สัญญาซื้อขายกิจการ กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

สัญญาซื้อขายกิจการ

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 15/12/2566
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด15 ถึง 23 หน้า
4.6 - 32 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 15/12/2566

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 15 ถึง 23 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.6 - 32 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

สัญญาซื้อขายกิจการหรือสัญญาซื้อขายธุรกิจ คือสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ ผู้ขายกิจการซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการ ธุรกิจ หรือร้านต่างๆ ซึ่งดำเนินการประกอบกิจการมาอยู่ก่อนแล้ว และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ ผู้ซื้อกิจการซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจที่ซื้อขายกันดังกล่าวนั้น กล่าวคือเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการบริหารจัดการกิจการหรือดำเนินธุรกิจดังกล่าว กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจ เข้ามารับผลประโยชน์ในการประกอบกิจการหรือธุรกิจ ได้รับผลกำไร ซึ่งรวมถึงรับภาระความเสี่ยงจากการดำเนินกิจการหรือดำเนินธุรกิจดังกล่าวด้วย เช่น ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ขาดทุน ความรับผิดตามกฎหมายในการดำเนินการกิจการหรือธุรกิจดังกล่าว

โดยทั่วไป การเข้าเป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจอาจทำได้โดย 2 วิธีหลัก คือ

(ก) การเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่เป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจนั้นโดยตรงและใช้อำนาจควบคุมการบริหารจัดการบริษัทในการบริหารจัดการกิจการหรือธุรกิจนั้น ทั้งนี้ ภายหลังจากการซื้อหุ้นแล้ว ผู้ซื้อจะต้องถือหุ้นในสัดส่วนที่มากพอเพื่อควบคุมอำนาจการตัดสินใจ การกำหนดนโยบายต่างๆ ของบริษัทได้ เช่น ในเรื่องทั่วไปผู้ซื้อควรถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสิทธิออกเสียงทั้งหมดหรือในเรื่องสำคัญผู้ซื้อควรมีสิทธิออกเสียงมากกว่าสามในสี่ของสิทธิออกเสียงทั้งหมด นอกจากนี้ การเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท หมายถึงการเป็นเจ้าของบริษัทดังกล่าวโดยตรง ดังนั้น ผู้ซื้อย่อมได้มาทั้งสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทนั้นถือครองอยู่ เช่น อาคาร ที่ดิน สินค้า อุปกรณ์สำนักงานที่ใช้ในการประกอบกิจการ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในลูกหนี้ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงยังได้มาซึ่งความรับผิดทั้งหมดของบริษัทด้วย เช่น หนี้ที่บริษัทติดค้างเจ้าหนี้อยู่ทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยหากผู้ซื้อกิจการประสงค์จะใช้วิธีการนี้ในการได้มาซึ่งกิจการหรือธุรกิจอันใดอันหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ซื้อกิจการอาจเลือกใช้สัญญาโอนหุ้นบริษัทในการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้ดำเนินกิจการหรือธุรกิจที่ผู้ซื้อกิจการประสงค์จะซื้อนั้นได้

(ข) การเข้าซื้อเฉพาะสินทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญในการประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้นแล้วจึงนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ด้วยตัวผู้ซื้อกิจการเองโดยตรง โดยวิธีนี้ ผู้ซื้อกิจการมีโอกาสเลือกซื้อสินทรัพย์ของกิจการเพียงเฉพาะเท่าที่ต้องการและเท่าที่จำเป็น เช่น ผู้ซื้อกิจการอาจเลือกซื้อเพียงอาคารสถานที่และสิทธิในเครื่องหมายการค้ายี่ห้อของกิจการเท่านั้น ส่วนสินทรัพย์อื่น เช่น อุปกรณ์สำนักงานและสิ่งตกแต่งอาจเลือกที่จะไม่ซื้อมาด้วย เพราะไม่ถูกใจรูปแบบการออกแบบ หรืออาจเลือกที่จะไม่ซื้อสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้การค้าของกิจการมาด้วย เนื่องจากผู้ซื้อกิจการมีฐานลูกค้าของตนหนาแน่นอยู่แล้ว เป็นต้น หากผู้ซื้อกิจการประสงค์จะใช้วิธีการนี้ในการได้มาซึ่งกิจการหรือธุรกิจอันใดอันหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ซื้อกิจการอาจเลือกใช้สัญญาซื้อขายกิจการฉบับนี้ในการเข้าซื้อกิจการนั้น

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาซื้อขายกิจการหรือสัญญาซื้อขายธุรกิจ ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดความต้องการของผู้ซื้อกิจการว่าจะซื้อกิจการหรือธุรกิจส่วนใดบ้าง ต้องการซื้อทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เพื่อกำหนดสินทรัพย์ของกิจการหรือธุรกิจต่อไปว่าจะซื้ออะไรบ้าง เช่น อาคารสถานที่ประกอบกิจการ อุปกรณ์ สินค้าคงคลัง สิทธิการเช่า เครื่องหมายการค้า ข้อมูลความลับในการประกอบธุรกิจ สิทธิเรียกร้องในลูกหนี้การค้าของกิจการ หรือพนักงานซึ่งมีความรู้ความสามารถในการประกอบกิจการดังกล่าว

คู่สัญญาควร กำหนดกรอบระยะเวลาสำคัญต่างๆ เช่น วันที่ส่งมอบกิจการ วันที่จะไปจดทะเบียนโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) วันที่จะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า (ถ้ามี) วันที่จะร่วมกันดำเนินการตรวจและนับสินค้าคงคลัง (ถ้ามี) เป็นต้น และเงื่อนไขอื่นๆ อันเกี่ยวกับการซื้อขายกิจการหรือธุรกิจ (ถ้ามี) เช่น การห้ามผู้ขายกิจการประกอบกิจการหรือธุรกิจที่อาจแข่งขันหรือคล้ายคลึงกับกิจการหรือธุรกิจที่ซึ่งขายกันนี้ การสอนฝึกอบรมและการให้ความช่วยเหลือแนะนำในการประกอบธุรกิจ (Training and Support) เงื่อนไขบังคับก่อน (เช่น ผู้ซื้อต้องได้รับอนุมัติเงินกู้ยืมจากธนาคารก่อนจึงจะขายกิจการให้) คำรับรองและคำรับประกันต่างๆ จากผู้ขายกิจการ เงื่อนไขการชำระเงินค่าซื้อขายกิจการ การรับผิดชอบภาษีอากรและค่าธรรมเนียมราชการต่างๆ

เมื่อคู่สัญญาตรวจสอบและยอมรับเงื่อนไขต่างๆ แล้ว ให้จัดทำสัญญาซื้อขายกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย ในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองในกรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคล

ข้อควรพิจารณา

ในบางกรณี ผู้ซื้อกิจการควรตรวจสอบสถานะของทรัพย์สินหรือสิทธิที่จะซื้อขายดังกล่าว เช่น ในกรณีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ควรตรวจสอบว่าทรัพย์ดังกล่าวมีภาระผูกพันหรือถูกนำไปตราไว้เป็นหลักประกัน (เช่น จำนอง) ไว้หรือไม่ หรือในกรณีที่มีการซื้อสินค้าคงคลังด้วย ควรตรวจสอบว่าสินค้าดังกล่าวยังอยู่ในสภาพดี ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าได้หรือไม่ ใกล้หมดอายุแล้วหรือไม่ หรือในกรณีที่มีการโอนสิทธิการเช่า อาจต้องตรวจสอบว่าผู้ขายกิจการสามารถโอนสิทธิการเช่าได้หรือไม่ตามสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้ขายกิจการซึ่งเป็นผู้เช่า เป็นต้น

อนึ่ง ในการซื้อขายสินทรัพย์บางประเภทคู่สัญญาอาจมีหน้าที่ในการดำเนินการเพิ่มเติมตามกฎหมายด้วย เช่น การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนการโอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรกรรมวิธี/กระบวนการผลิต) เป็นต้น นอกจากนี้ ในกรณีที่กิจการหรือธุรกิจเป็นกิจการหรือธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของผู้ดำเนินกิจการหรือธุรกิจที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวอาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการหรือธุรกิจใหม่หรือดำเนินการอื่นๆ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานผู้ให้อนุญาตประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้นๆ ด้วย

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อาจมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสินทรัพย์และลักษณะของการซื้อกิจการ รวมถึงประเภทกิจการหรือธุรกิจที่มีการซื้อขายกัน โดยอาจพิจารณาได้ ดังต่อไปนี้

  • กฎหมายซื้อขายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีการซื้อทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ สินค้าคงคลัง
  • กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พระราชบัญญัติสิทธิบัตร ในกรณีที่มีการซื้อทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ข้อมูลความลับทางการค้า หรือสิทธิบัตรต่างๆ ตามลำดับ
  • กฎหมายการเช่าทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีการโอนสิทธิการเช่า สถานที่ต่างๆ จากเจ้าของกิจการรายเดิม
  • กฎหมายเกี่ยวกับหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เช่น การโอนหนี้ที่ลูกค้าเดิมติดค้างเจ้าของกิจการเดิมให้เจ้าของกิจการรายใหม่ (ผู้ซื้อกิจการ)
  • กฎหมายคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ในกรณีที่มีการซื้อตัวพนักงาน ซึ่งตามกฎหมายแรงงานแล้วถือเป็นการเปลี่ยนนายจ้างซึ่งต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าว
  • กฎหมายเฉพาะที่ควบคุมการประกอบกิจการหรือธุรกิจบางประเภท เช่น กิจการโรงแรม หอพัก ธุรกิจนำเที่ยว กิจการร้านอาหารและภัตตาคาร ธุรกิจจำหน่ายสินค้าไพ่ สุรา หรือยาสูบ โรงเรียน บริการสปา คลินิก โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม