หนังสือรับเข้าทำงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือรับเข้าทำงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 10/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
4.3 - 23 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 10/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.3 - 23 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือตอบรับเข้าทำงาน หรือหนังสือรับเข้าทำงาน เป็นหนังสือที่ออกโดยผู้ที่จะเป็นนายจ้าง โดยออกให้แก่ผู้ที่มาสมัครเข้าทำงานกับตน เพื่อแสดงเจตนาว่าตนมีความประสงค์จะรับผู้สมัครดังกล่าวเข้าทำงาน ด้วยเงื่อนไขการจ้างงานตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับเข้าทำงาน เช่น ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ โบนัส ระยะเวลาการทำงาน สถานที่ทำงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุดและวันลา และการทดลองงาน (ถ้ามี) เป็นต้น เพื่อให้ ผู้สมัครได้พิจารณาและตอบรับข้อเสนอดังกล่าว และเข้าเริ่มทำงานให้กับนายจ้าง

 

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือตอบรับเข้าทำงานหรือหนังสือรับเข้าทำงาน ผู้จัดทำหนังสือ ซึ่งอาจเป็นตัวผู้ที่จะเป็นนายจ้างเอง หรือตัวแทนของผู้ที่จะเป็นนายจ้าง เช่น ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของผู้ที่จะเป็นนายจ้าง ควรระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • รายละเอียดอ้างอิงตัวผู้สมัครที่นายจ้างมีความประสงค์จะรับเข้าทำงาน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้สมัครรายดังกล่าว
  • รายละเอียดการจ้าง เช่น ลักษณะการจ้าง ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ โบนัส ระยะเวลาการจ้าง วันที่เริ่มทำงาน สถานที่ทำงาน วันและเวลาทำงาน วันหยุดและวันลา การทดลองงาน เป็นต้น โดยหากได้มีการพูดคุยหรือตกลงกันเกี่ยวกับรายละเอียดการจ้างทางวาจาแล้ว เช่น ในขณะสัมภาษณ์ รายละเอียดการจ้างนั้นก็ควรจะเป็นไปตามรายละเอียดการจ้างที่ได้ตกลงกันทางวาจาด้วย เพื่อแสดงถึงความจริงใจและมารยาททางธุรกิจ หรือหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงก็ควรแจ้งสาเหตุ ความจำเป็นให้ผู้สมัครทราบด้วย
  • เงื่อนไขการรับเข้าทำงาน (ถ้ามี) ในกรณีผู้ที่จะเป็นนายจ้างต้องการคุณสมบัติ หรือเอกสารหลักฐานประกอบเพิ่มเติม โดยจะรับผู้สมัครเข้าทำงานก็ต่อเมื่อผู้สมัครได้ดำเนินการตามเงื่อนไขนั้นแล้ว เช่น ขอใบรับรองแพทย์ ใบสำคัญการศึกษา ใบผ่านงานของผู้สมัครเพิ่มเติม หรือกำหนดให้ผู้สมัครต้องไปเรียนหรืออบรมหลักสูตรเพิ่มเติมตามที่นายจ้างกำหนดก่อนจึงจะรับเข้าทำงาน
  • กำหนดระยะเวลาตอบรับ (ถ้ามี) ซึ่งหากผู้สมัครไม่ตอบรับภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ผู้ที่จะเป็นนายจ้างอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ้างได้ รวมถึงยกเลิกข้อเสนอการรับเข้าทำงานของผู้สมัครได้

โดยเมื่อผู้จัดทำหนังสือระบุรายละเอียดครบถ้วนถูกต้องแล้วก็ให้จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอาจจัดทำสำเนาไว้เพื่อการอ้างอิงภายในด้วยหรือไม่ก็ได้ และลงนามโดยผู้ที่จะเป็นนายจ้างหรือตัวแทนของผู้ที่จะเป็นนายจ้าง และส่งให้แก่ผู้สมัครคนที่ตนประสงค์จะรับเข้าทำงานดังกล่าว

นอกจากนี้ ในหนังสือดังกล่าว ควรให้ผู้สมัครลงนามตอบรับว่าตกลงจะเข้าทำงานตามเงื่อนไขการจ้างที่ผู้ที่จะเป็นนายจ้างได้เสนอตามหนังสือตอบรับเข้าทำงาน และเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ตกลงรายละเอียดเงื่อนไขการจ้างเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ก็ควรจัดทำสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการจ้างงานและเงื่อนไขต่างๆ โดยละเอียด และเพื่อเป็นที่เข้าใจกันระหว่างสองฝ่ายถึงบทบาท หน้าที่ ความสัมพันธ์ของคู่สัญญาในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตามกฎหมายการจ้างแรงงาน ไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องทำหนังสือรับเข้าทำงานแจ้งให้แก่ผู้สมัครทราบก่อนการจ้างงาน แต่ด้วยหลักปฏิบัติทางธุรกิจ ก็ควรจัดทำหนังสือรับเข้าทำงาน เพื่อเป็นเอกสารและหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างเบื้องต้นได้หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการจ้างงานในภายหลัง

อย่างไรก็ดี หนังสือรับเข้าทำงานถือเป็นคำเสนอตามกฎหมายเกี่ยวกับสัญญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งหากผู้สมัครตกลงรับตามเงื่อนไขการจ้างที่ระบุไว้ในหนังสือรับเข้าทำงานก็จะก่อให้เกิดสัญญาจ้างผูกพันกันระหว่างผู้ที่จะเป็นนายจ้างและผู้สมัครในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง

นอกจากนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการจ้างต่างๆ ที่จะระบุในหนังสือรับเข้าทำงาน ก็ควรเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างและคุ้มครองแรงงานด้วย เช่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำนวนวันและเวลาทำงาน จำนวนวันหยุดและวันลา การเรียกรับหลักประกันการทำงาน เป็นต้น โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

 

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

 

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม