สัญญาเก็บรักษาความลับ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเก็บรักษาความลับ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 24/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด12 ถึง 19 หน้า
4.8 - 28 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 24/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 12 ถึง 19 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.8 - 28 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเก็บรักษาความลับ หรือสัญญาเก็บรักษาข้อมูล เป็นสัญญาระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย โดยที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เปิดเผยข้อมูล และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับข้อมูลดังกล่าวนั้น ซึ่งในบางกรณี คู่สัญญาแต่ละฝ่ายอาจเป็นทั้งผู้เปิดเผยข้อมูลและเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาเดียวกันก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของการเปิดเผยข้อมูลนั้น

ในสัญญาเก็บรักษาความลับนั้น โดยทั่วไป มักจะกำหนดหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ได้รับข้อมูลไม่ให้เปิดเผยข้อมูลความลับนั้น ตามระยะเวลาที่ตกลง โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับธุรกรรม หรือความสัมพันธ์ของคู่สัญญานั้นๆ เช่น มีการเปิดเผย หรือเข้าถึงข้อมูลเนื่องจากการจ้างแรงงาน การร่วมธุรกิจหรือกิจการกัน การเจรจาทางธุรกิจ การซื้อขายกิจการ การให้คำปรึกษา หรือการให้บริการต่างๆ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลของผู้รับบริการ นอกจากนี้ คู่สัญญายังอาจสามารถตกลงหน้าที่ความรับผิดอื่นๆ เช่น หน้าที่และมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการเปิดเผยข้อมูล การสงวนสิทธิ์ หรือ ค่าปรับในกรณีที่คู่สัญญาที่มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับปฏิบัติผิดสัญญาอีกด้วย

 

การนำไปใช้

สาระสำคัญของสัญญาเก็บรักษาความลับคือหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลความลับ ที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับนั้น หรือเปิดเผยได้ตามที่กฎหมายบังคับหรือตามเงื่อนไขที่สัญญากำหนดเท่านั้น ดังนั้น การกำหนดขอบเขตของข้อมูลความลับให้ชัดเจนว่ารวมถึงข้อมูลกลุ่มใด ประเภทใดบ้าง ไม่รวมถึงข้อมูลประเภทใด ส่วนได้บ้าง จะช่วยให้คู่สัญญาที่มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับรู้บทบาทหน้าที่ของตนว่าสามารถใช้ข้อมูลที่ได้รับมาได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูล หรือผู้เปิดเผยข้อมูล จากการที่ข้อมูลความลับนั้นถูกเผยแพร่ออกไปด้วย

ระยะเวลาการเก็บรักษาความลับ คู่สัญญาสามารถกำหนดตกลงระยะเวลาหน้าที่การเก็บรักษาข้อมูลความลับ ของคู่สัญญาฝ่ายที่รับข้อมูลตามที่คู่สัญญาเห็นสมควรได้ หรือหากข้อมูลความลับนั้นถือเป็นความลับทางการค้า (Trade Secret) ของผู้เปิดเผย ผู้เปิดเผยหรือผู้ให้ข้อมูลอาจกำหนดให้ ผู้รับข้อมูล มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับนั้นไปตลอดจนกว่าความลับทางการค้านั้นจะไม่ถือเป็นความลับทางการค้าอีกต่อไป ก็ได้

โดยทั่วไป การเข้าทำสัญญาเก็บรักษาความลับที่เกี่ยวเนื่องมาจากการทำนิติกรรม หรือธุรกรรมอย่างอื่นด้วย เช่น การจ้างแรงงาน หรือการรับบริการที่ปรึกษา คู่สัญญาอาจกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาความลับโดยอ้างอิงระยะเวลาของสัญญาซึ่งเป็นที่มาของการทำสัญญาเก็บรักษาความลับเป็นเงื่อนไขการสิ้นสุด หรือการนับระยะเวลาการเก็บรักษาความลับก็ได้

ในกรณีที่คู่สัญญาทำผิดสัญญา เช่น นำข้อมูลความลับไปเปิดเผยโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาที่ตกลงกัน นอกจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาจะต้องชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้เปิดเผยหรือเจ้าของข้อมูลจากการกระทำดังกล่าวแล้ว คู่สัญญาอาจตกลงค่าปรับ กำหนดความเสียหายล่วงหน้าเอาไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการกระทำผิดสัญญา

ในการทำสัญญาเก็บรักษาความลับในบางกรณี คู่สัญญามักให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลเข้าทำสัญญาการห้ามค้าแข่ง หรือสัญญาการห้ามชักชวนด้วย เพื่อห้ามไม่ให้ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลนั้นไปประกอบธุรกิจ หรือไปเป็นลูกจ้างของธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน หรือกระทำการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจหรือกิจการของผู้เปิดเผยหรือผู้เป็นเจ้าของข้อมูลความลับนั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองและความเคร่งครัดในการรักษาความลับของเจ้าของข้อมูลนั้น

การทำสัญญาเก็บรักษาความลับ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายควรจะลงนามในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย

ทั้งนี้ ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัท 2 คนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ บุคคล เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคลโดยเอกสารที่เป็นสำเนาและเป็นเอกสารของบุคคล ต้องให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาด้วย ในกรณีที่เจ้าของเอกสารนั้นเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรอง หรือสำเนาเอกสารอื่นใดที่เป็นของนิติบุคคล ผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจะต้องเป็นไปตามผู้ลงนามและเงื่อนไขการลงนามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ลงนามและเงื่อนไขเหมือนกับการลงนามในสัญญา

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สัญญาเก็บรักษาความลับเป็นสัญญาประเภทหนึ่งจึงอยู่บนพื้นฐานของหลักสัญญาทั่วไป เช่น หากมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมาย ก็จะถือว่าสัญญาโมฆะ กล่าวคือ ถือว่าไม่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวขึ้นเลย เช่น มีการตกลงให้ผู้เก็บรักษาข้อมูลความลับ ซึ่งเป็นข้อมูลหลักฐานในการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดอาญานั้น เช่นนี้ สัญญาดังกล่าวย่อมไม่สามารถใช้บังคับได้

นอกจากนี้ หากคู่สัญญาฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับตามสัญญาได้กระทำผิดสัญญา นอกจากจะต้องรับผิดชอบค่าปรับที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาและความเสียหายทางแพ่งแล้ว หากการกระทำดังกล่าวของผู้เปิดเผยข้อมูลเข้าองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยความลับตาม ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานเปิดเผยความลับ ด้วยแล้ว ผู้เปิดเผยข้อมูลนั้นๆ ก็อาจมีความผิดทางอาญาอีกด้วย

อนึ่ง หากข้อมูลความลับตามสัญญาเก็บรักษาความลับเป็นข้อมูลตามคำนิยาม "ความลับทางการค้า" (Trade Secret) ตาม พระราชบัญญัติความลับทางการค้า ด้วยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ยังจะอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวอีกด้วย

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม