สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 08/07/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด22 ถึง 34 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 08/07/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 22 ถึง 34 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์คืออะไร

สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือสัญญาเช่าซื้อบ้าน/อาคาร คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ให้เช่าซื้อ (เช่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์) และผู้เช่าซื้อ โดยที่ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันเช่าอสังหาริมทรัพย์ (เช่น บ้าน ห้องชุด อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ) ตามระยะเวลาและค่าเช่าที่กำหนด หากผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด อสังหาริมทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อ


สัญญาเช่าซื้อมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาเช่าซื้ออาจแบ่งตามประเภทของทรัพย์ที่เช่าซื้อได้เป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ เช่น สัญญาเช่าซื้อบ้าน สัญญาเช่าซื้ออาคารพาณิชย์ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน สัญญาเช่าซื้อห้องชุด สัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
  • สัญญาเช่าซื้อสินค้า เช่น สัญญาเช่าซื้อสินค้าทั่วไป สัญญาเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า สัญญาเช่าซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือ สัญญาเช่าซื้อคอมพิวเตอร์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์

ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกันเช่าซื้อสินค้าทั่วไป ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาเช่าซื้อสินค้าซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการเช่าซื้อสินค้าโดยเฉพาะ


สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน อย่างไร

สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่สัญญามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ผู้เช่าซื้อจะเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ให้เช่าซื้อ/เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามระยะเวลาการเช่าซื้อและชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามที่กำหนด เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อที่ตกลงกัน ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้น
  • ในสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเด็ดขาด โดยไม่มีการเช่าใดๆ โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลาสำคัญในการดำเนินการต่างๆ (เช่น วันที่ส่งมอบและตรวจรับอสังหาริมทรัพย์ วันที่จะไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์)

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ


สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน อย่างไร

แม้สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จะมีความเหมือนคล้ายกันตรงที่คู่สัญญามีการเช่าและใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดเหมือนกัน แต่สัญญามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (เช่น สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว หากผู้เช่าไม่ประสงค์จะเช่าต่อ ผู้เช่าจะต้องย้ายออกและส่งมอบอสังหาริมทรัพย์นั้นคืนให้แก่ผู้ให้เช่า
  • ในกรณีสัญญาเช่าซื้อ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาแล้ว หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดในสัญญา ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิได้รับกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์นั้น

ในกรณีที่คู่สัญญาต้องการจะเช่าอสังหาริมทรัพย์ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (เช่น สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์) ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ


จำเป็นต้องทำสัญญา หรือไม่

จำเป็น คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามให้เรียบร้อย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้น ข้อตกลงการเช่าซื้อระหว่างคู่สัญญาจะตกเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้บังคับกันได้


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญา

ก่อนการจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาอาจมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ผู้เช่าซื้อควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้เช่าซื้อสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่กรมที่ดินออกให้ (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • ผู้เช่าซื้อควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ภายใต้ภาระผูกพันตามสัญญาและ/หรือตามกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร (เช่น มีผู้เช่ารายอื่น/ครอบครองอยู่ ติดจำนอง มีภาระจำยอมเรื่องทางเดิน/โรงเรือน) โดยผู้เช่าซื้อสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้จากเอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่กรมที่ดินออกให้ (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)


สัญญาเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

  • ผู้ให้เช่าซื้อ (เช่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ให้เช่าซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ให้เช่าซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายขาย) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ
  • ผู้เช่าซื้อ (เช่น ผู้ที่ต้องการจะเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้เช่าซื้อ (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้เช่าซื้อมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (เช่น ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อที่ดิน/อาคาร) ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้เช่าซื้อ


ควรกำหนดระยะเวลาของสัญญา อย่างไร

คู่สัญญาไม่ควรกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เกิน 30 ปี เนื่องจากเป็นระยะเวลาสูงสุดที่กฎหมายกำหนด


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้น ข้อตกลงการเช่าซื้อจะตกเป็นโมฆะ

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญา
  • คู่สัญญานำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
  • คู่สัญญาควรจัดทำบันทึกการตรวจรับสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อในวันที่ส่งมอบ-รับมอบอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นหลักฐานการส่งมอบ-รับมอบอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบันทึกสภาพความชำรุดบกพร่องของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่รับมอบ (ถ้ามี)
  • คู่สัญญาไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการเช่ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน) ในกรณีการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี
  • คู่สัญญาไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน) ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญา (เช่น ชำระค่าเช่าซื้อครบทุกงวดแล้ว) เพื่อให้ผู้เช่าซื้อมีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์อย่างสมบูรณ์ โดยในการจดทะเบียนดังกล่าว คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต้องพิจารณาและจัดเตรียม (เช่น ค่าคำขอ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้)


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น

  • เอกสารแสดงการถือครองกรรมสิทธิ์/เอกสารทางทะเบียนที่กรมที่ดินออกให้ (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อ (เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร แผนผังอาคาร/โครงการ แบบบ้าน รายการวัสดุ/Bill of Quantity: BoQ รูปภาพ รายการเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เครื่องครัว เฟอร์นิเจอร์)
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าซื้อ (เช่น ใบเสนอราคา ตารางกำหนดการชำระค่าเช่าซื้อ)


สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

จำเป็น ในกรณีการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะเวลาการเช่าซื้อเกินกว่า 3 ปี คู่สัญญาจะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการเช่ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน) และในกรณีที่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญา (เช่น ชำระค่าเช่าซื้อครบทุกงวดแล้ว) คู่สัญญาจะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน) เพื่อให้ผู้เช่าซื้อมีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์อย่างสมบูรณ์


สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญา (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

อากรแสตมป์ คู่สัญญามีหน้าที่นำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อเกินกว่า 3 ปี คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่ากับสำนักงานที่ดินและทำสัญญาตามแบบที่กฎหมายกำหนดซึ่งคู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม เช่น

  • ค่าคำขอ
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน
  • ค่าอากรแสตมป์

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยทั่วไปเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อย่างไรก็ดี คู่สัญญาสามารถตกลงกันในสัญญาให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหรือตกลงร่วมกันรับผิดชอบก็ได้

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (เช่น ชำระค่าเช่าซื้อครบทุกงวดแล้ว) คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน) โดยในการดำเนินการจดทะเบียน คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม เช่น

  • ค่าคำขอ
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน
  • ค่าอากรแสตมป์ หรือค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (แล้วแต่กรณี)
  • ภาษีเงินได้


อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อจะตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อใด

กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่าซื้อจะยังไม่ตกเป็นของผู้เช่าชื้อในทันทีที่ทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่จะตกเป็นของผู้เช่าชื้อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา และตามเงื่อนไขของกฎหมายในการได้มาซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่น

  • ผู้เช่าซื้อเช่าและชำระค่าเช่าซื้อครบทุกงวด
  • คู่สัญญาไปดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานที่ดิน)


คู่สัญญาจำเป็นต้องทำประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ที่เช่า หรือไม่

ไม่จำเป็น การทำประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งและขึ้นอยู่กับความตกลงร่วมกันระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

โดยที่ การทำประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคู่สัญญาในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง อาคาร ทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อและ/หรือต่อชีวิต/ร่างกายที่อาจได้รับความเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างของผู้เช่าซื้อ (เช่น การเกิดอัคคีภัย โจรกรรม อุบัติเหตุ) โดยการจัดทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยต่างๆ เพื่อได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไข ขอบเขต และวงเงินที่คู่สัญญาเห็นสมควร และเมื่อเกิดอุบัติภัยตามเงื่อนไขของความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น ผู้เอาประกันและ/หรือผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น (เช่น ได้รับเงินสินไหมทดแทน) อย่างไรก็ดี การทำประกันภัยอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณา (เช่น ค่าเบี้ยประกัน)


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญา

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น ประเภท ลักษณะ สถานที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ และสภาพของอสังหาริมทรัพย์
  • ค่าตอบแทน เช่น ค่าเช่าซื้อ เงินดาวน์ และเงินบอลลูน (ถ้ามี) รวมถึงกำหนดชำระเงิน
  • ข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงภัยในอสังหาริมทรัพย์ หลักประกัน ประกันภัยในอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าช่วง การเปลี่ยนสัญญา การรับประกันความชำรุดบกพร่องในอสังหาริมทรัพย์ ค่าปรับ


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์มี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม