณีที่

  • ผู้ใช้งานได้เคยทำหนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการต่อหน่วยงานของรัฐแล้ว แต่ไม่พอใจในการใช้ดุลพินิจหรือการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐดังกล่าว (เช่น หน่วยงานของรัฐไม่พิจารณาคำคัดค้าน หน่วยงานของรัฐไม่แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านทราบโดยเร็ว หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน) ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ หนังสือร้องเรียน/อุทธรณ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อร้องเรียนการปฏิบัติงาน/อุทธรณ์คำสั่งหน่วยงานของรัฐต่อ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • ผู้ใช้งานต้องการขอรับหรือร้องขอต่อหน่วยงานของรัฐให้หน่วยงานของรัฐนั้นๆ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ หนังสือร้องขอเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อร้องขอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเปิดเผยข้อมูล

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการฉบับนี้ ผู้จัดทำ ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • ผู้คัดค้าน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิง
  • หน่วยงานของรัฐ เช่น ชื่อของหน่วยงานของรัฐที่ต้องการจะคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
  • ข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น รายละเอียด ขอบเขต ประเภท ชนิด จำนวนข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจะคัดค้านการเปิดเผย
  • ประโยชน์ได้เสีย เช่น ผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้คัดค้านหากมีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
  • เอกสาร/หลักฐาน (ถ้ามี) เช่น รายละเอียดอ้างอิงบันทึกข้อความ คำสั่ง สัญญาแสดงสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่คัดค้านการเปิดเผย

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้คัดค้านหรือตัวแทนของผู้คัดค้าน โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของผู้คัดค้านที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องประกอบหนังสือดังกล่าว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน) หรือหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมแนบเอกสาร/หลักฐาน (ถ้ามี) ให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ต้องการคัดค้านตามวิธี สถานที่ และช่องทางการติดต่อที่จัดให้มี เพื่อหน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้พิจารณาอ้างอิงและดำเนินการตามคำคัดค้านต่อไป (เช่น ดำเนินการพิจารณาคำคัดค้าน และใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว)

ข้อพิจารณา

โดยทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สาธารณะชนรับทราบโดยทั่วไป ตามลำดับขั้นของข้อมูล และวิธีการ/ช่องทางที่กำหนด เช่น การประกาศและจัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารของราชการลงในราชกิจจานุเบกษา หรือจัดข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ตามวิธีการ ช่องทาง และสถานที่ที่กำหนด

อย่างไรก็ดี ในบางกรณีหน่วยงานของรัฐอาจมีดุลพินิจไม่เปิดเผยข้อมูลบางประการได้ เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ การบังคับใช้กฎหมาย ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐ อันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร และในบางกรณีหน่วยงานของรัฐต้องห้ามเปิดเผยข้อมูลโดยเด็ดขาด เช่น ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • แนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม