สัญญาซื้อขายยานพาหนะ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาซื้อขายยานพาหนะ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/04/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด6 ถึง 10 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/04/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 6 ถึง 10 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาซื้อขายยานพาหนะคืออะไร

สัญญาซื้อขายยานพาหนะ (เช่น สัญญาซื้อขายรถยนต์ สัญญาซื้อขายรถเก๋ง สัญญาซื้อขายรถกระบะ สัญญาซื้อขายรถบรรทุก สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ สัญญาซื้อขายเรือ) คือ สัญญาซื้อขายที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่ายเป็นผู้ซื้อและผู้ขาย โดยที่ผู้ซื้อตกลงซื้อยานพาหนะจากผู้ขายมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง และตกลงจะชำระราคาค่ายานพาหนะนั้นให้แก่ผู้ขาย

สัญญาซื้อขายยานพาหนะมีกี่ประเภท

สัญญาซื้อขายยานพาหนะอาจแบ่งตามประเภทของยานพาหนะที่ซื้อขายได้ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาซื้อขายรถเก๋ง
  • สัญญาซื้อขายรถกระบะ
  • สัญญาซื้อขายรถบรรทุก
  • สัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์
  • สัญญาซื้อขายเรือ
  • สัญญาซื้อขายยานพาหนะอื่นๆ

สัญญาซื้อขายยานพาหนะและสัญญาซื้อขายทรัพย์สินอย่างอื่นแตกต่างกัน อย่างไร

สัญญาซื้อขายยานพาหนะและสัญญาซื้อขายทรัพย์สินอย่างอื่นต่างก็เป็นสัญญาซื้อขายเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดี สัญญาซื้อขายยานพาหนะถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายยานพาหนะโดยเฉพาะ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่ยานพาหนะ คู่สัญญาอาจเลือกใช้สัญญาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการซื้อขายทรัพย์สินนั้นๆ ซึ่งถูกร่างขึ้นโดยมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายทรัพย์สินนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น

  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายสินค้าทั่วไป (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ วัสดุ/วัตถุดิบ เครื่องมืออุปกรณ์) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาซื้อขายสินค้าซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วไป
  • คู่สัญญาตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน อาคาร ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง) ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกร่างและมีข้อสัญญาสำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ

จำเป็นต้องทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญาลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การซื้อขายทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่า 20,000 บาท จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ในกรณีที่มีคู่สัญญาผิดสัญญา (เช่น ผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงินค่ารถยนต์ ผู้ขายไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด)

  • มีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของคู่สัญญา
  • ได้มีการวางประจำ/มัดจำไว้
  • ได้ชำระหนี้ไว้บางส่วนแล้ว

ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาซื้อขายยานพาหนะ

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาซื้อขายยานพาหนะ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • ยานพาหนะ เช่น ประเภท ยี่ห้อ (Brand) รุ่น (Model) สีตัวถัง ปีที่ผลิต/จดทะเบียน เลขที่ทะเบียน (Registration No.) เลขตัวถัง (Chassis No.) เลขเครื่องยนต์ (Engine No.) คุณสมบัติ (Specifications) สภาพ/ตำหนิ (Conditions) ลักษณะบ่งชี้ และรายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี)
  • ค่าตอบแทน เช่น ราคารถยนต์/เรือ ค่าภาษี เงื่อนไขการชำระเงิน วิธีการชำระเงิน กำหนดระยะเวลาการชำระเงิน มัดจำ (ถ้ามี)
  • การส่งมอบ เช่น สถานที่ส่งมอบ กำหนดระยะเวลาการส่งมอบและการรับมอบ
  • ข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น การรับประกัน (Warranty) การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่าปรับในกรณีการส่งมอบไม่ถูกต้องและ/หรือล่าช้า

จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา เช่น

  • ผู้ซื้อควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ขายเป็นผู้มีสิทธินำยานพาหนะออกขายได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้ขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะตามสัญญาซื้อขายยานพาหนะ หรือผู้ขายเป็นผู้มีอำนาจนำยานพาหนะนั้นมาขายในกรณีที่ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะ (เช่น ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์)
  • ผู้ซื้อควรตรวจสอบประวัติการครอบครอง การโอนกรรมสิทธิ์ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางทะเบียนต่างๆ ซึ่งควรสอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้ขายเปิดเผย/แจ้งให้ผู้ซื้อทราบ
  • ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่ายานพาหนะ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) ไม่มีภาระผูกพันที่อาจรบกวนการครอบครองหรือการถือกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะ (เช่น รถยนต์ติดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถอยู่ ติดสัญญาเช่าซื้อ/Leasing อยู่)

โดยผู้ซื้อสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่หน่วยงานของรัฐออกให้ (เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ/เล่มทะเบียน ใบทะเบียนเรือ แล้วแต่กรณี) และหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

สัญญาซื้อขายยานพาหนะเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ ได้แก่

  • ผู้ขาย (เช่น เจ้าของรถยนต์/เรือ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์/รถจักรยานยนต์ เจ้าของเต็นท์ขายรถยนต์) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ขาย (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ขายมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขายยานพาหนะ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายยานพาหนะและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ขาย
  • ผู้ซื้อ (เช่น ผู้ที่ต้องการจะซื้อรถยนต์/เรือมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา/จัดซื้อยานพาหนะ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อ) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อขายยานพาหนะและผูกพันคู่สัญญาในฐานะผู้ซื้อ
  • นายหน้า (ถ้ามี) ในกรณีผู้ขายแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการขายยานพาหนะ หรือผู้ซื้อแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/จัดซื้อยานพาหนะ

ในกรณีผู้ขายแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการขายยานพาหนะ หรือผู้ซื้อแต่งตั้ง/ว่าจ้างนายหน้าในการจัดหา/จัดซื้อยานพาหนะ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจจัดทำสัญญานายหน้ากับนายหน้าที่แต่งตั้ง/ว่าจ้างนั้น


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาซื้อขายยานพาหนะแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาซื้อขายยานพาหนะเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาซื้อขายยานพาหนะอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาซื้อขายยานพาหนะฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายยานพาหนะ (ถ้ามี)
  • คู่สัญญาดำเนินการส่งมอบ ตรวจรับ รวมถึงรับมอบยานพาหนะตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาซื้อขายยานพาหนะ พร้อมด้วยเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่หน่วยงานของรัฐออกให้ (เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ/เล่มทะเบียน ใบทะเบียนเรือ แล้วแต่กรณี) โดยผู้ขายควรจัดทำใบส่งของ/ใบส่งสินค้าให้ผู้ซื้อลงนามรับมอบยานพาหนะในวันที่ตรวจรับดังกล่าว เพื่อเป็นหลักฐานการส่งมอบ และบันทึกสภาพ ความเรียบร้อย รวมถึงความชำรุดบกพร่อง (ถ้ามี) ของยานพาหนะที่ส่งมอบ-รับมอบนั้น
  • คู่สัญญาไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมขนส่ง กรมเจ้าท่า)

จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาซื้อขายยานพาหนะด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายยานพาหนะ (ถ้ามี) เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกันของคู่สัญญา เช่น

  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับยานพาหนะ (เช่น รูปภาพ คุณสมบัติ)
  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่หน่วยงานของรัฐออกให้ (เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ/เล่มทะเบียน ใบทะเบียนเรือ แล้วแต่กรณี)
  • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับการชำระราคายานพาหนะ (เช่น ใบเสนอราคา ตารางกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระค่ารถยนต์แต่ละงวด)

สัญญาซื้อขายยานพาหนะจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

ยานพาหนะ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้มีทะเบียน ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ (เช่น การซื้อขาย การให้) จำเป็นจะต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการและเป็นข้อสันนิฐานตามกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าของยานพาหนะดังกล่าว คู่สัญญาจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมขนส่ง กรมเจ้าท่า) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดย คู่สัญญาอาจใช้สัญญาซื้อขายยานพาหนะฉบับนี้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว

ในกรณีการซื้อขายรถยนต์ที่คู่สัญญาตกลงกันว่าจะยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทันทีและตกลงกันให้ผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินการเองในภายหลัง (เช่น การโอนลอย) ผู้ซื้อควรแน่ใจว่าผู้ขายได้จัดเตรียมและลงนามในเอกสารคำขอและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนแล้ว รวมถึง หนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้ซื้อไปดำเนินการจดทะเบียนได้เอง ทั้งนี้ เพื่อมั่นใจว่าผู้ซื้อจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีปัญหา

แม้การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์และการโอนกรรมสิทธิ์ในยานพาหนะตามสัญญาซื้อขายยานพาหนะที่คู่สัญญาได้จัดทำและลงนามครบถ้วนทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ดี การไม่ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อาจทำให้คู่สัญญามีความรับผิดตามกฎหมาย (เช่น ค่าปรับ)

สัญญาซื้อขายยานพาหนะจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายยานพาหนะจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาซื้อขายยานพาหนะตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายยานพาหนะ (เช่น คู่สัญญา)

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะ ดังต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ ในกรณีการซื้อขายยานพาหนะที่มีทะเบียน (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ) คู่สัญญาจะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น กรมขนส่ง กรมเจ้าท่า) ซึ่งคู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม (เช่น ค่าคำขอ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์)

กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายยานพาหนะ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาซื้อขายยานพาหนะมี ดังต่อไปนี้

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม