พินัยกรรม กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

พินัยกรรม

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 08/04/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด8 ถึง 12 หน้า
4.7 - 61 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 08/04/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 8 ถึง 12 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.7 - 61 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

พินัยกรรมคืออะไร

พินัยกรรม คือ นิติกรรมอย่างหนึ่งที่จัดทำโดยผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งมีเนื้อหาแสดงเจตจำนงสุดท้ายของบุคคลซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการงานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท และบุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย (เช่น เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายจะต้องจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรมอย่างไร จะต้องจัดการศพ/พิธีศพของผู้ทำพินัยกรรมอย่างไร)

ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดให้สิทธิหรือประโยชน์ใดๆ แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย (เช่น การยกทรัพย์สินให้ หรือการปลดหนี้ให้) บุคคลผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน/ประโยชน์ตามพินัยกรรมนั้นจะเป็นผู้รับพินัยกรรม


พินัยกรรมมีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

พินัยกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามกฎหมาย ซึ่งพินัยกรรมแต่ละประเภทจะมีวิธีการ แบบ และเงื่อนไขในการทำพินัยกรรมที่แตกกัน ดังต่อไปนี้

  • พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวันที่ทำพินัยกรรม ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน
  • พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องทำเป็นหนังสือซึ่งผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความด้วยลายมือลงในพินัยกรรมนั้นเองทั้งหมด ลงวันที่ทำพินัยกรรม และลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม
  • พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ต้องไปแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะให้ลงไว้ในพินัยกรรมต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐจดบันทึกข้อความตามที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้ง และดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  • พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมและนำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก และลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้นอีกครั้ง และนำซองที่ผลึกแล้วนั้นไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ พร้อมกับพยานอีกอย่างน้อย 2 คน
  • พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน โดยพินัยกรรมประเภทนี้จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อในขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสถานการณ์พิเศษตามที่กฎหมายกำหนด เท่านั้น (เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด สงคราม)

พินัยกรรมที่ให้บริการบนเว็บไซต์ของเราฉบับนี้เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา เท่านั้น อย่างไรก็ดี พินัยกรรมแบบธรรมดาอาจนำไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับในลำดับต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น แจ้งความประสงค์และบันทึกข้อความต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)


พินัยกรรมประเภทที่นิยมใช้

โดยทั่วไป พินัยกรรมแบบธรรมดามักเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ทำพินัยกรรม เนื่องจาก

  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถดำเนินการจัดทำพินัยกรรมได้ด้วยตนเอง จึงมีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ในทันทีที่ผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรม ในขณะที่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องไปดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (เช่น แจ้งความประสงค์และบันทึกข้อความต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)
  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถดำเนินการจัดทำพินัยกรรมได้ด้วยการพิมพ์เอกสารจากคอมพิวเตอร์ (Print) ได้ซึ่งมีความชัดเจนและสะดวกกว่าพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับที่ผู้ทำพินัยกรรมจำเป็นต้องเขียนข้อความด้วยลายมือลงในพินัยกรรมนั้นเองทั้งหมดซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับลายมือของผู้ทำพินัยกรรม (เช่น การอ่านลายมือของผู้ทำพินัยกรรมไม่ออก ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความไม่ชัดเจน ผู้ทำพินัยกรรมไม่สะดวกเขียนข้อความจำนวนมากด้วยลายมือ)
  • พินัยกรรมแบบธรรมดาจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน จึงทำให้พินัยกรรมแบบธรรมดาอาจสามารถลดข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการจัดทำพินัยกรรมได้ (เช่น การกล่าวอ้างพินัยกรรมปลอม การปลอมแปลงข้อความในพินัยกรรม)
  • พินัยกรรมแบบธรรมดาไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานการณ์/เหตุการพิเศษอันเป็นเงื่อนไขในการจัดทำพินัยกรรม (เช่น อยู่ในอันตรายใกล้ตาย มีโรคระบาด สงคราม) ผู้ทำพินัยกรรมจึงสามารถดำเนินการจัดทำพินัยกรรมได้ในทันทีที่ผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์จะทำพินัยกรรม


พินัยกรรมและพินัยกรรมชีวิต (Living Will) แตกต่างกัน อย่างไร

ถึงแม้พินัยกรรมและพินัยกรรมชีวิต (Living Will) จะมีชื่อว่าพินัยกรรมและจัดทำโดยบุคคลผู้ทำพินัยกรรมเหมือนกัน แต่เอกสารทั้ง 2 ฉบับมีความแตกต่างกัน

โดยที่ พินัยกรรมตามกฎหมายมรดกเป็นหนังสือที่แสดงเจตนา/กำหนดความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังจากผู้ทำพินัยกรรมตายเอาไว้ล่วงหน้า (เช่น เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายจะต้องจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรมอย่างไร จะต้องจัดการศพ/พิธีศพของผู้ทำพินัยกรรมอย่างไร) ในขณะที่พินัยกรรมชีวิต (Living Will) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนังสือที่แสดงเจตนา/กำหนดความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมในเรื่องเกี่ยวการรับบริการสาธารณสุขในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่เอาไว้ล่วงหน้า (เช่น การปฏิเสธการรักษาเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต การปฏิเสธการรักษาเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย) เพื่อให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบถึงความประสงค์เกี่ยวกับเจตนา/ความต้องการในการรับการรักษา/การรับบริการสาธารณสุขของผู้ทำพินัยกรรม ทั้งนี้ เนื่องจากอาจมีเหตุการณ์ที่อาจทำให้ผู้ทำพินัยกรรมเจ็บป่วยจนไม่ได้สติ ไม่สามารถตอบสนอง/สื่อสารได้ แต่ยังมีชีวิตอยู่


จำเป็นต้องทำพินัยกรรม หรือไม่

จำเป็น ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการกำหนดให้มีการจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรม (เช่น การแบ่งทรัพย์สิน) และเรื่องอื่นๆ (เช่น การจัดการศพ การตั้งผู้ปกครองบุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์ของผู้ทำพินัยกรรม) หลังความตาย ให้เป็นไปตามความประสงค์/ความต้องการของผู้ทำพินัยกรรมโดยเฉพาะและ/หรือให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนด ในกรณีเช่นนี้ ผู้จัดการมรดกและ/หรือทายาทจะต้องดำเนินการจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรมและเรื่องอื่นๆ ตามที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ในพินัยกรรม

ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้จัดทำพินัยกรรมเอาไว้ ทายาทจะต้องดำเนินการจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรมและเรื่องอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีที่มีกฎหมายกำหนด (เช่น การแบ่งมรดกให้ทายาทโดยธรรมตามลำดับและสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด) หรือตามที่ทายาทเห็นสมควรในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนด (เช่น การจัดการศพตามพิธีกรรมทางศาสนา)


มรดกคืออะไร

มรดกของผู้ทำพินัยกรรม คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สินต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งอาจรวมถึงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ณ ขณะที่ทำพินัยกรรมหรือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น

  • ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินสด เงินในบัญชีธนารคาร ตราสารหนี้/ตราสารทุนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ทำพินัยกรรม
  • สิทธิ เช่น สิทธิในหนี้เงินกู้ที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นเจ้าหนี้ สิทธิในค่าสินไหมทดแทนค้างชำระต่างๆ ที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องต่างๆ ตามกฎหมายและ/หรือตามสัญญาที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นคู่สัญญา
  • หน้าที่/ความรับผิด เช่น หน้าที่ที่ต้องโอนทรัพย์สินให้ธนาคารตามสัญญาจำนอง หนี้สินที่ผู้ทำพินัยกรรมก่อขึ้น

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยแท้ ซึ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยกฎหมาย หรือสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมโดยสภาพ (เช่น สิทธิการเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการได้รับบรรจุเข้าทำงานกับนายจ้างเอกชน/ราชการ)


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในพินัยกรรม

ผู้ทำพินัยกรรมควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในพินัยกรรม ดังต่อไปนี้

  • ผู้ทำพินัยกรรม เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุเพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • พยาน (อย่างน้อย 2 คน) เช่น ชื่อ ที่อยู่
  • วันที่ทำพินัยกรรม
  • ความประสงค์ในการการจัดการทรัพย์สินมรดกของผู้ทำพินัยกรรม เช่น ผู้จัดการมรดก วิธีการจัดการมรดก การแบ่งทรัพย์สิน กำหนดระยะเวลาการจัดการมรดก การปลดหนี้
  • ความประสงค์ในเรื่องอื่นๆ เช่น การจัดการศพ การตั้งผู้ปกครองบุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์ของผู้ทำพินัยกรรม การจัดตั้งมูลนิธิ


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำพินัยกรรม

ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำพินัยกรรม

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามกฎหมาย ในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี บริบูรณ์
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดี
  • ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระและมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรม (เช่น ไม่ได้ถูกข่มขู่/หลอกลวงให้ทำพินัยกรรม)


พินัยกรรมเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรม ได้แก่

ผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งเป็นบุคคลที่จัดทำและลงนามในพินัยกรรม และต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามกฎหมาย ในขณะที่ทำพินัยกรรม เช่น

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี บริบูรณ์
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดี
  • ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระและมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรม (เช่น ไม่ได้ถูกข่มขู่/หลอกลวงให้ทำพินัยกรรม)

ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลที่ได้รับสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ตามที่ผู้ทำพินัยกรรมระบุหรือกำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่ผู้รับพินัยกรรมอาจมีลักษณะ เช่น

  • ผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นบุคคลธรรมดา (เช่น บุตรหรือญาติของผู้รับพินัยกรรม) หรือนิติบุคคลก็ได้ (เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือมูลนิธิ)
  • ผู้รับพินัยกรรมจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมนั้น
  • ผู้รับพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรมนั้น (ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เขียนหรือพิมพ์พินัยกรรมเอง)

ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการมรดกของผู้ทำพินัยกรรมไปในแนวทางหรือไปในลักษณะที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่ ผู้จัดการมรดกอาจมีลักษณะ เช่น

  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนเดี่ยวหรือหลายคนก็ได้
  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดอำนาจและเงื่อนไขการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกได้
  • ผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ
  • ผู้จัดการมรดกจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
  • ผู้จัดการมรดกจะต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้จัดการมรดกจะต้องไม่กระทำการใดๆ หรือทำนิติกรรมใดๆ ในนามของกองมรดกของผู้ทำพินัยกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือมีส่วนได้เสียกับตัวผู้จัดการมรดกเอง (Conflict of Interest) อย่างไรก็ดี หากในพินัยกรรมระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ผู้จัดการมรดกจัดการมรดกไปในลักษณะดังกล่าว หรือมีข้อความระบุไว้ชัดเจนยอมรับให้ผู้จัดการมรดกสามารถดำเนินการในลักษณะดังกล่าวได้กับนิติกรรมบางอย่าง ผู้จัดการมรดก ก็สามารถทำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบ


บุคคลใดไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำพินัยกรรม

กฎหมายกำหนดคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมในขณะที่ทำพินัยกรรม เอาไว้อย่างชัดเจน เช่น

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปี บริบูรณ์
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดี
  • ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระและมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรม (เช่น ไม่ได้ถูกข่มขู่/หลอกลวงให้ทำพินัยกรรม)

ดังนั้น บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำพินัยกรรมตามที่กฎหมายกำหนดข้างต้นย่อมไม่สามารถลงนามและ/หรือเข้าทำพินัยกรรมได้


ควรกำหนดระยะเวลาของพินัยกรรม อย่างไร

พินัยกรรมไม่มีการกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ โดยพินัยกรรมจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย เท่านั้น

โดย ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดกรอบระยะเวลาการจัดการและแบ่งปันมรดกไว้ในพินัยกรรม ซึ่งผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินการจัดการและแบ่งปันมรดกให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในพินัยกรรมแล้ว

ผู้ทำพินัยกรรมควรจัดทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามในพินัยกรรมดังกล่าวให้เรียบร้อย รวมถึงให้พยานอย่างน้อย 2 คน ลงนามรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมด้วย

ผู้ทำพินัยกรรมควรขอเอกสารแสดงตัวตนของพยานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบพินัยกรรมไว้ด้วย (เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาทะเบียนบ้าน)

ผู้ทำพินัยกรรมอาจจัดทำพินัยกรรมเป็นหลายฉบับที่มีข้อความเหมือนกันก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ทำพินัยกรรมควรระบุจำนวนฉบับที่ทำขึ้นและชื่อผู้เก็บรักษาพินัยกรรมแต่ละฉบับนั้นด้วย

ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม เช่น เอกสารแสดงตัวตนของพยานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาทะเบียนบ้าน) รายการทรัพย์สินมรดกที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินมรดกที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบพินัยกรรมด้วย หรือไม่

ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม เช่น

  • เอกสารแสดงตัวตนของพยานที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สำเนาทะเบียนบ้าน)
  • รายการทรัพย์สินมรดกที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนของทรัพย์สินมรดกที่อ้างอิงถึงในพินัยกรรม (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตราสาร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ สมุดคู่ฝากบัญชีธนาคาร)


พินัยกรรมจำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public) หรือไม่

ไม่จำเป็น พินัยกรรมแบบธรรมดาไม่จำเป็นจะต้องได้การรับรองลายมือชื่อหรือรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public)

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมต้องการให้พินัยกรรมมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและเพื่อป้องกันข้อโต้แย้ง/ข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรม (เช่น การกล่าวอ้างพินัยกรรมปลอม การปลอมแปลงข้อความในพินัยกรรม) ผู้ทำพินัยกรรมอาจพิจารณานำพินัยกรรมไปดำเนินการรับรองเอกสารกับทนายความที่ขึ้นทะเบียน (Notary Public) หรือนำพินัยกรรมแบบธรรมดาไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับซึ่งพินัยกรรมจะได้รับการรับรองเอกสารจากหน่วยงานของรัฐ (เช่น ผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)


พินัยกรรมจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ไม่จำเป็น พินัยกรรมแบบธรรมดาไม่จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมจะนำพินัยกรรมแบบธรรมดาไปใช้ประกอบการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง และพินัยกรรมแบบเอกสารลับในลำดับต่อไป ผู้ทำพินัยกรรมอาจจำเป็นต้องไปดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น แจ้งความประสงค์และบันทึกข้อความต่อผู้อำนวยการเขต/นายอำเภอ)


พินัยกรรมจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

จำเป็น ในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดาจำเป็นต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานจะต้องมีคุณสมบัติ/ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • พยานห้ามเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม/ผู้รับมรดกในพินัยกรรม
  • พยานต้องบรรลุนิติภาวะ ณ วันที่ลงนามรับรองเป็นพยานในพินัยกรรม
  • พยานต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนซึ่งไร้ความสามารถ
  • พยานต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้ง 2 ข้าง

พยานเป็นสาระสำคัญของการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ในกรณีที่ไม่มีพยานลงนามรับรองในพินัยกรรมแบบธรรมดาอาจทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และไม่สามารถบังคับใช้ได้


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำพินัยกรรมมี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม