หนังสือเลิกจ้าง กรอกแบบฟอร์ม

ต้องทำยังไงบ้าง

1. เลือกแบบฟอร์มนี้

เริ่มต้นโดยการคลิกที่ "กรอกแบบฟอร์ม"

1 / เลือกแบบฟอร์มนี้

2. กรอกเอกสาร

ตอบคำถามบางข้อแล้วเอกสารของคุณก็จะถูกสร้างขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

2 / กรอกเอกสาร

3. บันทึก - พิมพ์

เอกสารของคุณพร้อมแล้ว คุณจะได้รับเอกสารดังกล่าวในรูปแบบ Word และ PDF ซึ่งคุณสามารถทำการแก้ไขได้

3 / บันทึก - พิมพ์

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะขอรับความช่วยเหลือจากทนายความได้หลังจากกรอกเอกสารเสร็จแล้ว

ตัวเลือกพิเศษสำหรับการปรึกษาทนายความ

หนังสือเลิกจ้าง

ปรับปรุงล่าสุด ปรับปรุงล่าสุด 12/01/2567
รูปแบบ รูปแบบWord และ PDF
ขนาด ขนาด2 ถึง 3 หน้า
4.6 - 29 คะแนนโหวต
กรอกแบบฟอร์ม

ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด 12/01/2567

รูปแบบรูปแบบที่มีให้ Word และ PDF

ขนาดขนาด 2 ถึง 3 หน้า

ตัวเลือก ความช่วยเหลือจากทนายความ

คะแนน 4.6 - 29 คะแนนโหวต

กรอกแบบฟอร์ม

หนังสือเลิกจ้าง หรือหนังสือบอกกล่าวการเลิกจ้าง คือ หนังสือที่ออกโดยนายจ้างเพื่อแสดงความประสงค์ที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่มีระหว่างนายจ้างและพนักงาน/ลูกจ้างผู้ที่จะถูกเลิกจ้าง ไม่ว่าจะได้มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นลายลักษณ์อักษรไว้หรือไม่ก็ตาม

โดยนายจ้างอาจใช้หนังสือเลิกจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • นายจ้างต้องการไล่พนักงาน/ลูกจ้างออก เช่น พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่องเป็นประจำ หรือจงใจปฏิบัติขัดกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นประจำ หรือ ปฏิบัติงานหรือกระทำการที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • นายจ้างไม่มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงาน/ลูกจ้างอีกต่อไป เช่น นายจ้างปรับปรุงกิจการ โดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานบุคคล หรือนายจ้างปิดหรือเลิกดำเนินกิจการ
  • นายจ้างมีความจำเป็นทางธุรกิจ เช่น นายจ้างต้องการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุที่พนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ร้ายแรง (เช่น เข้างานสาย) หรือมีผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดีหรือบกพร่องในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้ร้ายแรงหรือก่อให้นายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างอาจ พูดคุย ว่ากล่าว ตักเตือน รวมถึง กำหนดแนวทางและระยะเวลาให้พนักงาน/ลูกจ้างปรับปรุงแก้ไข โดยจัดทำ หนังสือเตือนพนักงาน/ลูกจ้าง เป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนเพื่อให้พนักงาน/ลูกจ้างได้มีโอกาส พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมหรือการปฏิบัติงาน ก่อนที่นายจ้างจะพิจารณาเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้างคนดังกล่าว

การนำไปใช้

ในการจัดทำหนังสือเลิกจ้าง หรือหนังสือบอกกล่าวการเลิกจ้าง ผู้จัดทำ ไม่ว่าจะเป็นตัวนายจ้างเอง หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจดำเนินการแทนนายจ้าง (เช่น ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน) ควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้

ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในหนังสือเลิกจ้าง โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

    • รายละเอียดของพนักงาน/ลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
    • รายละเอียดของเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง หรือเกี่ยวกับพนักงาน/ลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้าง เช่น สัญญาจ้างแรงงาน หนังสือแจ้งเตือนพฤติกรรม/การปฏิบัติงาน รายงานการประเมินผลงานบกพร่อง (ถ้ามี)
    • รายละเอียดสาเหตุที่เลิกจ้าง เช่น สาเหตุและเหตุการณ์ที่ทำให้นายจ้างต้องการจะเลิกจ้าง รวมถึงข้อสัญญา ข้อบังคับการทำงาน หรือข้อกฎหมายที่กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวนั้น
    • รายละเอียดผลของการเลิกจ้าง เช่น วันที่ให้สัญญาจ้างแรงงานมีผลสิ้นสุดลง วันที่ทำงานวันสุดท้ายหน้าที่ของพนักงาน/ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติเมื่อสัญญามีผลสิ้นสุดลง ค่าเสียหายที่พนักงาน/ลูกจ้างต้องชดใช้ให้แก่นายจ้าง (ถ้ามี)
    • รายละเอียดการจ่ายและ/หรือหักเงินต่างๆ ของพนักงาน/ลูกจ้าง เช่น การจ่ายค่าชดเชย การคืนหลักประกันการทำงาน การหักเงินตามกฎหมาย

ผู้จัดทำควรจัดทำหนังสือเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนาม โดยนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างที่มีอำนาจออกคำสั่งเลิกจ้าง (เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) เนื่องจากตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้การเลิกจ้างต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยผู้จัดทำอาจจัดทำสำเนาเก็บไว้กับนายจ้างสำหรับอ้างอิงเป็นหลักฐานอย่างน้อย 1 ฉบับ และ

เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญและเป็นความลับ ผู้จัดทำควรนำส่งหนังสือเลิกจ้างให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ด้วยวิธีปิดผนึก (เช่น ใส่ซอง) ในทันทีที่เลิกจ้างหรือเป็นการล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างมีผลตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แล้วแต่กรณี

ข้อควรพิจารณา

ในการเลิกจ้างพนักงาน/ลูกจ้าง หากพนักงาน/ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรงหรือกระทำความผิดเป็นประจำ นายจ้างจะต้องบอกกล่าวแก่พนักงาน/ลูกจ้างเป็นการล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างมีผลตามระยะเวลาที่กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อบังคับการทำงานกำหนด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะเป็นประโยชน์กับลูกจ้างที่สุด และนายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงาน/ลูกจ้างในอัตราที่กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อบังคับการทำงานกำหนด แล้วแต่ว่าอัตราใดจะเป็นประโยชน์กับลูกจ้างที่สุด เช่นกัน

โดย การกระทำที่ถือเป็นความผิดร้ายแรงหรือการกระทำความผิดเป็นประจำซึ่งนายจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าชดเชย เช่น

  • ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง เช่น ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีเหตุสมควรและทำให้นายจ้างเสียหาย ทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
  • ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ในความผิดเดิมซ้ำอีกภายใน 1 ปี ซึ่งนายจ้างได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เช่น เข้างานสายเป็นประจำ
  • ปฏิบัติงานหรือกระทำการที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ประมาท ไม่ระมัดระวัง ทำงานผิดพลาดในเรื่องสำคัญ ขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในงานที่ทำ
  • มีพฤติกรรมทุจริต เช่น รับเงินสินบนจากคู่ค้า ใช้ให้พนักงานในบังคับบัญชาทำงานส่วนตัวให้
  • ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายอาญาต่อนายจ้างหรือในที่ทำงาน เช่น ลักทรัพย์ ยักยอก ทำลายทรัพย์ของนายจ้าง เล่นการพนันในที่ทำงาน ล่วงละเมิดทางเพศ
  • ละทิ้งหน้าที่ ตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เช่น ขาดงาน ไม่มาทำงาน
  • ถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกซึ่งไม่ใช่ความผิดกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ถูกพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษซึ่งทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

ในกรณีที่นายจ้างปรับปรุงกิจการ โดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้แทนพนักงาน/ลูกจ้าง นายจ้างยังมีหน้าที่ต้องจ่าย ค่าชดเชยพิเศษ กรณีนายจ้างปรับปรุงกิจการโดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานบุคคล และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามอัตราและระยะเวลาที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดเพิ่มเติมไว้เป็นกรณีเฉพาะ อีกด้วย

ในการเลิกจ้าง นายจ้างต้องระบุ/แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างต่อพนักงาน/ลูกจ้างในขณะเลิกจ้างจึงจะสามารถยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังได้ (เช่น ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน) โดยเหตุที่เลิกจ้างนั้นต้องเป็นเหตุอันสมควร เช่น

  • ทำงานไม่ได้ผลตามความมุ่งหมายของสัญญาจ้าง
  • เกษียณอายุตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
  • ทำงานบกพร่องในหน้าที่หลายครั้งและนายจ้างได้ตักเตือนแล้วยังทำงานบกพร่องซ้ำอีก
  • กระทำความผิดทางวินัยร้ายแรงหรือมีพฤติกรรมทุจริต

หากเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร อาจถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (Unfair Dismissal) ซึ่งพนักงาน/ลูกจ้างอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานให้มีคำสั่งบังคับให้นายจ้างรับพนักงาน/ลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อหรือจ่ายค่าเสียหายแทนได้ เช่น

  • เลิกจ้างเพื่อกลั่นแกล้งลูกจ้างคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง
  • เลิกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมส่วนตัวเพียงเล็กน้อยซึ่งไม่มีผลกระทบกับการทำงาน

ผู้ใช้งานอาจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยได้ที่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป

ในตอนสุดท้าย คุณจะได้รับเอกสารในรูปแบบ Word และ PDF คุณสามารถแก้ไขและนำเอกสารไปใช้อีกได้

กรอกแบบฟอร์ม