หนังสือเชิญประชุม กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือเชิญประชุม

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 27/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด1 ถึง 2 หน้า
5 - 1 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 27/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 1 ถึง 2 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 5 - 1 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือเชิญประชุม หรือหนังสือเรียกประชุม คือ หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยผู้เรียกประชุมซึ่งเป็นบุคคลที่มีสิทธิ หรือหน้าที่ในการเรียกประชุมตามข้อบังคับและ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมนั้นๆ โดยอาจเป็น บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (เช่น ประธานผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการ สมาชิก) หรือคณะบุคคล (เช่น คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร กลุ่มผู้ถือหุ้น) ก็ได้ เพื่อเรียกและ/หรือนัดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมนั้นมาเข้าร่วมประชุม และร่วมปรึกษาหารือในประเด็นวาระต่างๆ ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด

หนังสือเชิญประชุมประชุมฉบับนี้สามารถนำไปใช้ในการเชิญประชุม หรือนัดประชุมได้ทั่วไป อันรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง การประชุม ดังต่อไปนี้

  • ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท
  • ประชุมคณะกรรมการบริษัท
  • ประชุมหุ้นส่วนทุกคน
  • ประชุมหุ้นส่วนผู้จัดการ
  • ประชุมจัดตั้งบริษัท
  • ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุด
  • ประชุมคณะกรรมการอาคารชุด
  • ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
  • ประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร
  • ประชุมสมาคม (ประชุมใหญ่)
  • ประชุมคณะกรรมการสมาคม
  • ประชุมสมาคมการค้า (ประชุมใหญ่)
  • ประชุมคณะกรรมการสมาคมการค้า
  • ประชุมสมาชิกสหกรณ์ (ประชุมใหญ่)
  • ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์
  • ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
  • การประชุมอื่นๆ


การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือเชิญประชุม หรือหนังสือเรียกประชุม ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • การประชุม เช่น ชื่อการประชุม ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่จัดการประชุม ครั้งที่ และ/หรือปีที่จัดประชุม ในกรณีการจัดประชุมประจำปี
  • กำหนดการประชุม เช่น วัน เวลา และสถานที่จัดการประชุม
  • เนื้อหาการประชุม เช่น รายละเอียดระเบียบวาระการประชุม รายการเอกสารประกอบการประชุมที่ส่งมาพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม
  • รายละเอียดอื่นๆ เช่น ผู้เรียกประชุม ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมดังกล่าว แบบตอบรับเข้าการร่วมประชุม

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือเชิญประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้เรียกประชุม หรือตัวแทน แล้วแต่กรณี ลงนามในหนังสือเชิญประชุมฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงในอนาคต

ผู้จัดทำควรจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่สมาชิกของที่ประชุมนั้นล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการที่ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมดังกล่าวนั้นกำหนดไว้ (ถ้ามี)

ข้อพิจารณา

การประชุมแต่ละประเภทอาจไม่มีหรือมีข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมที่แตกต่างกันไป ผู้ใช้งานควรตรวจสอบข้อบังคับหรือกฎหมายของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวกับการจัดการประชุมนั้นๆ ว่ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธี หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และเงื่อนไขในการเรียกประชุมไว้ หรือไม่ อย่างไร เช่น

  • การประชุมผู้ถือหุ้น กฎหมายกำหนดให้กรรมการของบริษัทจะต้องส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือไม่น้อยกว่า 14 วัน ในกรณีที่การประชุมนั้นจะต้องมีการลงมติพิเศษ โดย ผู้ใช้งานอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทได้จาก คู่มือทางกฎหมาย: การจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีความสำคัญอย่างไร และจัดประชุมอย่างไรให้ถูกต้อง บนเว็บไซต์ของเรา
  • การประชุมสมาคม (ประชุมใหญ่) กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ระบุระเบียบวาระการประชุม และจัดส่งรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วย
  • การประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุด กฎหมายกำหนดให้ต้องระบุระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร และจัดส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
  • การประชุมใหญ่สมาชิกหมู่บ้านจัดสรร กฎหมายกำหนดเป็นไปตามข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ได้จัดทะเบียนไว้

เมื่อได้จัดให้มีการประชุมขึ้นตามวัน เวลา และสถานที่นัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานอาจจัดทำ รายงานการประชุมทางธุรกิจ รายงานการประชุมนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด หรือรายงานการประชุมทั่วไป แล้วแต่กรณี เพื่อบันทึกรายละเอียดการประชุม การปรึกษาหารือ และการลงมติในระเบียบวาระต่างๆ ของผู้เข้าร่วมประชุมไว้เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรแห่งการประชุมนั้นๆ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม