นโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงาน กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

นโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงาน

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด10 ถึง 15 หน้า
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 21/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 10 ถึง 15 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

กรอกแบบฟอร์ม

นโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงาน หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้าง เพื่อแจ้งให้พนักงาน/ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานหรือสถานประกอบกิจการของนายจ้างทราบถึงนโยบาย ข้อกำหนด แนวปฏิบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน รวมถึงการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หรือการล่วงละเมิดและ/หรือคุกคามทางเพศ ซึ่งนายจ้างกำหนดขึ้นเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติตนต่อกันในที่ทำงานระหว่างนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน และ/หรือเพื่อร่วมงาน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องตามหลักกฎหมายขั้นพื้นฐานในการเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล และการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล

ปัจจุบันปัญหาความเท่าเทียมในที่ทำงานเป็นปัญหาที่อาจพบได้ในสถานที่ทำงานบางแห่ง เช่น

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เช่น การกระทำการและ/หรืองดเว้นการกระทำการใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานคนใดคนหนึ่งด้วยเหตุเพราะความแตกต่างในเรื่องพื้นฐานส่วนตัวของบุคคลนั้นๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับสาระสำคัญในการทำงาน เช่น พนักงานเพศหญิงที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญเท่าๆ กันได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ต่ำกว่าพนักงานเพศชายในตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบเดียวกัน พนักงานไม่ได้รับการพิจารณาปรับตำแหน่งเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศ การปฏิเสธการรับเข้าทำงานหรือเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากชาติกำเนิด

การล่วงละเมิดและ/หรือคุกคามทางเพศ เช่น การจ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทางเพศ การวิพากษ์วิจารณ์รูปร่าง ทรวดทรง และการแต่งกายที่ส่อไปทางเพศซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์ การพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ การพูดจาแทะโลม การโทรศัพท์ลามก การจับกลุ่มวิจารณ์พฤติกรรมทางเพศของบุคคลในที่ทำงาน การสัมผัสร่างกายของผู้อื่นอย่างมีนัยทางเพศ การแสดงพฤติกรรมที่สื่อไปในทางเพศโดยใช้มือหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การกระทำทางเพศเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในการทำงานและ/หรือการจ้างงาน การข่มขู่บังคับทางเพศ การกระทำและ/หรือพฤติกรรมใดๆ อันเป็นการบังคับ ก่อความเดือดร้อนรำคาญ อึดอัด อับอาย หรือทำให้รู้สึกถูกเหยียดหยามในทางเพศ

นโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงาน หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงานฉบับนี้ถูกร่างขึ้นโดยอ้างอิงหลักความเท่าเทียม สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนด มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน มาตรการ/แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมในที่ทำงานเพิ่มเติมได้

ในกรณีที่นายจ้างต้องการกำหนดนโยบายเรื่องอื่นๆ เพื่อบังคับใช้ภายในสถานประกอบกิจการ ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้นโยบายสำหรับนายจ้างอื่นๆ ได้บนเว็บไซต์ของเรา เช่น

การนำไปใช้

ในการจัดทำนโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงาน ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือฉบับดังกล่าว โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • สถานประกอบกิจการ เช่น ชื่อ ที่อยู่กิจการ รวมถึงผู้ออกหนังสือฉบับนี้
  • ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเท่าเทียมในที่ทำงาน เช่น วันที่เริ่มบังคับใช้ มาตรการส่งเสริมและสนับสนุน มาตรการ/แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมในที่ทำงาน (เช่น ปัญหาการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หรือการล่วงละเมิดและ/หรือคุกคามทางเพศ)

เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือครบถ้วนแล้ว ผู้จัดทำควรจัดทำนโยบายความเท่าเทียมในที่ทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร และให้นายจ้างหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของนายจ้าง (เช่น ผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล) ลงนามในหนังสือฉบับดังกล่าวให้เรียบร้อย

นายจ้างดำเนินการเผยแพร่และปิดประกาศหนังสือดังกล่าวโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของพนักงาน/ลูกจ้าง หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น e-mail) เพิ่มเติมด้วยก็ได้ เพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างได้ทราบและเข้าถึงได้โดยสะดวก และจัดเก็บสำเนาหนังสือนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา

เมื่อนายจ้างได้ดำเนินการเผยแพร่และประกาศให้พนักงาน/ลูกจ้างทราบโดยทั่วกันแล้ว ย่อมถือว่าหนังสือดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับพนักงาน/ลูกจ้างภายในสถานประกอบการของนายจ้าง เช่นเดียวกับข้อบังคับ กฎระเบียบ และ/หรือคำสั่งของนายจ้างในการทำงานอื่นๆ ซึ่งพนักงาน/ลูกจ้างมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร


แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม