สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด สัปดาห์ที่แล้ว
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด21 ถึง 32 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด สัปดาห์ที่แล้ว

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 21 ถึง 32 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยคืออะไร

สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย สัญญาเช่าบ้าน หรือสัญญาเช่าห้องชุด/คอนโด คือ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้เช่านำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ไปใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย/พักอาศัยภายในระยะเวลาการเช่า โดยผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า

การเช่าสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย เช่น

  • การเช่าบ้าน
  • การเช่าอาคาร
  • การเช่าห้องชุด/คอนโดมิเนียม
  • การเช่าห้องอยู่อาศัย
  • การเช่าอพาร์ตเม้นท์
  • การเช่าแฟลต
  • การเช่าหอพัก


สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์มีกี่ประเภทและมีลักษณะใดบ้าง

สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง หรือสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์การเช่าได้ ดังต่อไปนี้

  • การเช่าเพื่ออยู่อาศัย (เช่น สัญญาเช่าฉบับนี้) ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการใช้สิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย
  • การเช่าเพื่อประกอบการค้า/เชิงพาณิชย์ (Commercial) (เช่น สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ทั่วไป สัญญาเช่าสำนักงานสำเร็จรูป/Serviced Office) ซึ่งถูกร่างขึ้นสำหรับการใช้สิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบการค้า/เชิงพาณิชย์ เช่น ร้านค้า สำนักงาน (Office) ร้านอาหาร คลังสินค้า
  • การเช่าเพื่อการเกษตร (เช่น สัญญาเช่าที่ดินเพื่อการเกษตร) ซึ่งถูกร่างสำหรับการใช้สิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์เชิงเกษตรกรรม เช่น การทำนา/ทำไร่/ทำสวน การเลี้ยงสัตว์

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: สัญญาเช่าเพื่อการพาณิชย์และสัญญาเช่าเพื่อการอยู่อาศัย มีข้อแตกต่างกันอย่างไร


จำเป็นต้องทำสัญญาเช่า หรือไม่

จำเป็น เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อคู่สัญญา (เช่น ผู้ให้เช่าและผู้เช่า) คู่สัญญาจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นในอนาคต


ไม่ควรระบุ/กำหนดข้อมูลลักษณะใดลงในสัญญาเช่า

คู่สัญญาไม่ควรกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 30 ปี เนื่องจากเป็นระยะเวลาสูงสุดที่กฎหมายกำหนด

ในกรณีที่สัญญาเช่าตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายควบคุมสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย คู่สัญญาไม่ควรกำหนดเงื่อนไขการเช่าที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายดังกล่าวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่า เช่น

  • การเรียกเงินประกันการเช่าเกินอัตราที่กำหนด
  • การเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินอัตราที่กำหนด
  • การเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภค/ค่าบริการสูงเกินสมควร

ผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือทางกฎหมาย: ข้อจำกัดในการให้เช่าสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัย


จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อนทำสัญญาเช่า

คู่สัญญาไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการใดๆ ก่อนตามกฎหมายในการจัดทำสัญญาเช่า

อย่างไรก็ดี ก่อนการจัดทำสัญญา ผู้เช่าควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า

  • สิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ไม่มีภาระผูกพันที่อาจรบกวนการใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ (เช่น ภาระจำยอม สิทธิเก็บกิน ภาระเหนือพื้นดิน)
  • ผู้ให้เช่าเป็นผู้มีสิทธินำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น

(1) ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าโดยตรง

(2) ผู้ให้เช่านำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์มาให้เช่าช่วงต่ออีกที

ผู้เช่าสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารทางทะเบียน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด) เอกสารเกี่ยวกับการเช่าลำดับก่อนหน้า (เช่น สัญญาเช่าระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ให้เช่าและผู้เช่าคนก่อนหน้า หนังสือยินยอมให้เช่าช่วง) แล้วแต่กรณี


สัญญาเช่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

สัญญาเช่ามีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่

  • ผู้ให้เช่า (เช่น ผู้ที่นำสิ่งปลูกสร้างนั้นออกให้เช่าและเรียกเก็บค่าเช่า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้ให้เช่า (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้ให้เช่ามอบหมาย ซึ่งเป็นผู้ลงนามสัญญาในฐานะผู้ให้เช่า
  • ผู้เช่า (เช่น ผู้ที่มีสิทธิได้ใช้ประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้างและจ่ายค่าเช่าให้ผู้ให้เช่า) ตัวแทนผู้มีอำนาจของผู้เช่า (เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ) หรือตัวแทนที่ผู้เช่ามอบหมาย ซึ่งเป็นผู้ลงนามสัญญาในฐานะผู้เช่า


ควรกำหนดระยะเวลาของสัญญาเช่า อย่างไร

คู่สัญญาไม่ควรกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 30 ปี เนื่องจากเป็นระยะเวลาสูงสุดที่กฎหมายกำหนด


จะต้องทำอย่างไรต่อหลังจากที่ลงนามในสัญญาเช่าแล้ว

คู่สัญญาควรจัดทำสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา รวมถึงพยานด้วย (ถ้ามี) ลงนามให้เรียบร้อย

เมื่อจัดทำและลงนามในสัญญาเช่าเรียบร้อยแล้ว คู่สัญญาอาจพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญาอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล) รวมถึง หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ
  • คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า
  • คู่สัญญานำสัญญาไปชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
  • ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามที่กฎหมายกำหนด
  • คู่สัญญาควรจัดทำบันทึกการรับมอบในวันที่รับมอบสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ด้วย (เช่น บันทึกการตรวจรับสภาพสิ่งปลูกสร้างที่เช่า) ซึ่งมีความสำคัญมากในกรณีที่ผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าเสียหาย/ค่าซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้าง/ทรัพย์สินกับผู้เช่า


จะต้องแนบหลักฐานหรือเอกสารประกอบสัญญาเช่าด้วย หรือไม่

คู่สัญญาอาจพิจารณาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างคู่สัญญา เช่น

  • เอกสารทางทะเบียน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • รายการทรัพย์สิน/ภาพถ่ายทรัพย์สิน (เช่น รายการเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เครื่องครัว เฟอร์นิเจอร์)
  • ในกรณีการเช่าช่วง เอกสารเกี่ยวกับการเช่าสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ลำดับก่อนหน้า (เช่น สัญญาเช่าระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ให้เช่าและผู้เช่าคนก่อนหน้า หนังสือยินยอมให้เช่าช่วง)

ในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอื่นที่ไม่รวมอยู่ในค่าเช่า (เช่น เฟอร์นิเจอร์ สถานที่จอดรถ บริการต่างๆ) คู่สัญญาสามารถกำหนดอัตราค่าบริการต่างๆ นั้นไว้ในสัญญาเช่าด้วยก็ได้ หรืออาจพิจารณาทำสัญญาบริการแยกเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งก็ได้


สัญญาเช่าจำเป็นจะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือไม่

คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี


สัญญาเช่าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย หรือไม่

ไม่จำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้สัญญาเช่าจำเป็นจะต้องมีพยานลงนามด้วย

อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจพิจารณาจัดให้มีพยานลงนามในสัญญาเช่าตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ พยานควรเป็นบุคคลผู้มีความสามารถในการทำนิติกรรมอย่างสมบูรณ์ (เช่น ผู้บรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ) และไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่/ภาระผูกพันตามสัญญาเช่า (เช่น คู่สัญญา)


มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาเช่า

คู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียมในการจัดทำสัญญาเช่า ดังต่อไปนี้

  • อากรแสตมป์ คู่สัญญามีหน้าที่ชำระอากรแสตมป์ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อย่างไรก็ดี คู่สัญญาสามารถตกลงกันในสัญญาให้แตกต่างไปได้
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงกำหนดระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่า ซึ่งคู่สัญญาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาจัดเตรียม (เช่น ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน)


ผู้ให้เช่าจำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่า หรือไม่

ไม่จำเป็น ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่า

โดย ผู้ให้เช่าอาจเป็นผู้มีสิทธินำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น

  • ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่เช่าโดยตรง ตามเอกสารทางทะเบียน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด)
  • ผู้ให้เช่านำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์มาให้เช่าช่วงต่อ ตามเอกสารทางทะเบียน (เช่น โฉนดที่ดิน เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด) และเอกสารเกี่ยวกับการเช่าลำดับก่อนหน้า (เช่น สัญญาเช่าระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ให้เช่าและผู้เช่าคนก่อนหน้า หนังสือยินยอมให้เช่าช่วง)
  • ผู้ให้เช่าเป็นผู้ที่มีสิทธิตามสัญญาหรือตามกฎหมายอื่นที่สามารถนำสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าได้ (เช่น สัญญาโอนสิทธิการบริหารจัดการทรัพย์สิน ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม)


คู่สัญญาจำเป็นต้องทำประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง/อสังหาริมทรัพย์ที่เช่า หรือไม่

ไม่จำเป็น การทำประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่เช่าเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งและขึ้นอยู่กับความตกลงร่วมกันระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย

โดยที่ การทำกรมธรรม์ประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่เช่าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคู่สัญญาในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง/ทรัพย์สินและ/หรือต่อชีวิต/ร่างกาย (เช่น อัคคีภัย โจรกรรม อุบัติเหตุ) ซึ่งผู้เอาประกันและ/หรือผู้รับผลประโยชน์ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติภัยนั้น (เช่น ได้รับเงินสินไหมทดแทน)


ต้องระบุข้อมูลสำคัญใดบ้างลงในสัญญาเช่า

คู่สัญญาควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาเช่า ดังต่อไปนี้

  • คู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า
  • สิ่งปลูกสร้างที่เช่า เช่น ประเภท ลักษณะ ขอบเขต ขนาด สถานที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง
  • ระยะเวลาการเช่า เช่น กำหนดระยะเวลาการเช่า เงื่อนไขการต่อสัญญา/เลิกสัญญา
  • ค่าตอบแทน เช่น ค่าเช่า เงินกินเปล่า ค่าบริการ (ถ้ามี)
  • อื่นๆ (ถ้ามี) เช่น คำมั่นจะให้เช่าต่อ การให้เช่าช่วง


กฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสัญญาเช่ามี ดังต่อไปนี้


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม